วันหยุดธนาคาร ตั้งแต่เดือน มิ.ย. - ธ.ค. 65 (ตามประกาศของธนาคารแห่งประเทศไทย)
เดือนมิถุนายน 2565
- วันศุกร์ที่ 3 มิถุนายน 2565 วันเฉลิมพระชนมพรรษา สมเด็จพระนางเจ้าสุทิดาพัชรสุธาพิมลลักษณ พระบรมราชินี
เดือนกรกฎาคม 2565
- วันพุธที่ 13 กรกฎาคม 2565 วันอาสาฬหบูชา
- วันพฤหัสบดีที่ 28 กรกฎาคม 2565 วันเฉลิมพระชนมพรรษาพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
- *วันศุกร์ที่ 29 กรกฎาคม 2565 วันหยุดพิเศษเพิ่มเติม
เดือนสิงหาคม 2565
- วันศุกร์ที่ 12 สิงหาคม 2565 วันเฉลิมพระชนมพรรษา สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง และวันแม่แห่งชาติ
เดือนตุลาคม 2565
- วันพฤหัสบดีที่ 13 ตุลาคม 2565 วันคล้ายวันสวรรคตพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศรมหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร
- *วันศุกร์ที่ 14 ตุลาคม 2565 วันหยุดเพิ่มเติม
- วันจันทร์ที่ 24 ตุลาคม 2565 ชดเชยวันปิยมหาราช (วันอาทิตย์ที่ 23 ตุลาคม 2565)
เดือนธันวาคม 2565
- วันจันทร์ที่ 5 ธันวาคม 2565 วันคล้ายวันพระบรมราชสมภพพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร วันชาติ และ วันพ่อแห่งชาติ
- วันจันทร์ที่ 12 ธันวาคม 2565 ชดเชยวันรัฐธรรมนูญ (วันเสาร์ที่ 10 ธันวาคม 2565 )
นอกเหนือจากรวบรวมวันหยุดราชการ และ วันหยุดธนาคารที่เหลือของปีนี้มานำเสนอ วันนี้"ฐานเศรษฐกิจ"ยังได้มัดรวมวันหยุดยาวของเดือนต่างๆมานำเสนอ เผื่อใครเตรียมตัวจะออกเดินทางท่องเที่ยว หรือ กลับภูมิลำเนา ก็สามารถวางแผนกันยาวๆได้เลย
เดือนมิถุนายน 2565 มีวันหยุดยาว 1 ช่วง ได้แก่
- เดือนนี้มีวันหยุดยาวได้แก่ วันศุกร์ที่ 3 มิถุนายน 2565 ซึ่งเป็นวันเฉลิมพระชนมพรรษาสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินี และเมื่อรวมกับวันหยุดสุดสัปดาห์เสาร์ - อาทิตย์ ก็ทำให้มีวันหยุดยาว 3 วัน
เดือนกรกฎาคม 2565 มีวันหยุดยาว 2 ช่วง ได้แก่
- เดือนกรกฎาคม 2565 มีวันหยุด 9 วัน โดยแบ่งออกเป็นช่วงแรกคือ ตั้งแต่วันพุธที่ 13 กรกฎาคม 2565 ซึ่งเป็นวันอาสาฬหบูชา ต่อมาในวันพฤหัสบดีที่ 14 กรกฎาคม 2565 เป็นวันเข้าพรรษา และในวันศุกร์ที่ 15 กรกฎาคม 2565 รัฐบาลได้ประกาศให้เป็นวันหยุดราชการเพิ่มเป็นกรณีพิเศษประจำปี 2565 เมื่อรวมกับวันหยุดสุดสัปดาห์เสาร์ -อาทิตย์ ส่งผลให้กลายเป็นวันหยุดยาว 5 วันติด (วันพุธ 13 -อาทิตย์ 17 กรกฎาคม 2565)
- ต่อมาปลายเดือนมีวันหยุดยาวกันต่อ ในวันพฤหัสบดีที่ 28 กรกฎาคม 2565 ซึ่งเป็นวันเฉลิมพระชนมพรรษาพระบาทสมเด็จพระปรเมนทรรามาธิบดีศรีสินทรมหาวชิราลงกรณ พระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว และภาครัฐประกาศให้วันศุกร์ที่ 29 กรกฎาคม 2565 เป็นวันหยุดราชการเพิ่มเป็นกรณีพิเศษประจำปี 2565 เมื่อรวมกับวันหยุดสุดสัปดาห์เสาร์ -อาทิตย์ ส่งผลให้กลายเป็นวันหยุดยาว 4 วันติด (วันพฤหัสบดี 28 - วันอาทิตย์ 31 กรกฎาคม 2565)
เดือนสิงหาคม 2565 มีวันหยุดยาว 1 ช่วง ได้แก่
- เดือนนี้ มีวันหยุดในวันศุกร์ที่ 12 สิงหาคม 2565 ซึ่งเป็นวันเฉลิมพระชนมพรรษาสมเด็จพระบรมราชชนนีพันปีหลวงและวันแม่แห่งชาติ เมื่อรวมกับวันหยุดสัปดาห์เสาร์ที่ 13 - อาทิตย์ที่ 14 สิงหาคม2565 ทำให้มีวันหยุดยาว 3 วัน
เดือนตุลาคม 2565 มีวันหยุดยาว 2 ช่วง ได้แก่
- เดือนนี้มีวันหยุด 7 วัน เริ่มตั้งแต่ วันพฤหัสบดีที่ 13 ตุลาคม 2565 วันคล้ายวันสวรรคตของพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร และรัฐประกาศให้วันวันศุกร์ที่ 14 ตุลาคม 2565เป็นวันหยุดราชการเพิ่มเป็นกรณีพิเศษประจำปี 2565 เมื่อรวมกับวันหยุดสุดสัปดาห์เสาร์ -อาทิตย์ ส่งผลให้กลายเป็นวันหยุดยาว 4 วันติด (วันพฤหัสบดี 13 -วันอาทิตย์ 16 ตุลาคม 2565)
- ต่อมาในวันจันทร์ที่ 24 ตุลาคม 2565 วันหยุดชดเชยวันปิยมหาราช (วันอาทิตย์ที่ 23 ตุลาคม 2565 วันปิยมหาราช ) เมื่อรวมกับวันหยุดสุดสัปดาห์เสาร์ -อาทิตย์ ทำให้มีวันหยุดยาว 3 วัน
เดือนธันวาคม 2565 มีวันหยุดยาว 3 ช่วง ได้แก่
- เดือนธันวาคม มีวันหยุดเริ่มที่ วันจันทร์ที่ 5 ธันวาคม 2565 วันคล้ายวันพระบรมราชสมภพของพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร วันชาติ และวันพ่อแห่งชาติ เมื่อรวมกับวันหยุดสุดสัปดาห์เสาร์ -อาทิตย์ ทำให้มีวันหยุดยาว 3 วัน (วันเสาร์ที่ 3 - วันจันทร์ที่ 5 ธันวาคม 2565 )
- ต่อมาในวันวันจันทร์ที่ 12 ธันวาคม 2565 วันหยุดชดเชยวันรัฐธรรมนูญ (วันเสาร์ที่ 10 ธันวาคม 2565 วันรัฐธรรมนูญ )เมื่อรวมกับวันหยุดสุดสัปดาห์เสาร์ -อาทิตย์ ทำให้มีวันหยุด 3 วัน (วันเสาร์ที่ 10 -วันจันทร์ที่ 12 ธันวาคม 2565)
- ช่วงส่งท้ายปลายปี รัฐได้ประกาศให้วันศุกร์ที่ 30 ธันวาคม 2565 เป็นวันหยุดราชการเพิ่มเป็นกรณีพิเศษประจำปี 2565 และในวันวันเสาร์ที่ 31 ธันวาคม 2565 วันสิ้นปี และเมื่อรวมกับวันหยุดปีใหม่คือวันอาทิตย์ที่ 1 มกราคม 2566 และวันจันทร์ที่ 2 มกราคม 2566 ซึงเป็นวันหยุดชดเชยปีใหม่ 2566 ส่งผลให้ช่วงส่งท้ายปีมีวันหยุดยาวรวม 4 วัน