วันเข้าพรรษาปี 2566 ตรงกับวันพุธที่ 2 สิงหาคม 2566 เป็นวันสำคัญทางพระพุทธศาสนาทั้งยังเป็นวันหยุดราชการด้วย โดยพระสงฆ์นิกายเถรวาทจะจำพรรษาที่วัดใดวัดหนึ่ง ไม่ไปค้างแรมที่อื่น เป็นเวลา 3 เดือน เริ่มตั้งแต่วันแรม 1 ค่ำ เดือน 8 และสิ้นสุดลงในวันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 11 หรือ วันออกพรรษา
ทั้งนี้ วันเข้าพรรษาเป็นวันที่ต่อเนื่องมาจาก วันอาสาฬหบูชา (วันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 8) เป็นประเพณีที่ชาวพุทธได้ทำสืบต่อกันมาตั้งแต่สมัยสุโขทัย นั่นก็คือ "การถวายเทียนพรรษา"
ประเพณีที่กระทำต่อกันมาเป็นประจำทุกปีเมื่อใกล้ถึงฤดูเข้าพรรษาเนื่องจากพระภิกษุจะต้องมีการจุดธูปเทียนเพื่อจุดบูชา สวดมนต์ทำวัตร ทุกเช้า-เย็น ตลอดระยะเวลาฤดูฝนที่มีกำหนดเวลา 3 เดือนตามที่พระวินัยบัญญัติไว้ โดยไม่ไปค้างแรมที่อื่น
ด้วยเหตุนี้ พุทธศาสนิกชนทั้งหลายจึงพร้อมใจกันหล่อเทียนเข้าพรรษาสำหรับให้พระภิกษุจุดเป็นการกุศลทานอย่างหนึ่ง เพราะเชื่อกันว่า ในการให้ทานด้วยแสงสว่างจะมีอานิสงส์เพิ่มพูนปัญญา มีดวงตาสว่างไสว
ประวัติความเป็นมาประเพณีแห่เทียนเข้าพรรษา
วันเข้าพรรษา เป็นวันสำคัญในพุทธศาสนาวันหนึ่งที่พระสงค์เถรวาทจะอธิฐานว่า จะพักประจำอยู่ ณ ที่ใดที่หนึ่ง ตลอดระยะเวลาฤดูฝนที่มีกำหนดเป็นระยะเวลา 3 เดือน ตามที่พระธรรมวินัยบัญญัติไว้ โดยไม่ไปค้างแรมที่อื่น หรือที่เรียกติกปากกันโดยทั่วไปว่า จำพรรษา ซึ่งถือเป็นข้อปฏิบัติสำหรับพระสงค์โดยตรงละเว้นไม่ได้ ไม่ว่ากรณีใด ๆ ก็ตาม
การเข้าพรรษาตามปกติเริมนับตั้งแต่วันแรม 1 ค่ำ เดือน 8 ของทุกปี (หรือเดือน 8 หลัง ถ้ามีเดือน 8 สองหน)และสิ้นสุดลงในวันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 11 หรือวันออกพรรษา สาเหตุที่พระเจ้าทรงอนุญาตการจำพรรษาอยู่ ณ สถานที่ใดสถานที่หนึ่งตลอด 3 เดือนแก่พระสงค์นั้น มีเหตุผลเพื่อให้พระสงฆ์ได้หยุดพักการจาริกเพื่อเผยแพร่ศาสนาไปตามสถานที่ต่างซึ่งจะเป็นไปด้วยความยากลำบากในช่วงฤดูฝน เพื่อป้องกันความเสียหายจากการอาจเดินเหยียบย่ำธัญพืชของชาวบ้านที่ปลูกลงแปลงในฤดูฝน
และช่วงเวลาจำพรรษาตลอด 3 เดือนนี้เป็นช่วงเวลาและโอกาสสำคัญในรอบปีที่พระสงค์จะได้มาอยู่จำพรรษารวมกันในอาวาสหรือสถานที่ใดสถานที่หนึ่งเพื่อศึกษาธรรมวินัยจากพระสงฆ์ที่ทรงความรู้ได้แลกเปลี่ยนประสบการณ์และสร้างความสามัคคีในหมู่คณะสงฆ์ด้วย
สำหรับการหล่อเทียนพรรษาของประชาชนเพื่อถวายแก่พระสงฆ์ เพื่อใช้ประโยชน์ในช่วงเข้าพรรษาซึ่งสมัยก่อนใช้จุดเพื่อแสงสว่าง เนื่องจากไม่มีไฟฟ้า เรียกว่า ตามประทีปเพื่อศึกษาหรือบำเพ็ญเพียรสมาธิในสถานที่มืด ถือว่า ได้รับอานิสงส์ ทำให้เกิดความสามัคคีในหมู่คณะได้ธรรมะจากกิจกรรมและได้ทำนุบำรุงพระพุทธศาสนา
พุทธศาสนิกชนได้มีโอกาสบำเพ็ญกุศลเป็นการพิเศษ เช่น การทำบุญตักบาตร หล่อเทียนพรรษา ถวายผ้าอาบน้ำฝน รักษาศิล เจริญภาวนา ถวายจตุปัจจัยไทยธรรม งดเว้นอาบายมุข และมีโอกาสได้ฟังธรรมเทศนาตลอดเวลาเข้าพรรษาเป็นการทำนุบำรุงพระพุทธศาสนา และเพื่อความเป็นสิริมงคลซึ่งการหล่อเทียนพรรษานั้นเป็นประเพณีที่สัมพันธ์ และเกี่ยวข้องกับพิธีกรรมที่เป็นพุทธบัญญัติ คือ การเข้าพรรษา นั่นเอง
กำเนิดเทียนพรรษา
ศาสนาพราหมณ์-ฮินดู นับถือวัวเพราะถือว่า วัวเป็นพาหนะของพระอิศวร เมื่อวัวตาย จะเอาไขจากวัวมาทำเป็นน้ำมันเพื่อจุดบูชาพระผู้เป็นเจ้าที่ตนเคารพ แต่ชาวพุทธซึ่งนับถือศาสนาพุทธจะทำเทียนเพื่อจุดบูชาพระรัตนตรัย โดยการเอารังผึ้ง ร้างมาต้มเอาขี้ผึ้ง แล้วฟั่นเป็นเทียนเล่มเล็ก ๆ มีความยาวตามต้องการ เช่น ยาวเป็นคืบ หรือเป็น ศอกแล้วใช้จุดบูชาพระ
เทียนพรรษา เริ่มมีมาตั้งแต่สมัยพุทธกาล ชาวพุทธจะยึดถือเป็นประเพณีนำเทียนไป ถวายพระภิกษุในเทศกาลเข้าพรรษา เพื่อปรารถนาให้ตนเองเป็นผู้เฉลียวฉลาด มีไหวพริบ ประดุจ แสงสว่างของดวงเทียน
เทียนพรรษา คือ เทียนขนาดใหญ่และยาวเป็นพิเศษกว่าเทียนชนิดอื่น สำหรับจุดในโบสถ์ตั้งแต่วันเข้าพรรษาจนถึงวันออกพรรษา (พจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ.2525)
สำหรับการถวายสิ่งของที่จำเป็นสำหรับการอยู่พรรษา เช่น ผ้าอาบน้ำฝน เทียนพรรษา รูปแบบและวิธีการของกิจกรรมประเพณี (ดั้งเดิม) แต่เดิมกิจกรรมมีเพียงแต่ชาวบ้านร่วมกันบริจาค โดยการนำรังผึ้งมาต้มเอาขี้ผึ้งไปฟั่นเป็นเทียนนำไปถวายพระภิกษุ เอาเทียนเล่มเล็กๆ หลาย เล่ม มามัดรวมกันเป็นลำต้นคลายกับต้นกล้วย หรือลำไม้ไผ่ แล้วนำไปติดกับฐาน และจัดขบวนแห่ไปถวายพระที่วัด ซึ่งการมัดรวมกันแบบนี้เป็นสาเหตุหนึ่งที่นิยมเรียกกันว่า ต้นเทียน หรือต้นเทียนพรรษา
ต่อมามีการตกแต่งต้นเทียนขึ้นโดยภูมิปัญญาชาวบ้าน ใช้ขี้ผึ้งลนไฟหรือตากแดดให้อ่อนแล้วปั้นเป็นรูปดอกดำดวนติดต้นเทียน หรือนำขี้ผึ้งไปต้มให้ละลาย แล้วนำผลมะละกอ หรือผลฟักทองนำมาแกะเป็นลวดลาย ใช้ไม้เสียบนำไปจุ่มในน้ำขี้ผึ้งแล้วนำไปจุ่มในน้ำเย็น แกะขี้ผึ้งออกจากแบบ ตัดและตกแต่งให้สวยงามนำไปติดที่ต้นเทียน ต่อมามีการทำแบบพิมพ์ลงปูนซีเมนต์ซึ่งเป็นแบบพิมพ์ แล้วนำขี้ผึ้งที่อ่อนตัว ไปกดลงบนแม่พิมพ์ลยไทย นำไปติดกับลำต้นเทียน รูปแบบและวิธีการของกิจกรรมประเพณีได้ปรับประยุกต์ขึ้น มีการแกะสลักลวดลายลงบนต้นเทียนอย่างสวยงาม และในส่วนของฐานมีการสร้างหุ่นแสดงเรื่องราวทางศาสนา
ส่วนการจัดขบวนแห่จะนำของพื้นเมือง เช่น เครื่องแต่งกายขบวนฟ้อนรำจะใช้ผ้าเมืองเป็นหลัก การฟ้อนรำ "ระบำอัปสรา” ซึ่งเป็นการฟ้อนรำด้วยศิลปะพื้นบ้านที่งดงาม อีกทั้งในขบวนแห่เทียนพรรษา จะมีการขับร้องที่สนุกสนานเร้าใจ
วิวัฒนาการเทียนพรรษา
การทำเทียนพรรษา มีวิวัฒนาการมาเป็นลำดับ จากการนำรังผึ้งมาต้มเอาขี้ผึ้งไปฟั่น เป็นเทียนนำไปถวายพระภิกษุ เอาเทียนเล่มเล็ก ๆ หลาย ๆ เล่ม มามัดรวมกันเป็นลำต้นคล้ายกับ ต้นกล้วย หรือลำไม้ไผ่ แล้วนำไปติดกับฐาน ซึ่งการมัดรวมกันแบบนี้เป็นสาเหตุหนึ่งที่นิยมเรียกว่า ต้นเทียน หรือต้นเทียนพรรษา
ต้นเทียนพรรษาประเภทแรก คือ "มัดรวมติดลาย" เป็นการเอาเทียนเล่มเล็ก ๆ มามัด รวมกันบนแกนไม้ไผ่ให้เป็นต้นเทียนขนาดใหญ่ แล้วตัดกระดาษเงิน กระดาษทองเป็นลายต่าง ๆ ติดประดับโดยรอบต้นเทียน ต่อมามีการคิดทำต้นเทียนเป็นต้นเดี่ยว เพื่อใช้จุดให้ได้นาน โดย การใช้ลำไม้ไผ่ที่ทะลุปล้องเป็นแบบหล่อ เมื่อหล่อเทียนเป็นต้นเสร็จแล้วจึงนำมาติดที่ฐาน และจัด ขบวนแห่เทียนไปถวายพระที่วัด
การตกแต่งต้นเทียน เริ่มมีขึ้นโดยภูมิปัญญาชาวบ้าน ใช้ขี้ผึ้งลนไฟหรือตากแดดให้อ่อน แล้วปั้นเป็นรูปดอกลำดวนติดต้นเทียน หรือเอาขี้ผึ้งไปต้มให้ละลาย แล้วใช้ผลมะละกอ หรือ ผล ฟักทองนำมาแกะเป็นลวดลาย ใช้ไม้เสียบนำไปจุ่มในน้ำขี้ผึ้ง แล้วนำไปจุ่มในน้ำเย็น แกะขี้ผึ้งออก จากแบบ ตัดและตกแต่งให้สวยงามนำไปติดที่ต้นเทียน
พ.ศ. 2482 มีช่างทองชื่อ นายโพธิ์ ส่งศรี เริ่มทำลายไทยไปประดับบนเทียน โดยมี การทำแบบพิมพ์ลงในแผ่นปูนซีเมนต์ซึ่งถือว่า เป็นแบบพิมพ์ หรือแม่พิมพ์ แล้วเอาขี้ผึ้งที่อ่อนตัว ไปกดลงบนแม่พิมพ์จะได้ขี้ผึ้งเป็นลายไทย นำไปติดกับลำต้นเทียน
ต่อมา นายสวน คูณผล ได้คิดทำลายให้นูนและสลับสี จนเห็นได้ชัด เมื่อส่งเทียนเข้า ประกวดจึงได้รับรางวัลชนะเลิศ
ในปี พ.ศ. 2497 นายประดับ ก้อนแก้ว คิดประดิษฐ์ทำหุ่นเป็น เรื่องราวพุทธประวัติ และเอาลวดลายขี้ผึ้งติดเข้าไปที่หุ่น ทำให้มีลักษณะแปลกออกไป จึงทำให้ เทียนพรรษาได้รับรางวัลชนะเลิศ และชนะเลิศมาทุกปี ในเทียนพรรษาประเภทติดพิมพ์
ปี พ.ศ. 2502 มีช่างแกะสลักลงในเทียนพรรษาคนแรก คือ นายคำหมา แสงงาม และ คณะกรรมการตัดสินให้ชนะการประกวด ทำให้เกิดการประท้วงคณะกรรมการตัดสิน ทำให้ในปี ต่อๆ มามีการแยกประเภทต้นเทียนออกเป็น 2 ประเภทชัดเจน คือ
1. ประเภทติดพิมพ์ (ตามแบบเดิม)
2. ประเภทแกะสลัก
การทำเทียนพรรษามีวิวัฒนาการเรื่อยมาในปี พ.ศ. 2511 ผู้คนได้พบเห็น ต้นเทียนพรรษาขนาดใหญ่และสูงขึ้น มีการแกะสลักลวดลายในส่วนลำต้นอย่างวิจิตรพิสดาร ในส่วนฐานก็มีการสร้างหุ่นแสดงเรื่องราวทางศาสนา และความเป็นไปในสังคมขณะนั้น กลายเป็น ประติมากรรมเทียนพรรษาที่ยิ่งใหญ่ ซึ่งช่างผู้ริเริ่มในการทำต้นเทียนยุคหลังคือ นายอุตส่าห์ และ นายสมัย จันทรวิจิตร สองพี่น้อง นับเป็นงานสร้างสรรค์ทางศิลปะอันเกิดจากภูมิปัญญาชาวบ้าน อย่างแท้จริง
งานประเพณีแห่เทียนพรรษา
ประเพณีแห่งเทียนพรรษานั้น เนื่องจากสมัยก่อนพระภิกษุสงฆ์ไม่มีไฟฟ้าใช้ ชาวบ้านจึงหล่อเทียนต้นใหญ่ขึ้น เพื่อถวายพระภิกษุสงฆ์จุดให้แสงสว่างในการปฏิบัติกิจวัตรต่างๆ เป็นพุทธบูชาตลอดเวลา 3 เดือน การนำเทียนไปถวายชาวบ้านมักจัดขบวนแห่กันอย่างเอิกเกริกสนุกสนานและปฏิบัติสืบทอดกันมาจนกลายเป็นประเพณี
งานประเพณีแห่เทียนพรรษา เป็นงานประเพณีที่รวมความผูกพันของชุมชนท้องถิ่น โดยเริ่มตั้งแต่การที่ชาวบ้านร่วมบริจาคเทียนเอามาหลอม หล่อเป็นเทียนเล่มใหญ่เล่มเดียวกัน เป็นการแสดงออกถึงความสามัคคีกลมเกลียวในหมู่คณะ สรรหาภูมิปัญญาชาวบ้านที่มีฝีมือทางช่าง มีความรู้ ความชำนาญในเรื่อง การทำลวดลายไทย การแกะสลักลวดลายลงบน ต้นเทียน การทำเทียนให้เป็นลายไทย แล้วนำไปติดบนต้นเทียน
การประดับด้วยผ้าฝ้าย ผ้าไหม ดอกไม้สด ล้วนแล้วแต่เป็นฝีมือของช่างในท้องถิ่น ส่วนการจัดขวนแห่ก็ล้วนแต่ใช้ของพื้นเมือง เช่น เครื่องแต่งกายขอขบวนฟ้อน จะใช้ผ้าพื้นเมืองเป็นหลัก การฟ้อนรำจะใช้ท่ารำที่ดัดแปลงมาจาก วิถีชีวิต การทำมาหากินของชาวบ้าน เป็นท่ารำในรูปแบบของศิลปะที่งดงาม ดนตรีประกอบก็เป็น เครื่องดนตรีประจำถิ่น ผสมเข้ากับการขับร้องที่สนุกสนานเร้าใจ ทำให้งานประเพณีนี้ยิ่งใหญ่ ประชาชนต่างเฝ้ารอคอย
ศิลปะการฟ้อนรำที่นิยมนำมาประกอบการแสดงในขบวนแห่ คือ การรำเซิ้งต่างๆ เช่น เซิ้งกระลอ เซิ้งกระติบ เซิ้งสวิง เซิ้งแหย่ไข่มดแดง ซึ่งดัดแปลงมาจากการประกอบอาชีพในวิถีชีวิต ประจำวันทั้งสิ้น
ที่มา วิกิพีเดีย