ฝีดาษลิงติดต่อยังไง แพร่เชื้อตอนไหน อาการเป็นอย่างไร มีระยะฟักตัวกี่วัน เป็นคำถามที่ได้รับความสนใจเป็นอย่างมาก หลังจาก ที่โรคดัวกล่าวเริ่มแพร่กระจายไปหลายประเทศ
ศ.นพ.ธีระวัฒน์ เหมะจุฑา (หมอธีระวัฒน์) ผู้อำนวยการศูนย์วิทยาศาสตร์สุขภาพโรคอุบัติใหม่ คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โพสต์เฟซบุ๊กส่วนตัว (ธีระวัฒน์ เหมะจุฑา Thiravat Hemachudha)โดยมีข้อความว่า
ฝีดาษลิง
ไวรัสจะแพร่ต่อเมื่อคนติดเชื้อเริ่มมีอาการแล้ว ได้แก่ ไข้ ปวดหัว ปวดเมื่อย มีต่อมน้ำเหลืองโต
และที่สำคัญก็คือ มีผื่นที่ปรากฏเห็นได้ชัดที่หน้าที่แขนและที่มือหลังจากเริ่มอาการป่วยไม่นาน
อาการไข้ เป็นอาการเด่น ตั้งแต่แรก การวัดอุณหภูมิ ก่อนเข้าสถานที่ ที่เลิกทำกันไปแล้ว น่าจะเริ่มกันใหม่ ไหม?
ถ้าการระบาดใหม่เกิดจาก สถานะของภูมิกันหมู่ของชาวโลกลดลง ประสิทธิภาพในการแพร่จริงๆ จะเก่งกว่าเดิมหรือไม่?
และถ้าเป็นเช่นนี้น วัคซีนไข้ทรพิษสำหรับชาวโลก ต้องเริ่มกันใหม่หรือไม่?
จับตา จำนวนติดเชื้อ และ คนสูงวัย ที่เคยได้ วัคซีนไข้ทรพิษ จะติด "ฝีดาษลิง" ได้หรือไม่?
และเด็กเล็กต้องระวัง ติดแล้วอาการมาก และจะสับสนกับอีสุก อีใส
รวมทั้ง ติด 2 เชื้อได้พร้อมกัน ในถิ่นต้นตอ เช่น ตามรายงานที่ คองโก (อังกฤษ 90 ราย)
อังกฤษ ในขณะนี้ ใช้กลยุทธ ring vaccination กักผู้สัมผัส ล้อมรอบ ป้องกัน การแพร่ด้วย วัคซีน
หมอธีระวัฒน์ ยังโพสต์ด้วยว่า
นักวิทยาศาสตร์จากสถาบัน
ปาสเตอร์เคยได้ทำแบบจำลองคณิตศาสตร์รายงานใน bulletin ของ องค์การอนามัยโลกในปี 2020
และได้ข้อสังเกตว่าฝีดาษลิงจะมีแนวโน้มเพิ่มมากขึ้นตามลำดับ แปรตาม สัดส่วนของภาวะภูมิคุ้มกันที่เริ่มลดลงในประชากรในประเทศแอฟริกาเช่น คองโก หลังจากที่หยุดการฉีดวัคซีนไข้ทรพิษซึ่งสามารถป้องกันข้ามไปยังฝีดาษลิงได้ และเริ่มเห็นการระบาด หนาตาขึ้นเรื่อยๆ
ดังเช่น ในปี 2020 องค์การอนามัยโลกได้รายงานว่ามีผู้ที่น่าจะติดเชื้อฝีดาษลิงในอัฟริกา 4594 รายและเสียชีวิต 171 ราย (case fatality ratio 3.7%)
และเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในปัจจุบันเหมือนกับเป็นการนับวันรอปะทุ โดยที่ความสามารถในการแพร่จากคนหนึ่งไปสู่คนอื่นที่น้อยกว่าหนึ่ง อาจจะสูงขึ้น