ตามคาดหลังผลการคะแนนเลือกตั้งผู้ว่าฯกทม.อย่างไม่เป็นทางการซึ่งปรากฎว่า นายชัชชาติ สิทธิพันธุ์ ผู้สมัครผู้ว่าฯกทม.หมายเลข 8 สังกัดในนามอิสระ อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคมสมัยรัฐบาลนางสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตร มีคะแนนทิ้งห่างคู่แข่งขันรายอื่นแบบไม่เห็นฝุ่น ฐานเศรษฐกิจ พาไปทบทวนส่องนโยบายของ ชัชชาติ สิทธิพันธุ์ ว่าที่ผู้ว่าฯกทม.คนล่าสุดกับเจ้าของสโลแกน "กรุงเทพฯเมืองน่าอยู่สำหรับทุกคน" กันอีกรอบ
เมื่อเดือนกุมภาพันธ์ พ.ศ. 2565 ชัชชาติได้เปิดตัวลงสมัครอย่างเป็นทางการ ชูแคมเปญรณรงค์หาเสียง "กรุงเทพฯ เมืองน่าอยู่สำหรับทุกคน" กระทั่ง วันที่ 31 มีนาคม พ.ศ. 2565 ซึ่งเป็นวันเปิดรับสมัครผู้ว่าฯ กทม.เขาได้ปั่นจักรยานจากบ้านพักมาถึงศาลาว่าการกรุงเทพมหานคร 2 ดินแดง ตั้งแต่เวลา 06.00 น. และจับสลากเป็นผู้สมัครผู้ว่าฯกทม.ได้หมายเลข 8 ได้ประกาศชูนโยบาย "9ดี" มี 214 นโยบายย่อยที่จะพัฒนาแก้ไขปัญหากรุงเทพมหานครมาแข่งขันสู้ศึกเลือกตั้งผู้ว่าฯกทม.ในครั้งนี้ ดังนี้
3.สุขภาพดี
- เชื่อมโยงประวัติคนไข้ภายในสถานพยาบาลของกรุงเทพฯ เพื่อการส่งต่อและดูแลรักษาได้อย่างทั่วถึง
- เพิ่มการรักษา-ทรัพยากรในศูนย์บริการสาธารณสุข (ศบส.)
- จัดทำโครงการหมอถึงบ้านผ่าน Telemedicine
- เพิ่มพื้นที่ออกกำลังกาย พัฒนาลานกีฬาต้นแบบ 180 แขวง 180 ลาน ภายใน 100 วันแรก
4.สร้างสรรค์ดี
- เปลี่ยนศาลาว่าการ กทม. เดิม เป็นพิพิธภัณฑ์เมืองและพื้นที่สาธารณะ
- สร้าง Open Art Map and Calendar ให้ประชาชนปักหมุดกิจกรรมเพื่อตามเสพงานศิลป์ได้ทั่วกรุง
- จัดทำฐานข้อมูลรวมพื้นที่ของรัฐและเอกชนให้ประชาชนเลือกใช้จัดกิจกรรม
5.สิ่งแวดล้อมดี
- วางโครงการปลูกต้นไม้ล้านต้นเพิ่มพื้นที่สีเขียว เพื่อให้เป็นกำแพงกรองฝุ่นตามธรรมชาติ
- ดูแลด้วยการจัดหารุกขกรมืออาชีพดูแลต้นไม้ประจำเขต
- เดินหน้าโครงการตรวจจับรถปล่อยควันดำเชิงรุกจากต้นทาง เช่น สถานีรถโดยสาร และไซต์ก่อสร้าง
- จัดทำโครงการแยกขยะตั้งแต่ต้นทาง มุ่งเป้าองค์กร
6.โครงสร้างดี
- วางแผนต้นแบบเมืองใหม่ (ชานเมือง)
- พัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน
- กระจายแหล่งงาน
- ลดการกระจุกตัวในเขตเมือง
- จัดตั้งโครงการลอกท่อ คูคลอง
- ติดตั้งเครื่องสูบน้ำประสิทธิภาพสูง
- ลดจุดเสี่ยงน้ำท่วม
- หาพื้นที่รับน้ำธรรมชาติ
7.บริหารจัดการดี
- พัฒนาระบบการขออนุญาตจาก กทม. ให้ประชาชนตรวจสอบและติดตามได้
- ทบทวนข้อบัญญัติ กทม. ปรับปรุงให้เป็นปัจจุบัน
- จัดสรรงบประมาณบริหารกรุงเทพฯ ด้วยการมีส่วนร่วมของประชาชน (Participatory Budgeting)
- เปิดให้ประชาชนร่วมประเมิน ผอ.เขต และผู้ว่าฯ ได้
8.เรียนดี
- เปิดโรงเรียน กทม. ให้สามารถไปเล่นหรือเรียนได้ในวันหยุด
- ขยายเวลาโรงเรียนให้สอดคล้องกับเวลางานของผู้ปกครอง มีครูเฝ้า
- มีกิจกรรมสร้างสรรค์จากวิทยากรทั้งในและนอก
- เพิ่มหลักสูตรภาษาต่างประเทศ
- ใช้เทคโนโลยีเพื่อการทำงานในโรงเรียนสังกัด กทม. พร้อมสำหรับทักษะที่จำเป็นในอนาคต
9.เศรษฐกิจดี
- ปั้นเศรษฐกิจสร้างสรรค์ทั่วกรุงเทพฯ 12 เทศกาลตลอดปี
- ชูอัตลักษณ์ย่านต่าง ๆ ทั่วกรุงเทพฯ เพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจฐานราก
- ยกระดับผู้ค้าแผงลอยให้มีความยั่งยืน
- เพิ่มโอกาสเข้าถึงแหล่งเงิน
- ให้ความช่วยเหลือด้านเทคโนโลยี และจัดหาสถานที่ค้าขาย
- จัดทำโครงการสร้างแบรนด์ Made in Bangkok (MIB)
- คัดเลือกและพัฒนาสินค้าจากผู้ผลิตในกรุงเทพฯ
- โปรโมตและต่อยอดผลิตภัณฑ์ ไปสู่ตลาด E-Commerce ขนาดใหญ่
คลิกอ่านรายละเอียดนโยบายนายชัชชาติ สิทธิพันธุ์ ทั้งหมดได้ที่นี่ https://www.chadchart.com