รายงานโควิดวันนี้atk ยอดติดเชื้อกว่า 2.7 หมื่นราย หมอธีระห่วง Long COVID

27 เม.ย. 2565 | 15:22 น.
อัปเดตล่าสุด :27 เม.ย. 2565 | 22:23 น.

รายงานโควิดวันนี้atk ยอดติดเชื้อกว่า 2.7 หมื่นราย หมอธีระห่วงสึนามิ Long COVID เผยบุคลากรทางการแพทย์ติดโควิดแล้วถึง 25,021 คน

รายงานโควิดวันนี้รวม atk ยังคงเป็นตัวเลขของการติดเชื้อโควิด-19 (Covid-19) โดยเฉพาะสายพันธุ์โอมิครอน (Omicron) ที่ยังถือว่าอยู่ในระดับสูง และเป็นประเด็นที่ประชาชนให้ความสนใจ และติดตาม 

 

รศ.นพ.ธีระ วรธนารัตน์ (หมอธีระ) คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ได้โพสต์ข้อความผ่านเฟซบุ๊ก "Thira Woratanarat (ป๊ามี้คีน)" โดยมีข้อความว่า 

 

27 เมษายน 2565

 

  • 14,887

 

  • ATK 12,748

 

  • รวม 27,635

 

หนึ่งสัปดาห์ผ่านไป ปอดอักเสบลดลงจาก 2,049 คน เป็น 1,822 คน ลดลง 11.07%

 

ใส่ท่อช่วยหายใจลดจาก 902 คน เป็น 850 คน ลดลง 5.76%

 

จำนวนติดเชื้อรวม ATK ของวันนี้ น้อยกว่าสัปดาห์ก่อน 36.9% แต่น้อยกว่าสองสัปดาห์ก่อน 27.41%

บุคลากรทางการแพทย์ติดเชื้อ 303 คน (ชาย 63, หญิง 240) โดยจังหวัดที่บุคลากรทางการแพทย์ติดเชื้อสูงสุด 3 อันดับแรกคือ กรุงเทพฯ 88, ขอนแก่น 59, อุบลราชธานี 34

 

ตั้งแต่ 1 มกราคม 2565 จนถึงบัดนี้ บุคลากรทางการแพทย์ติดไปแล้วถึง 25,021 คน

 

มากกว่าระลอกหนึ่ง (สายพันธุ์ดั้งเดิม) ระลอกสอง (สายพันธุ์ D614G) และระลอกสาม (อัลฟ่าและเดลตา) รวมกัน 9,162 คน ถึง 2.73 เท่า หรือ 173% 
ทั้งๆ ที่ระลอก Omicron นี้มีระยะเวลาผ่านมาเพียงไม่ถึง 4 เดือน สั้นกว่าทุกระลอกรวมกันถึง 6 เท่า 

 

ปัญหาระยะยาวที่จะเป็นสึนามิตามมาคือ Long COVID

 

โควิดวันนี้atk ยอดติดเชื้อกว่า 2.7 หมื่นราย

 

การป้องกันตัว ไม่ให้ติดเชื้อย่อมดีที่สุด

 

หมอธีระ ยังโพสต์ด้วยว่า 

 

อัพเดตสถานะการศึกษาวิจัยวัคซีนทั่วโลก

 

องค์การอนามัยโลก (WHO) ได้เผยแพร่เอกสารสรุปสถานะการศึกษาวิจัยวัคซีนทั่วโลก ล่าสุดเมื่อวานนี้ 26 เมษายน 2565

 

ขณะนี้มีวัคซีนทดลองที่กำลังศึกษาทางคลินิก (clinical development) 153 ตัว 

และที่กำลังศึกษาในระดับห้องปฏิบัติการ (pre-clinical development) 196 ตัว

 

สำหรับวัคซีนที่กำลังศึกษาทางคลินิกนั้น ส่วนใหญ่เป็นชนิด Protein subunit 34% 

 

ตามมาด้วยชนิด RNA 18% ชนิด Viral vector 14% และชนิดเชื้อตาย 14%

 

ส่วนใหญ่แล้วมักเป็นวัคซีนชนิดฉีด (84%) โดยเป็นประเภทต้องฉีดเข้ากล้ามเนื้อ 77% 

 

ทั้งนี้มีการศึกษาจำนวนน้อยสำหรับวัคซีนประเภทที่ต้องฉีดเข้าในหนัง (intradermal) ใต้ผิวหนัง (subcutaneous) พ่นเข้าจมูก (intranasal) สูดดม (inhaled) และประเภทละอองฝอย (aerosol)

 

วัคซีนส่วนใหญ่มักต้องมีการรับวัคซีนในการศึกษาวิจัยจำนวน 2 ครั้ง (58%)