"ฝีดาษลิง" หรือ "ฝีดาษวานร" โรคนี้จะระบาดมากไหม จะป้องกันอย่างไร

28 พ.ค. 2565 | 03:10 น.
อัปเดตล่าสุด :28 พ.ค. 2565 | 10:21 น.

ฝีดาษลิง หรือ ฝีดาษวานร โรคนี้จะระบาดมากไหม จะป้องกันตัวเองได้อย่างไร โรคนี้น่าเป็นห่วงมากน้อยแค่ไหน หมอยง ภู่วรวรรณ มีคำตอบ

วันนี้(วันที่28 พฤษภาคม 2565)ศ.นพ.ยง ภู่วรวรรณ (หมอยง) หัวหน้าศูนย์เชี่ยวชาญเฉพาะด้านไวรัสวิทยาคลินิกภาควิชากุมารเวชศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โพสต์เฟซบุ๊ก Yong poovorawan ระบุว่า ฝีดาษวานร โรคนี้จะระบาดมากไหม และจะป้องกันอย่างไร

การระบาดของโรคนี้นอกทวีปแอฟริกา แต่เดิมเกิดจากการติดต่อจากสัตว์มาสู่คน โดยเฉพาะ สัตว์เลี้ยงตระกูลหนู ที่เป็นพาหะไวรัสนี้อยู่ เช่น หนูยักษ์แกมเบีย (Gambian giant rat) แพรี่ด็อก (Prairie dog)

การระบาดในครั้งนี้ไม่มีหลักฐานการติดเชื้อจากสัตว์ แต่เป็นการติดระหว่างสัมผัสกับผู้ป่วย

 

การติดต่อจะต้องมีการสัมผัสอย่างใกล้ชิด ไม่ได้ติดง่ายแบบโควิด 19 การกระจายโรค ยังไม่น่าเป็นห่วง ส่วนใหญ่ยังอยู่ในวงจำกัด

 

โรคนี้มีวัคซีนในการป้องกัน การปลูกฝีในอดีต ก็สามารถป้องกันโรคนี้ได้ ผู้ที่เคยปลูกฝีแล้ว ถึงแม้ว่าจะติดเชื้อ ตุ่มที่เกิดขึ้นจะน้อยมาก เมื่อเปรียบเทียบกับผู้ที่ไม่ได้เคยปลูกฝีมาก่อน

 

ปัจจุบันยังมีวัคซีน ที่ใช้ฉีดเข้าใต้ผิวหนัง (อเมริกาชื่อการค้าว่าJYNNEOS (IMVANEX)ในยุโรป (IMVAMUNE) โดยใช้ไวรัส ในกลุ่ม ฝีดาษคือ (Modified Vaccinia Ankara strain)  ไวรัสที่อ่อนฤทธิ์ และไม่สามารถก่อโรคได้ มาใช้ฉีดในการป้องกัน และเป็นประโยชน์ในผู้ที่สัมผัสใกล้ชิดหรือสัมผัสมาไม่เกิน 4 วัน