thansettakij
กนง.ขึ้น 'ดอกเบี้ย' ลูกหนี้ต้องเตรียมตัวอย่างไรบ้าง?

กนง.ขึ้น 'ดอกเบี้ย' ลูกหนี้ต้องเตรียมตัวอย่างไรบ้าง?

04 ก.ย. 2565 | 07:08 น.
อัปเดตล่าสุด :04 ก.ย. 2565 | 14:12 น.

ส่องทิศทาง กนง. ขึ้น 'ดอกเบี้ย' ลูกหนี้รายย่อย - หนี้บ้าน - หนี้ธุรกิจ ต้องเตรียมรับมืออย่างไร? และ หากต้องการรีไฟแนนซ์ ควรพิจารณาอะไรบ้าง

4 ก.ย.2565 - เป็นคำถามอยู่เหมือนกัน สำหรับการขึ้นดอกเบี้ยนโยบายของ กนง. ว่าจะกระทบกับหนี้ประเภทดอกเบี้ยแบบลอยตัวของหนี้บ้าน และหนี้ธุรกิจอย่างไรบ้าง โดยแม้ขณะนี้ สถาบันการเงินจะดูแลปรับดอกเบี้ยแบบค่อยเป็นค่อยไป เพื่อชะลอผลกระทบกับกลุ่มเปราะบาง และยังมีมาตรการแก้หนี้ระยะยาวผ่านมาตรการการปรับโครงสร้างหนี้อย่างตรงจุดให้ผู้ประกอบธุรกิจ แต่ในฐานะ 'ลูกหนี้' ก็จำเป็นต้องปรับตัว เพื่อเตรียมพร้อม กับ ดอกเบี้ย ขาขึ้นในอนาคตเช่นกัน 

รู้จักประเภทของหนี้และดอกเบี้ย 

  • ดอกเบี้ยแบบลอยตัว คือ อัตราดอกเบี้ยเงินกู้เปลี่ยนแปลงตามต้นทุนของสถาบันการเงิน ซึ่งจะประกาศเป็นคราวๆไป เช่น MLR MOR MRR
  • ดอกเบี้ยแบบคงที่ คือ อัตราดอกเบี้ยเงินกู้ที่กำหนดไว้เป็นตัวเลขคงที่ คือ อัตราดอกเบี้ยเงินกู้ที่กำหนดไว้เป็นตัวเลขคงที่ตลอดอายุสัญญาเงินกู้หรือ ในช่วงเวลาที่กำหนด
     

ผลกระทบ - แนวทางการปรับตัวของลูกหนี้ 

  • ลูกหนี้บ้าน 

ผลกระทบ : ค่างวดผ่อนชำระรายเดือนยังเท่าเดิมแต่ระยะเวลาในการผ่อนชำระนานขึ้น 

ปรับตัวอย่างไร 

  1. ลดรายจ่ายและเพิ่มรายได้ เพื่อนำเงินไปโปะหนี้ทำให้สามารถปลดหนี้ได้เร็วขึ้นและประหยัดค่าใช้จ่ายดอกเบี้ย
  2. หากต้องการลดการผ่อนต่องวด ต้องยื่นเรื่องกับเจ้าหนี้เพื่อขอปรับโครงสร้างหนี้ เช่น ขอขยายระยะเวลาผ่อนชำระ
  3. รีไฟแนนซ์ไปยังสถาบันการเงินอื่นที่ให้ดอกเบี้ยถูกกว่า โดยพิจารณาเปรียบเทียบค่าใช้จ่ายที่จะเกิดขึ้นจากการรีไฟแนนซ์ เช่น ค่าดอกเบี้ยเงินกู้ , ค่าจดจำนองที่สถาบันการเงินใหม่ , ค่าธรรมเนียมการจ่ายชำระหนี้ก่อนกำหนด กรณีกู้กับสถาบันการเงินเดิมไม่ถึง 3 ปี 

 

  • ลูกหนี้ธุรกิจ 

ผลกระทบ : ได้รับผลกระทบเฉพาะหนี้ที่มีดอกเบี้ยลอยตัว 

ปรับตัวอย่างไร 

  1. สำรวจรายได้ ค่าใช้จ่ายของธุรกิจ และบริหารจัดการเพื่อลดต้นทุนและเพิ่มรายได้ 
  2. หากเห็นว่าได้รับผลกระทบจนไม่สามารถบริหารจัดการได้ ให้รีบหารือกับเจ้าหนี้ เพื่อเจรจาตกลงปรับโครงสร้างหนี้ 


ทั้งนี้ ข้อมูลจากธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) ระบุว่า ภาระหนี้ 60% ของหนี้ครัวเรือน เป็นหนี้ประเภท ดอกเบี้ยแบบคงที่ เช่น ลูกหนี้รถ และ ลูกหนี้บัตรเครดิต จึงไม่ได้รับผลกระทบมากนัก 

กนง.ขึ้น \'ดอกเบี้ย\' ลูกหนี้ต้องเตรียมตัวอย่างไรบ้าง?