ประเด็นพนักงาน บริษัท เจเอสแอล โกลบอล มีเดีย จำกัด JSL ที่ถูกเลิกจ้างไม่เป็นธรรม ยังเป็นเรื่องที่ต้องจับตา เรื่องนี้ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม และ พล.อ.ประวิตร วงษ์สุวรรณ รองนายกรัฐมนตรี กำกับดูแลกระทรวงแรงงาน ให้กระทรวงฯ เข้าไปดูแลช่วยเหลือให้ลูกจ้าง JSL ได้รับสิทธิประโยชน์ความคุ้มครองตามกฎหมายอย่างใกล้ชิด
ประเด็นที่น่าสนใจก็คือ อดีตพนักงานบริษัท เจเอสแอล ในจำนวน 37 คน ที่ถูกเลิกจ้างอย่างไม่เป็นธรรม เข้าปรึกษาด้านกฎหมายกับ นายเดชา กิตติวิทยานันท์ ทนายความ จากกรณี เมื่อวันที่ 29 มิถุนายนที่ผ่านมา บริษัท เจเอสแอล ได้ประกาศปิดตัว โดยระบุว่า JSL จะจ่ายให้กับพนักงานที่ถูกเลิกจ้าง เพียงร้อยละ 16 ของเงินชดเชยทั้งหมดตามกฎหมาย
ซึ่งยอดเงินชดเชยเลิกจ้างที่ทางบริษัทต้องจ่ายให้ รวมเป็นเงินกว่า 31 ล้านบาท แต่ทางบริษัทบอกว่าจะให้เงิน 5 ล้านบาท ให้ไปแบ่งกันเอาเอง ซึ่งทางพนักงานเห็นว่าเป็นการเอาเปรียบ และการที่ทางบริษัทฯ ไม่จ่ายเงินค่าชดเชยให้แก่ลูกจ้างที่ถูกเลิกจ้างตามหลักเกณฑ์ ถือเป็นการไม่ปฎิบัติตามกฎหมายแรงงาน
ในประเด็นที่นายจ้างฝ่าฝืนหรือไม่ปฎิบัติตามเกี่ยวกับสิทธิการได้เงินลูกจ้างมีความประสงค์ให้พนักงานเจ้าหน้าที่ดำเนินการตเมื่อกาง พ.ร.บ.คุ้มครองแรงงาน พ.ศ.2541 มาตรา 123 ลูกจ้างมีสิทธิ์ยื่นคำร้องต่อพนักงานตรวจแรงงานแห่งท้องที่ที่ลูกจ้างทำงานอยู่หรือที่นายจ้างมีภูมิลำเนาอยู่ตามแบบที่อธิบดีกำหนด ซึ่งการที่นายจ้างเลิกจ้างลูกจ้าง จะต้องจ่ายเงินชดเชยตามที่กฎหมายกำหนดทันที
ขณะที่ตามมาตรา 124 เมื่อมีการยื่นคำร้องตาม มาตรา 123 ให้ พนักงานตรวจแรงงานสอบสวนข้อเท็จจริงและมีคำสั่งภายใน หกสิบวันนับแต่วันที่รับคำร้อง
กรณีที่มีความจำเป็นไม่อาจมีคำสั่งภายในเวลาตาม ให้พนักงานตรวจแรงงานขอขยายเวลาต่ออธิบดี หรือผู้ซึ่งอธิบดีมอบหมายพร้อมด้วยเหตุผล และอธิบดีหรือผู้ ซึ่งอธิบดีมอบหมายอาจพิจารณาอนุญาตได้ตามที่เห็นสมควร แต่ต้องมีระยะเวลาไม่เกิน 30 วันนับแต่วันที่ครบกำหนด ตามวรรคหนึ่ง
เมื่อพนักงานตรวจแรงงานสอบสวนแล้วปรากฎว่าลูกจ้าง มีสิทธิได้รับเงินอย่างหนึ่งอย่างใดที่นายจ้างมีหน้าที่ต้องจ่าย ตามพระราชบัญญัตินี้ ให้พนักงานตรวจแรงงานมีคำสั่งให้ นายจ้างจ่ายเงินดังกล่าวให้แก่ลูกจ้างหรือทายาทโดยธรรม ของลูกจ้าง ตามแบบที่อธิบดีกำหนดภายใน 15 นับแต่วันที่ทราบหรือถือว่าได้ทราบคำสั่ง
ซึ่งในวันนี้ลูกจ้าง JSL ได้มายื่นคำร้องต่อพนักงานตรวจแรงงาน ณ สำนักงานสวัสดิการและคุ้มครองแรงงานกรุงเทพมหานครพื้นที่ 4 ขณะที่ในวันพรุ่งนี้ (5 กรกฎาคม 2565) เวลา 15.30 น. ลูกจ้าง JSL จะนัดรวมตัวกันเพื่อไปยื่นหนังสือต่อ “นายสุชาติ ชมกลิ่น” รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน เพื่อขอความช่วยเหลือติดตามสิทธิประโยชน์ต่าง ๆ ของลูกจ้างที่กระทรวงแรงงานอีกด้วย
สำหรับการเลิกจ้างและการจ่ายค่าชดเชย พระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541 ได้กำหนดหน้าที่ของนายจ้างและสิทธิของลูกจ้างกรณีการเลิกจ้าง ทั้งนี้โดยอาศัยหลักการตามอนุสัญญาองค์การแรงงานระหว่างประเทศ ฉบับที่158 ที่กำหนดเรื่องการเลิกจ้าง คือ
จากหลักการเรื่องการเลิกจ้างตามอนุสัญญา ILO พระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541 กำหนดให้นายจ้างจ่ายค่าชดเชยให้แก่ลูกจ้างซึ่งเลิกจ้าง ทั้งนี้ การเลิกจ้างได้แก่ การที่นายจ้างไม่ให้ลูกจ้างทำงานต่อไปและไม่จ่ายค่าจ้างให้ ไม่ว่าจะเป็นเพราะเหตุสิ้นสุดสัญญาจ้างหรือเหตุอื่นใด และการที่ลูกจ้างไม่ได้ทำงานและไม่ได้รับค่าจ้าง เพราะเหตุที่นายจ้างไม่สามารถดำเนินกิจการต่อไป โดยมีเจตนารมณ์ในการให้ความคุ้มครองลูกจ้างซึ่งต้องถูกเลิกจ้างให้ ได้รับค่าชดเชย ไม่ว่าจะเป็นกรณีนายจ้างเป็นฝ่ายให้ลูกจ้างออกจากงาน นายจ้างเลิกกิจการ หรือ ลูกจ้างต้องออกจากงาน เพราะสัญญาจ้างสิ้นสุดลง ยกเว้นกรณีดังต่อไปนี้
แต่ถ้าเป็นการจ้างงานที่มีกำหนดระยะเวลาแน่นอนในงานอื่นซึ่งไม่ใช่งาน 3 ประเภทข้างต้น ก็ไม่ใช่กรณียกเว้นเรื่อง ค่าชดเชยรวมทั้งไม่อยู่ในกรณียกเว้นตามมาตรา 119 ด้วย จะมีสิทธิ ได้รับค่าชดเชยต่อเมื่อมีอายุงานตามเกณฑ์ที่กำหนดดังนี้
นอกจากนี้การเลิกจ้างครั้งนี้เป็นการเลิกจ้างบางส่วน ลูกจ้างที่ได้รับผลกระทบจะได้รับสิทธิประโยชน์เงินทดแทน การขาดรายได้กรณีว่างงาน ในอัตราร้อยละ 50 ของค่าจ้างที่นำส่งเงินสมทบเป็นระยะเวลาไม่เกิน 6 เดือน
หลักเกณฑ์และสิทธิประโยชน์
หลักเกณฑ์ที่จะทำให้มีสิทธิ คือ เมื่อผู้ประกันตนจ่ายเงินสมทบในส่วนของกรณีว่างงานมาแล้วไม่น้อยกว่า 6 เดือน ภายในระยะเวลา 15 เดือนก่อนการว่างงาน (ถูกเลิกจ้างหรือลาออกหรือสิ้นสุดสัญญาจ้างตามกำหนดระยะเวลา) โดยไม่มีความผิดตามกฎหมาย
เงื่อนไขการเกิดสิทธิ์
สำหรับลูกจ้างที่มีอายุ 55 ปีบริบูรณ์ สามารถเบิกสิทธิประโยชน์กรณีชราภาพได้ หรือหากต้องการใช้สิทธิประกันสังคมต่อ สามารถสมัครเป็นผู้ประกันตนโดยสมัครใจตามมาตรา 39 ภายใน 6 เดือนหลังสิ้นสภาพการเป็นลูกจ้าง
อย่างไรก็ตาม JSL มีสำนักงานใหญ่ตั้งอยู่เลขที่ 154 ซอยลาดพร้าว 107 ถนนลาดพร้าว แขวงคลองจั่น เขตบางกะปิ กรุงเทพมหานคร ประกอบกิจการ ประเภทผลิตรายการโทรทัศน์
ปัจจุบันมีพนักงานทั้งหมดประมาณ 130 คน เป็นชาย 70 คน และหญิง 60 คน บริษัทได้แจ้งเลิกจ้างพนักงาน จำนวน 89 คน เป็นลูกจ้างรายเดือนทั้งหมดให้มีผลการเลิกจ้าง ตั้งแต่วันที่ 1 กรกฎาคม 2565 ที่ผ่านมา สาเหตุการเลิกจ้างเนื่องจากบริษัทขาดทุนสะสมมาโดยตลอด