เช็คพื้นที่ไหน จังหวัดใด เสี่ยงน้ำท่วมฉับพลัน น้ำป่าไหลหลาก น้ำท่วมขัง

01 ก.ย. 2565 | 06:35 น.
อัปเดตล่าสุด :01 ก.ย. 2565 | 13:40 น.

ปภ.ประกาศเตือน พื้นที่เฝ้าระวังน้ำท่วมฉับพลัน น้ำป่าไหลหลาก น้ำท่วมขัง น้ำล้นตลิ่ง เช็คเลยอำเภอไหน จังหวัดอะไร พร้อมอัพเดทพื้นที่น้ำท่วมปัจจุบันมีที่ไหนบ้าง

กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย (ปภ.) กระทรวงมหาดไทย ได้รายงานข้อมูลคาดการณ์และแจ้งเตือนภัย ประจำวันที่ 1 กันยายน 2565 โดยมีพื้นที่เฝ้าระวังน้ำท่วมฉับพลัน น้ำป่าไหลหลาก น้ำท่วมขัง รวมไปถึงพื้นที่เฝ้าระวังน้ำล้นตลิ่ง  โดยจะมีพื้นที่ไหน จังหวัดใดบ้าง สามารถตรวจสอบได้ดังต่อไปนี้

 

พื้นที่เฝ้าระวังน้ำท่วมฉับพลัน น้ำป่าไหลหลาก น้ำท่วมขัง


ภาคเหนือ

  • อ.เมืองฯ ปายจ.แม่ฮ่องสอน 
  • อ.เมืองฯ ฝาง จ.เชียงใหม่ 
  • อ.เมืองฯ แม่ฟ้าหลวง จ.เชียงราย 
  • อ.แม่เมาะ เสริมงาม แม่ทะ สบปราบ วังเหนือ จ.ลำปาง 
  • อ.เมืองฯ สอง ลอง หนองม่วงไข่ จ.แพร่ 
  • อ.บ่อเกลือ จ.น่าน 
  • ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
  • อ.วังสะพุง ภูเรือ จ.เลย 
  • อ.สังคม จ.หนองคาย
  • อ.บุ่งคล้า จ.บึงกาฬ 

ภาคกลาง 

  • อ.เมืองฯจ.นครนายก 

พื้นที่เฝ้าระวังน้ำล้นตลิ่ง น้ำท่วมขัง


ภาคเหนือ 

  • อ.บางระกำ จ.พิษณุโลก 

 

ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ

  • อ.จังหาร จ.ร้อยเอ็ด 
  • อ.เมืองฯ วารินชำราบ จ.อุบลราชธานี 

 

ภาคกลาง 

  • อ.เมืองฯ บ้านนา ปากพลี องครักษ์จ.นครนายก 
  • อ.ศรีมหาโพธิ ประจันตคาม จ.ปราจีนบุรี 
  • อ.ป่าโมก วิเศษชัยชาญ จ.อ่างทอง 
  • อ.เมืองฯ สามโคก จ.ปทุมธานี 
  • อ.เสนา ผักไห่ บางบาล บางไทร พระนครศรีอยุธยา บางปะหัน บางปะอิน ท่าเรือ นครหลวง จ.พระนครศรีอยุธยา 
     

พื้นที่เฝ้าระวังน้ำท่วมฉับพลัน น้ำป่าไหลหลาก น้ำท่วมขัง น้ำล้นตลิ่ง

ขณะที่สถานการณ์น้ำท่วม ปัจจุบันพบว่ามีน้ำท่วมใน 6 จังหวัด ได้แก่ อุบลราชธานี ปราจีนบุรี นครนายก พระนครศรีอยุธยา อ่างทอง และปทุมธานี รวม 20 อำเภอ 114 ตำบล 464 หมู่บ้าน ดังนี้ โดยภาพรวมสถานการณ์ระดับน้ำเพิ่มขึ้นและทรงตัวในบางพื้นที่ 

 

สำหรับพื้นที่น้ำท่วม 6 จังหวัด 20 อำเภอ มีรายละเอียดดังต่อไปนี้ 

 

1. อุบลราชธานี น้ำท่วมในพื้นที่ 2 อำเภอ ได้แก่ อำเภอเมืองอุบลราชธานี อำเภอวารินชำราบ รวม 3 ตำบล 13 หมู่บ้าน ประชาชนได้รับผลกระทบ 157 ครัวเรือน ระดับน้ำทรงตัว

 

2. ปราจีนบุรี น้ำท่วมในพื้นที่ 2 อำเภอ ได้แก่ อำเภอศรีมหาโพธิ อำเภอประจันตคาม รวม 7 ตำบล 19 หมู่บ้าน ประชาชนได้รับผลกระทบ 442 ครัวเรือน ระดับน้ำลดลง 

 

3. นครนายก น้ำไหลหลากเข้าท่วมพื้นที่ 4 อำเภอ ได้แก่ อำเภอเมืองนครนายก อำเภอบ้านนา อำเภอปากพลี และอำเภอองครักษ์ รวม 11 ตำบล 20 หมู่บ้าน ประชาชนได้รับผลกระทบ 494 ครัวเรือน ระดับน้ำยังทรงตัว

 

4. พระนครศรีอยุธยา น้ำในแม่น้ำเจ้าพระยาล้นตลิ่งเข้าท่วมในพื้นที่ 9 อำเภอ ได้แก่ อำเภอเสนา อำเภอผักไห่ อำเภอบางบาล อำเภอบางไทร อำเภอบางปะหัน อำเภอพระนครศรีอยุธยา อำเภอบางปะอิน อำเภอท่าเรือ และอำเภอนครหลวง รวม 87 ตำบล 398 หมู่บ้าน บ้านเรือนประชาชนได้รับผลกระทบ 12,520 ครัวเรือน ปัจจุบันระดับน้ำเพิ่มขึ้น 

 

5. อ่างทอง น้ำท่วมในพื้นที่ 2 อำเภอ ได้แก่ อำเภอวิเศษชัยชาญ อำเภอป่าโมก รวม 2 ตำบล 9 หมู่บ้าน ประชาชนได้รับผลกระทบ 297 ครัวเรือน ระดับน้ำเพิ่มขึ้น


6. ปทุมธานี น้ำท่วมในพื้นที่ 2 อำเภอ ได้แก่ อำเภอเมืองปทุมธานี อำเภอสามโคก รวม 5 ตำบล 10 หมู่บ้าน ประชาชนได้รับผลกระทบ 702 ครัวเรือน

 

ทั้งนี้กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย โดยสำนักงานป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยจังหวัดได้ประสานจังหวัด องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ได้เร่งระบายน้ำออกจากพื้นที่และให้การดูแลช่วยเหลือผู้ประสบภัยอย่างต่อเนื่อง และจะได้จัดเจ้าหน้าที่เข้าสำรวจประเมินความเสียหาย เพื่อดำเนินการช่วยเหลือตามระเบียบกระทรวงการคลังฯ ต่อไป 

 

ประชาชนที่ได้รับความเดือดร้อนจากสาธารณภัย สามารถแจ้งเหตุและขอความช่วยเหลือทางไลน์ “ปภ.รับ แจ้งเหตุ 1784” โดยเพิ่มเพื่อน Line ID @1784DDPM และสายด่วนนิรภัย 1784 ตลอด 24 ชั่วโมง นอกจากนี้ ประชาชนยังสามารถติดตามประกาศการแจ้งเตือนภัยได้ที่แอปพลิเคชัน “THAI DISASTER ALERT”