"ภาวะตับอักเสบรุนแรงในเด็ก"เกิดจากโควิด19 หรือไม่ อันตรายแค่ไหน อ่านเลย

15 พ.ค. 2565 | 05:14 น.
อัปเดตล่าสุด :15 พ.ค. 2565 | 12:14 น.

"ภาวะตับอักเสบรุนแรงในเด็ก"เกิดจากโควิด19 หรือไม่ อันตรายแค่ไหน อ่านเลยที่นี่มีคำตอบ หมอธีระเผยข้อมูลล่าสุดจากจาก ECDC

รศ.นพ.ธีระ วรธนารัตน์ (หมอธีระ) คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ได้โพสต์ข้อความผ่านเฟซบุ๊ก "Thira Woratanarat (ป๊ามี้คีน)" โดยมีข้อความว่า

 

อัพเดตภาวะตับอักเสบรุนแรงในเด็กเล็ก

 

ข้อมูลล่าสุด ณ 13 พฤษภาคม 2565 จาก ECDC มีสาระสำคัญคือ

 

มีจำนวนเคสตับอักเสบรุนแรงถึง 232 คน ที่มีอายุต่ำกว่า 17 ปี

 

โดยมีถึง 76% ที่เป็นเด็กเล็ก อายุน้อยกว่า 5 ปี

 

15% ต้องนอนรักษาตัวในไอซียู

 

6% ต้องได้รับการผ่าตัดเพื่อเปลี่ยนตับ

 

เสียชีวิตไปแล้ว 1 คน

 

จากการตรวจสอบโดยละเอียด พบว่า 60% ที่ตรวจพบหลักฐานว่าติดเชื้อ Adenovirus

แต่มีถึง 74% ที่ตรวจเลือด (serology) พบว่าเคยติดเชื้อไวรัสโรคโควิด-19 (Covid-19) มาก่อน และมี 12% ที่ตรวจ RT-PCR ได้ผลบวก

ข้อมูลที่มีจนถึงปัจจุบัน จึงมีแนวโน้มว่า ภาวะตับอักเสบรุนแรงในเด็กเล็กอาจสัมพันธ์กับการติดเชื้อโรคโควิด-19 มากกว่า 

 

ซึ่งคงต้องมีการศึกษาเพื่อพิสูจน์กันต่อไปว่าหากสัมพันธ์จริง จะเกิดจากกลไกพยาธิกำเนิดอย่างไร

 

ทั้งนี้มีการเสนอสมมติฐานที่เป็นไปได้ว่า การที่เด็กเล็กติดเชื้อโควิด-19 มาก่อน อาจทำให้มีเชื้อคงค้างระยะยาวในทางเดินอาหาร

 

และการติดเชื้อระยะยาวนี้จะกระตุ้นระบบภูมิคุ้มกันซ้ำๆ โดยมีบางส่วนของเปลือกไวรัสโรคโควิด-19 ที่คล้ายพิษจากแบคทีเรีย Staphyllococcal enterotoxin-B 

 

ซึ่งทำให้เกิดภูมิต้านทานระดับเซลล์ที่ส่งผลให้เกิดการอักเสบตามอวัยวะต่างๆ หลายระบบของร่างกาย 

 

ภาวะตับอักเสบรุนแรงในเด็กเกิดจากโควิด19 หรือไม่

 

เชื่อว่าเป็นกลไกพยาธิกำเนิดของ MIS-C ในเด็กเล็ก รวมถึงเกิดตับอักเสบรุนแรงในเด็กเล็กด้วย ซึ่งประการหลังนี้อาจมีกลไกเกี่ยวข้องร่วมกับการติดเชื้อ

 

Adenovirus ร่วมด้วยก็เป็นได้

 

สมมติฐานล่าสุดจากทีมอังกฤษและอเมริกา เกี่ยวกับภาวะตับอักเสบรุนแรงในเด็กเล็กทั่วโลก

 

การติดเชื้อโรคโควิด-19 ในเด็กเล็ก อาจทำให้มีเชื้อคงค้างระยะยาวในทางเดินอาหาร

และการติดเชื้อระยะยาวนี้จะกระตุ้นระบบภูมิคุ้มกันซ้ำๆ โดยมีบางส่วนของเปลือกไวรัสโรคโควิด-19 ที่คล้ายพิษจากแบคทีเรีย Staphyllococcal enterotoxin-B 

 

ซึ่งทำให้เกิดภูมิต้านทานระดับเซลล์ที่ส่งผลให้เกิดการอักเสบตามอวัยวะต่างๆ หลายระบบของร่างกาย 

 

เชื่อว่าเป็นกลไกพยาธิกำเนิดของ MIS-C ในเด็กเล็ก รวมถึงเกิดตับอักเสบรุนแรงในเด็กเล็กด้วย ซึ่งประการหลังนี้อาจมีกลไกเกี่ยวข้องร่วมกับการติดเชื้อ Adenovirus ร่วมด้วยก็เป็นได้

 

คงต้องติดตามกันต่อไปว่าสุดท้ายแล้วจะเป็นอย่างไร