เป็นที่หวั่นวิตกไปทั่วโลกสำหรับ “โรคฝีดาษลิง” ล่าสุดโผล่ที่อาร์เจนตินา นับเป็นการพบผู้ติดเชื้อรายแรกในลาตินอเมริกา หลัง WHO ระบุว่ามีผู้ติดเชื้อยืนยันแล้วเกือบ 200 รายในกว่า 20 ประเทศทั่วโลก
โดยในประเทศไทย กระทรวงสาธารณสุข ได้จัดตั้งศูนย์ปฏิบัติการภาวะฉุกเฉินทางสาธารณสุข โรคฝีดาษลิง (Monkeypox) เพื่อเฝ้าติดตามสถานการณ์ แนวโน้ม พร้อมทั้งคาดการณ์สถานการณ์ที่อาจเกิดขึ้นในอนาคต เพื่อจัดทำแผนทั้งในระยะยาว ระยะกลาง ในการปรับปรุงกลยุทธ์ และมาตรการให้เหมาะสม
ด้านองค์การอนามัยโลก WHO เบื้องต้นข้อมูลล่าสุดพบว่าวัคซีนไข้ทรพิษสามารถใช้ฉีดเพื่อป้องกันโรคฝีดาษลิงได้ ข้อเท็จจริงเป็นอย่างไร ติดตามได้ในหัวข้อ วัคซีนไข้ทรพิษฉีดที่ได้ไหน ป้องกันโรคฝีดาษลิงได้หรือไม่
วัคซีนไข้ทรพิษคืออะไร?
- วัคซีนไข้ทรพิษเป็นวิธีเดียวที่จะป้องกันไข้ทรพิษ ซึ่งเป็นโรคติดต่อที่เกิดขึ้นจากเชื้อไวรัสวาริโอลา ซึ่งสามารถติดต่อจากคนสู่คน โดยจากการอยู่ใกล้ชิดกับผู้ป่วย หรือการหายใจเอาเชื้อไวรัสที่อยู่ในละอองเสมหะ น้ำมูก หรือน้ำลายของผู้ป่วย นอกจากนี้การสัมผัสกับผื่นหรือตุ่มน้ำของผู้ป่วยตรง ๆ โดยไม่มีการป้องกันก็สามารถทำให้ติดเชื้อได้
- วัคซีนนั้นทำมาจากไวรัสที่เรียกว่า vaccinia ซึ่งเป็นไวรัสชนิดหนึ่งที่เรียกว่าไข้ทรพิษ
- วัคซีนช่วยให้ร่างกายพัฒนาภูมิคุ้มกันต่อไข้ทรพิษ ถูกใช้ประสบความสำเร็จในการกำจัดไข้ทรพิษจากประชากรมนุษย์
- วัคซีนไข้ทรพิษสามารถป้องกันโรคฝีดาษลิงได้มีประสิทธิภาพสูงถึง 85%
- วัคซีนชนิดนี้ถูกจัดเก็บไว้ในคลังเก็บที่สหรัฐฯและรัสเซียเท่านั้น ไม่มีแจกจ่ายทั่วไปตามโรงพยาบาลแต่อย่างใด
วัคซีนไข้ทรพิษเกือบหายไป
- โรคไข้ทรพิษ องค์การอนามัยโลกประกาศว่าได้หมดไปจากโลกนี้แล้วนับตั้งแต่ปี พ.ศ. 2523
- ทำให้วัคซีนไข้ทรพิษไม่ได้ถูกแจกจ่าย ปัจจุบันมีเพียง 2 ชนิดที่ได้รับการอนุมัติจากองค์การอาหารและยาของสหรัฐ ได้แก่ ACAM200 และ JYNNEOS
กระทรวงสาธารณสุข (สธ.) เตรียมพร้อมรับมือโรคฝีดาษลิง
- ได้นำวัคซีนป้องกันโรคฝีดาษคนหรือโรคไข้ทรพิษที่องค์การเภสัชกรรมแช่แข็งไว้กว่า 40 ปี นับตั้งแต่ประเทศไทยยกเลิกการปลูกฝีดาษเมื่อปี 2523
- คาดว่ามีอยู่ประมาณ 10,000 โดส ส่งไปยังกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ เพื่อตรวจสอบคุณภาพว่ายังสามารถใช้ได้หรือไม่
- สหรัฐอเมริกามีวัคซีนป้องกันโรคฝีดาษคน 2 ผลิตภัณฑ์ เป็นวัคซีนเชื้อเป็นอ่อนฤทธิ์ (live attenuated vaccine) ได้แก่ วัคซีน Imvamune (Imvanex หรือ Jynneos) ของบริษัท Bavarian Nordic และวัคซีน ACAM2000 ของบริษัท Acambis ที่ได้รับการอนุมัติจากสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยาจากสหรัฐอเมริกา (FDA) แล้ว