นายอิทธิพล คุณปลื้ม รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวัฒนธรรม เปิดเผยว่า เนื่องใน "วันอาสาฬหบูชา และวันเข้าพรรษา ประจำปี พ.ศ. 2566" กระทรวงวัฒนธรรม ร่วมกับสวนดุสิตโพล มหาวิทยาลัยสวนดุสิต ได้สำรวจความคิดเห็นเด็ก เยาวชน และประชาชน จากกลุ่มตัวอย่างทั่วประเทศ จากผู้ตอบแบบสอบถาม จำนวน 6,201 คน ครอบคลุมทุกอาชีพและทุกภูมิภาค สรุปผลได้ ดังนี้
1. เด็ก เยาวชน และประชาชนส่วนใหญ่ ร้อยละ 70.20 คิดว่า “วันอาสาฬหบูชา” มีความสำคัญ คือ เป็นวันที่พระพุทธเจ้าทรงประกาศพระพุทธศาสนาเป็นครั้งแรก
รองลงมา คือ ร้อยละ 68.36 เป็นวันที่พระพุทธเจ้าทรงแสดงพระธรรมเทศนา กัณฑ์แรก ชื่อว่าธัมมจักกัปปวัตตนสูตร ร้อยละ 60.96 เป็นวันที่พระรัตนตรัยครบบริบูรณ์ คือ พระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ ร้อยละ 56.88 เป็นวันที่พระสงฆ์องค์แรกเกิดขึ้น คือ พระอัญญาโกณฑัญญะ ตามลำดับ
2. เด็ก เยาวชน และประชาชนส่วนใหญ่ ร้อยละ 75.08 คิดว่า “วันเข้าพรรษา” มีความสำคัญ คือ เป็นวันที่พระภิกษุอธิษฐานอยู่จำพรรษาในวัดใด วัดหนึ่ง หรือ ณ ที่ใดที่มีพุทธานุญาตไว้ ไม่ไปค้างแรมที่อื่น ตลอดพรรษาสามเดือน รองลงมา คือ ร้อยละ 65.89 เป็นช่วงเวลาที่ให้พระภิกษุจะได้มีโอกาสศึกษาพระธรรมวินัยและประพฤติปฏิบัติธรรมกับพระอุปัชฌาย์ อาจารย์ได้อย่างเต็มที่ ร้อยละ 63.39 พุทธศาสนิกชนได้มีโอกาสบำเพ็ญกุศล เช่น ทำบุญตักบาตร รักษาศีล สวดมนต์ ฟังธรรม เจริญภาวนา ตลอดพรรษา
ขณะที่ เด็ก เยาวชน และประชาชนส่วนใหญ่ ร้อยละ 80.99 ทราบว่ามีการจัดกิจกรรมงานส่งเสริมพระพุทธศาสนา เนื่องในวันอาสาฬหบูชาและวันเข้าพรรษา ประจำปี พ.ศ. 2566 จากสื่อต่างๆ คือ อันดับ 1 เฟซบุ๊ก (Facebook) ร้อยละ 65.59 อันดับ 2 โทรทัศน์ ร้อยละ 48.17 อันดับ 3 ไลน์ (Line) ร้อยละ 48.03อันดับ 4 เว็บไซต์ ร้อยละ 38.91 อันดับ 5 หนังสือราชการ/หน่วยงานราชการ ร้อยละ 32.97
4. เด็ก เยาวชน และประชาชนส่วนใหญ่ ร้อยละ 59.46 สนใจเข้าร่วมกิจกรรมส่งเสริมพระพุทธศาสนา เนื่องในวันอาสาฬหบูชาและวันเข้าพรรษา ประจำปี พ.ศ. 2566 โดยกิจกรรมที่สนใจหรือหากมีโอกาสเข้าร่วม คือ
สิ่งที่เด็ก เยาวชน และประชาชนส่วนใหญ่ตั้งใจจะทำในช่วงเทศกาลเข้าพรรษา ตลอด 3 เดือน
นอกจากนี้ ผลการสำรวจวิธีการที่จะจูงใจหรือเชิญชวนให้เด็ก เยาวชน และประชาชน เข้าร่วมกิจกรรมส่งเสริมพระพุทธศาสนา เนื่องในวันอาสาฬหบูชา และวันเข้าพรรษา พบว่า
อันดับ 1 การรณรงค์ให้สถานศึกษาและชุมชน จัดกิจกรรมการแสดงตนเป็นพุทธมามกะ เนื่องในวันสำคัญทางพระพุทธศาสนา ร้อยละ 68.36
อันดับ 2 ประชาสัมพันธ์กิจกรรมต่าง ๆ ผ่าน Facebook Live Tiktok Instagram เป็นต้น ร้อยละ 50.04
อันดับ 3 จัดกิจกรรมเข้าค่ายปฏิบัติธรรมวันเสาร์-อาทิตย์ สำหรับเด็ก เยาวชน และประชาชนร้อยละ 48.93
อันดับ 4 สร้างจุดเช็คอินสถานที่ทำบุญ/วัดใกล้บ้าน/วัดสำคัญของชุมชน ร้อยละ 44.77 อันดับ 5 นำศิลปินดารา บุคคลที่มีชื่อเสียง (Influencer) มาร่วมรณรงค์/เชิญชวนผ่านสื่อ ร้อยละ 41.75
นายอิทธิพล กล่าวด้วยว่า นอกจากนี้ กิจกรรมหรือประเพณีทางพระพุทธศาสนาที่ควรสืบสาน รักษาไว้ให้คงอยู่คู่สังคมไทยตลอดไป ได้แก่ วันสำคัญทางศาสนาของไทย และกิจกรรมการทำบุญตักบาตร เข้าวัดปฏิบัติธรรม อุทิศบุญกุศลให้แก่บรรพบุรุษ โดยประเพณีวันเข้าพรรษา เป็นช่วงเวลาที่พระสงฆ์จะอธิษฐานว่าจะพักประจำอยู่ ณ ที่ใด ที่หนึ่งตลอดระยะเวลาฤดูฝน ในระยะเวลา 3 เดือน โดยพุทธศาสนิกชนถือเป็นโอกาสอันดีที่จะได้บำเพ็ญบุญกุศล เช่น ทำบุญตักบาตร รักษาศีล สวดมนต์ ฟังธรรม เจริญภาวนา
นอกจากนี้ วันเข้าพรรษา มีประเพณีสำคัญๆให้พุทธศาสนิกชนได้ สืบสาน และรักษาไว้ อาทิ ประเพณีการถวายผ้าอาบน้ำฝนและประเพณีแห่เทียนพรรษา รวมถึงประเพณีตักบาตรดอกไม้เข้าพรรษา และประเพณีการเทศน์มหาชาติ เป็นต้น