อาการลองโควิดมีอะไรบ้าง มีผลต่อร่างกายส่วนไหน อัพเดทงานวิจัยที่นี่

29 เม.ย. 2565 | 04:57 น.
อัปเดตล่าสุด :29 เม.ย. 2565 | 11:57 น.

อาการลองโควิดมีอะไรบ้าง มีผลต่อร่างกายส่วนไหน อัพเดทงานวิจัยที่นี่ หมอธีระยันโควิดไม่ได้จบที่หายและตาย แนะไทยลงทุนรับมือจำนวนผู้ป่วย Long COVID

อาการลองโควิดมีอะไรบ้าง ยังคงเป็นคำถามที่ได้รับความสนใจบนโลกออนไลน์ หลังจากที่เชื้อโควิด-19 (Covid-19) สายพันธุ์โอมิครอน (Omicron) แพร่กระจายไปทั่ว

 

รศ.นพ.ธีระ วรธนารัตน์ (หมอธีระ) คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ได้โพสต์ข้อความผ่านเฟซบุ๊ก "Thira Woratanarat (ป๊ามี้คีน)" โดยมีข้อความว่า 

 

อัพเดต Long COVID (ลองโควิด)

 

Gao Y และคณะจากจีน ได้ทำการทบทวนข้อมูลวิชาการทั่วโลกเกี่ยวกับการเกิด Long COVID 

 

ทั้งเรื่องอาการจำแนกตามช่วงเวลาที่เกิด รวมถึงผลการตรวจทางรังสี และผลกระทบต่อการดำเนินชีวิต

 

โดยจำแนกให้เห็นอัตราการเกิดอาการต่างๆ ทั้งในช่วง 4-12 สัปดาห์ 6 เดือน และ 1 ปี (ระยะเวลาในการติดตามผลนั้นขึ้นอยู่กับแต่ละงานวิจัย ทั้งนี้อาการจะยาวนานกว่านั้นได้หรือเป็นแบบเรื้อรังได้)

 

Long COVID นั้นเกิดความผิดปกติได้กับทุกระบบของร่างกาย ทั้งสมอง ระบบประสาท จิตและอารมณ์ หัวใจและหลอดเลือด ปอด ไต ทางเดินอาหาร ผิวหนังและเส้นผม ต่อมไร้ท่อ และอื่นๆ
 

ผลกระทบที่เกิดขึ้นจากการระบาดหนักในช่วงที่ผ่านมาของไทย

 

หากดูสถิติตั้งแต่มกราคม 2565 ถึงปัจจุบัน จะพบว่ามีหลายจังหวัดที่มีจำนวนการติดเชื้อต่อประชากร 100,000 คน สูงมาก 

 

และเป็นผลมาจาการนโยบายในช่วงที่ผ่านมา เช่น ภูเก็ต ซึ่งเป็นพื้นที่กล่องทราย มีอัตราป่วยสะสมสูงถึง 10,539 คนต่อประชากรแสนคน 

 

ในขณะที่สมุทรสาคร ซึ่งเคยระบาดหนักในโรงงานและชุมชนตั้งแต่ระลอกสอง มีอัตราป่วย 9,721 คนต่อประชากรแสนคน 

 

อัพเดทงานวิจัยลองโควิดมีผลต่อร่างกายส่วนไหนบ้าง

 

ทั้งสองจังหวัดนั้นมีอัตราป่วยสะสมในช่วงต้นปีของ 2565 สูงกว่าค่าเฉลี่ยของทั้งประเทศ (3,033 คนต่อประชากรแสนคน) ถึง 3 เท่า

 

หากรวมคนที่เคยติดเชื้อในช่วงก่อนปี 2565 จะพบว่ามีการติดเชื้อที่สูงมาก

 

โควิดนั้นไม่ได้จบที่หายและตาย แต่ปัญหา Long COVID จะเป็นผลกระทบระยะยาว

 

คนที่เคยติดเชื้อมาก่อน นอกจากควรป้องกันตัวให้ดีเพราะมีโอกาสติดเชื้อซ้ำได้ ยังควรประเมินสุขภาพตนเองอย่างสม่ำเสมอ สังเกตอาการผิดปกติที่ต่างจากอดีต และปรึกษาแพทย์เพื่อทำการตรวจวินิจฉัยและดูแลรักษา

 

ระบบบริการสาธารณสุขของประเทศควรได้รับการลงทุนเพื่อรับมือกับจำนวนผู้ป่วย Long COVID จากการระบาดระลอกใหญ่ตั้งแต่กลางปีก่อนจนถึงปัจจุบัน

29 เมษายน 2565 ทะลุ 512 ล้านไปแล้ว

 

เมื่อวานทั่วโลกติดเพิ่ม 601,735 คน ตายเพิ่ม 2,332 คน รวมแล้วติดไปรวม 512,036,094 คน เสียชีวิตรวม 6,255,531 คน

 

5 อันดับแรกที่ติดเชื้อสูงสุดคือ เยอรมัน อิตาลี ฝรั่งเศส เกาหลีใต้ และออสเตรเลีย

 

เมื่อวานนี้จำนวนติดเชื้อใหม่มีประเทศจากยุโรปและเอเชียครอง 7 ใน 10 อันดับแรก และ 14 ใน 20 อันดับแรกของโลก

 

จำนวนติดเชื้อใหม่ในแต่ละวันของทั่วโลกตอนนี้ มาจากทวีปเอเชียและยุโรป รวมกันคิดเป็นร้อยละ 78.43 ของทั้งโลก ในขณะที่จำนวนการเสียชีวิตคิดเป็นร้อยละ 83.61

 

การติดเชื้อใหม่ในทวีปเอเชียนั้นคิดเป็นร้อยละ 25.71 ของทั้งโลก ส่วนจำนวนเสียชีวิตเพิ่มคิดเป็นร้อยละ 21.09 

 

สถานการณ์ระบาดของไทย

 

เมื่อวานนี้จำนวนติดเชื้อใหม่ รวม ATK สูงเป็นอันดับ 8 ของโลก และอันดับ 3 ของเอเชีย

 

ในขณะที่จำนวนเสียชีวิตเมื่อวาน สูงเป็นอันดับ 7 ของโลก

 

ทั้งนี้จำนวนเสียชีวิตของไทยเมื่อวานนั้นคิดเป็น 25.81% ของการเสียชีวิตทั้งหมดที่รายงานของทวีปเอเชีย

 

หากดูจำนวนการติดเชื้อใหม่ต่อวัน รวม ATK ไทยเราจะติดอันดับ Top 10 ของโลกมาติดต่อกันยาวนานถึง 42 วันแล้ว

 

ส่วนจำนวนการเสียชีวิตต่อวันนั้น ติดอันดับ Top 10 ต่อเนื่องมาแล้ว 13 วัน

 

สำหรับอาการของบองโควิด นั้น คือ อาการทางร่างกายและทางจิตใจ ที่หลงเหลืออยู่หลังหายจากการติดเชื้อโควิด-19 อาจเป็นผลกระทบทางตรงจากร่องรอยของโรค 

 

หรือเป็นผลกระทบทางอ้อมที่มาจากช่วงที่เคยติดเชื้อก็ได้ ทั้งนี้ ลักษณะอาการอาจคล้าย หรือแตกต่างกันกับอาการในช่วงที่ติดโควิด-19