เปิดข้อมูล "พายุเข้าไทย 2565" กูรู ฟันธงปีแห่งลานีญา

20 ส.ค. 2565 | 01:00 น.

เปิดข้อมูลพายุเข้าไทย 2565 กูรู จาก "ทีมกรุ๊ป" วิเคราะห์ฟันธงว่าปีนี้เป็นปีแห่งลานีญา พร้อมเเนะวิธีรับมือสถานการณ์น้ำ

สถานการณ์​ฝนตกหนักในหลายพื้นที่ อาจทำให้หลายคนกังวล โดย นายชวลิต จันทรรัตน์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท ทีม คอนซัลติ้ง เอนจิเนียริ่ง แอนด์ แมเนจเมนท์ จำกัด (มหาชน) หรือ "ทีมกรุ๊ป" ได้เปิดเผยข้อมูลเชิงวิเคราะห์  ระบุว่า ปีนี้เป็นปีของลานีญา ฝนมากน้ำมาก กว่าปีปกติ โดยในช่วงเดือนกันยายนและตุลาคมนี้ จะเป็นลานีญาอ่อนๆ ฝนมากน้ำมากกว่าปีปกติไม่มากนัก ซึ่งจะมีผลต่อภาคกลาง ภาคอีสานตอนล่าง และภาคตะวันออก

จึงต้องบริหารจัดการ ในการเก็บกักน้ำเก็บน้ำต่างๆ ไว้ให้ดี ปริมาณเหมาะสม ได้แก่อ่างเก็บน้ำเขื่อนป่าสักชลสิทธิ์ซึ่งจะมีผลต่อพื้นที่จังหวัดลพบุรีสระบุรีอยุธยาปทุมธานี  อ่างเก็บน้ำเขื่อนกระเสียว ซึ่งจะมีผลต่อพื้นที่จังหวัดสุพรรณบุรี อ่างเก็บน้ำลําตะคอง มูลบน ลำแซะ ลำนางรอง เพลิงซึ่งจะมีผลต่อจังหวัดนครราชสีมา บุรีรัมย์ สุรินทร์ ศรีสะเกษ อ่างเก็บน้ำเขื่อนบางพระ หนองปลาไหล ประแส ซึ่งจะมีผลต่อจังหวัดชลบุรี และระยอง  เป็นต้น

ในช่วงเดือนพฤศจิกายน และธันวาคมนั้น จะเป็นลานีญามากขึ้น จึงจะมีฝนตกมากกว่าปีปกติมากขึ้น เพิ่งจะมีผลต่อพื้นที่ภาคใต้ตั้งแต่เพชรบุรี ปราณบุรี บางสะพาน ชุมพร สุราษฎร์ธานี นครศรีธรรมราช พังงา ภูเก็ต หาดใหญ่

 

จะต้องเตรียมรับมือ เรื่องการระบายน้ำให้รวดเร็ว ขจัดสิ่งกีดขวางทางน้ำ วัชพืช ขุดลอกบริเวณที่เป็น คอคอด   ติดตามข่าวอากาศ เตือนภัย ให้มีความพร้อมในการขนย้ายจากพื้นที่เสี่ยง น้ำท่วมฉับพลัน น้ำป่าไหลหลาก ดินโคลนถล่ม ในบริเวณเชิงเขา ในพื้นที่เสี่ยงที่ เคยเกิดอุทกภัย และดินโคลนถล่ม ในจังหวัดต่างๆ ในช่วงเวลาดังกล่าว

 

สำหรับประเด็นพายุจะเข้าถึงไทย กี่ลูกนั้น เป็นสิ่งที่วิเคราะห์ล่วงหน้าเป็นเดือน เนื่องจากมีปัจจัยหลายอย่าง ที่มนุษย์เรายังไม่สามารถคำนวณล่วงหน้าได้  แต่ปัจจุบันใช้ข้อมูลดาวเทียมในการติดตามดู เมื่อว่า มีการก่อตัวของพายุขึ้น ในมหาสมุทร หรือทะเลแล้ว ก็จะมองเห็นได้ ทำการติดตาม และ คำนวณ ใช้แบบจำลองสถานการณ์ ในโอกาสเกิดต่างๆ หลายกรณีเพื่อคาดการณ์ทิศทางการเคลื่อนตัว และขนาดความรุนแรงของพายุ เพื่อนำมาใช้ในการเตือนภัย และเตรียมตัวรับมือล่วงหน้า

 

  • พายุที่ก่อตัวในบริเวณมหาสมุทรแปซิฟิกด้านตะวันตก จะสามารถพบและนำมาติดตามคาดการณ์แนวทางการเคลื่อนตัวและความแรงล่วงหน้าได้ประมาณ 7 ถึง 10 วันก่อนจะมาถึงประเทศไทย

 

  • พายุ ที่ก่อตัวในบริเวณจีนใต้ จะสามารถพบและนำมาติดตามคาดการณ์แนวทางการเคลื่อนตัว และความแรงล่วงหน้าได้ประมาณ 3 ถึง 5 วัน  ก่อนวันก่อนจะมาถึงประเทศไทย

 

  • พายุที่ก่อตัวในทะเลอ่าวไทย  จะสามารถพบและนำมาติดตาม คาดการณ์แนวทางการเคลื่อนตัว และความแรงล่วงหน้าได้ประมาณ 1 ถึง 3 วันก่อนที่จะขึ้นฝั่งประเทศไทย