เบี้ยยังชีพผู้สูงอายุใหม่ 700 – 1,250 บ.เงินโอนเข้าวันไหน เช็คที่นี่

26 เม.ย. 2565 | 20:58 น.
อัปเดตล่าสุด :10 พ.ค. 2565 | 11:37 น.

เบี้ยยังชีพผู้สูงอายุ เดิม 600-1,000 บาท เพิ่มเป็น 700-1,250 บาท เช็คเลยใครได้เพิ่มเท่าไร พร้อมอัพเดทปฏิทินการจ่ายเงินตามปีงบประมาณ 2565 เงินออกวันไหนบ้าง ส่วนผู้สูงอายุที่ยังไม่เคยสมัครรับสิทธิ จะต้องทำอย่างไร มัดรวมข้อมูลทุกเรื่องก่อนสมัครมาให้ที่นี่

ถือเป็นข่าวดีสำหรับผู้สูงอายุ หลังจากที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.)เมื่อวานได้มีการเคาะเงินช่วยเหลือพิเศษแก่ผู้สูงอายุที่ได้รับสิทธิ์สวัสดิการเบี้ยยังชีพในปีงบประมาณ 2565 จำนวน 10,896,444 ล้านคน โดยจะได้รับเงินช่วยเหลือพิเศษเพิ่มเติมแบบขั้นบันได 100-250 บาท เป็นระยะเวลา 6 เดือน ตั้งแต่เดือน เม.ย. – ก.ย. 2565 

 

สำหรับเกณฑ์ในการจ่ายเบี้ยยังชีพผู้สูงอายุ ที่เพิ่มเติมมา มีรายละเอียดอะไรบ้าง "ฐานเศรษฐกิจ"รวบรวมมานำเสนอดังนี้

 

1.อายุ 60 -69 ปี 

  • เดิมรับเบี้ยยังชีพผู้สูงอายุ 600 บ.ต่อเดือน จะได้รับเงินช่วยเหลือพิเศษเพิ่ม 100 บ.ต่อเดือน รวมเป็น 700 บ.ต่อเดือน

 

2.อายุ 70 -79 ปี 

  • เดิมรับเบี้ยยังชีพผู้สูงอายุ 700 บ.ต่อเดือน จะรับเงินช่วยเหลือพิเศษเพิ่ม 150 บ.ต่อเดือน รวมเป็น 850 บ.ต่อเดือน

 

3.อายุ 80 -89 ปี 

  • เดิมรับเบี้ยยังชีพผู้สูงอายุ 800 บ.ต่อเดือน จะได้รับเงินช่วยเหลือพิเศษเพิ่ม 200 บ.ต่อเดือน รวมเป็น 1,000 บ.ต่อเดือน

 

4.อายุ 90 ปีขึ้นไป 

  • เดิมรับเบี้ยยังชีพผู้สูงอายุ 1,000บ.ต่อเดือน จะได้รับเงินช่วยเหลือพิเศษเพิ่ม 250 บาทต่อเดือน รวมเป็น 1,250บ.ต่อเดือน


 

 

เบี้ยยังชีพผู้สูงอายุใหม่  700 – 1,250 บ.เงินโอนเข้าวันไหน เช็คที่นี่

 

 

พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม เปิดเผยว่า ในเดือนเมษายนนี้ ผู้สูงอายุ 10 ล้าน จะได้รับเงินเบี้ยยังชีพที่ได้รับอยู่เดิมแล้วบวกกับเงินช่วยเหลือพิเศษโอนตรงเข้าบัญชี จำนวนตั้งแต่ 700 – 1,250 บาทต่อเดือน 

อย่างไรก็ตามเมื่อดูจากปฏิทินการจ่ายเบี้ยยังชีพงวดเดือนเมษายน 2565 จะพบว่ามีการโอนเข้าบัญชีไปแล้วตั้งแต่วันศุกร์ที่ 8 เมษายน 2565 ดังนั้นจึงคาดว่าเงินเพิ่มเติมของงวดเดือนเมษายน อาจจะทบไปจ่ายให้ในเดือนพฤษภาคม 2565 และจากการสอบถามไปยังกรมกิจการผู้สูงอายุ ก็ได้รับคำตอบเบื้องต้นว่ากระทรวงมหาดไทยจะเป็นผู้ดำเนินการหลังจากนี้ 

 

อัพเดทข้อมูลล่าสุด(วันที่ 10 พ.ค.65) "ฐานเศรษฐกิจ"ได้สอบถามข้อมูลไปยังกรมบัญชีกลาง​เกี่ยวกับเบี้ยยังชีพ​ผู้สูงอายุ​ใหม่ และได้รับคำตอบว่า "ขณะนี้อยู่ในขั้นตอนของการทำเรื่องเบิกจ่ายงบประมาณ" ดังนั้นหากให้สรุปเบื้องต้น​ในตอนนี้คือ เงินที่เพิ่มมาจะยังไม่ได้ในรอบปฏิทินเดือนพฤษภาคม แต่ในส่วนของเบี้ยยังชีพผู้สูงอายุตามหลักเกณฑ์เดิมนั้นยังคงได้รับตามปกติ

 

สำหรับไทม์ไลน์การจ่ายเบี้ยยังชีพผู้สูงอายุในปีงบประมาณ 2565 (ตุลาคม 2564 - กันยายน 2565)มีดังนี้

  • เดือนตุลาคม 2564 โอนเข้าบัญชี วันศุกร์ ที่ 8 ตุลาคม 2564 
  • เดือนพฤศจิกายน 2564 โอนเข้าบัญชี วันพุธ ที่ 10 พฤศจิกายน 2564 
  • เดือนธันวาคม 2564 โอนเข้าบัญชี วันพฤหัส ที่ 9 ธันวาคม 2564
  • เดือนมกราคม 2565 โอนเข้าบัญชี  วันจันทร์ ที่ 10 มกราคม 2565
  • เดือนกุมภาพันธ์ 2565 โอนเข้าบัญชี  วันพฤหัส ที่ 10 กุมภาพันธ์ 2565 
  • เดือนมีนาคม 2565 โอนเข้าบัญชี วันพฤหัส ที่ 10 มีนาคม 2565 
  • เดือนเมษายน 2565 โอนเข้าบัญชี  วันศุกร์ ที่ 8 เมษายน 2565
  • เดือนพฤษภาคม 2565โอนเข้าบัญชี  วันอังคาร ที่ 10 พฤษภาคม 2565 
  • เดือนมิถุนายน 2565โอนเข้าบัญชี   วันศุกร์ ที่ 10 มิถุนายน 2565
  • เดือนกรกฎาคม 2565 โอนเข้าบัญชี วันศุกร์ 8 กรกฎาคม 2565
  • เดือนสิงหาคม 2565 โอนเข้าบัญชี  วันพุธ 10 สิงหาคม 2565 
  • เดือนกันยายน 2565 โอนเข้าบัญชี  วันศุกร์ ที่ 9 กันยายน 2565
     

 

 

อนึ่ง ปี 2565 ประเทศไทยมีจำนวนผู้สูงอายุ 12,249,848 คน (ข้อมูลจากกรมการปกครอง) โดยในจำนวนดังกล่าวมีผู้สูงอายุที่ลงทะเบียนรับเบี้ยยังชีพประจำปีงบประมาณ 2565 จำนวน 10,896,444 คน ซึ่งในจำนวนนี้ เมื่อแบ่งออกเป็นช่วงวัย จะมีรายละเอียดดังต่อไปนี้

 

อายุ 60-69 ปี

  • มีจำนวนผู้สูงอายุ 6,471,205 คน ในกลุ่มนี้จะได้รับเบี้ยผู้สูงอายุเพิ่ม 100 บาท โดยคาดการณ์ว่างบประมาณในกลุ่มนี้จะเพิ่มขึ้นจำนวน  3,882,723,000 บาท 

 

อายุ 70-79 ปี

  • มีจำนวนผู้สูงอายุ 3,012,407 คน ในกลุ่มนี้จะได้รับเบี้ยผู้สูงอายุเพิ่ม 150 บาท โดยคาดการณ์ว่างบประมาณในกลุ่มนี้จะเพิ่มขึ้นจำนวน  2,711,166,300 บาท 

 

อายุ 80-89 ปี

  • มีจำนวนผู้สูงอายุ 1,216,591 คน ในกลุ่มนี้จะได้รับเบี้ยผู้สูงอายุเพิ่ม 200 บาท โดยคาดการณ์ว่างบประมาณในกลุ่มนี้จะเพิ่มขึ้นจำนวน  1,459,909,200 บาท 

 

อายุ 90 ปีขึ้นไป

  • มีจำนวนผู้สูงอายุ 196,241 คน ในกลุ่มนี้จะได้รับเบี้ยผู้สูงอายุเพิ่ม 250 บาท โดยคาดการณ์ว่างบประมาณในกลุ่มนี้จะเพิ่มขึ้นจำนวน  294,361,500 บาท 

 

 

ทั้งนี้ผู้สูงอายุที่ยังไม่เคยสมัครรับสิทธิดังกล่าว สามารถสมัครรับเบี้ยยังชีพได้ โดยจะต้องมีคุณสมบัติดังนี้ 

  • สัญชาติไทย
  • มีอายุ 60 ปีบริบูรณ์ขึ้นไป 
  • ไม่เป็นผู้ได้รับสวัสดิการหรือสิทธิประโยชน์อื่นใดจากหน่วยงานของรัฐ ,รัฐวิสาหกิจหรือองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น

 

หลักฐานประกอบการลงทะเบียนรับเบี้ยยังชีพผู้สูงอายุ 

  • บัตรประจำตัวประชาชน หรือ บัตรอื่นที่ออกโดยหน่วยงานรัฐที่มีรูปถ่าย
  • ทะเบียนบ้านฉบับเจ้าบ้าน(ที่เป็นปัจจุบัน)
  • สมุดบัญชีเงินฝากธนาคารในนามผู้มีสิทธิ / ผู้ได้รับมอบอำนาจจากผู้มีสิทธิ (สำหรับกรณีประสงค์รับเบี้ยยังชีพผู้สูงอายุผ่านทางธนาคาร)

 
ในกรณีที่ผู้สูงอายุไม่สามารถมาลงทะเบียนเองได้ สามารถมอบอำนาจเป็นลายลักษณ์อักษร ให้ผู้อื่นเป็นผู้ยื่นคำร้องขอรับเบี้ยยังชีพผู้สูงอายุแทนได้ 

 

ช่องทางสมัครลงทะเบียนรับเบี้ยยังชีพผู้สูงอายุ สามารถติดต่อได้ที่ 

  • กรุงเทพมหานคร ลงทะเบียนที่สํานักงานเขต 
  • ส่วนภูมิภาค ลงทะเบียนที่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น สำนักงานเทศบาล หรือองค์การบริหารส่วนตำบล (อบต.) ที่ผู้สูงอายุมีภูมิลำเนา