15 กันยายน 2565 กองอำนวยการน้ำแห่งชาติ (กอนช.) ออกประกาศเตือน ฉบับที่ 39 ได้ติดตามสภาพอากาศ พบว่า ในช่วงวันที่ 17 - 20 กันยายน 2565 ร่องมรสุมพาดผ่านภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ประกอบกับมรสุมตะวันตกเฉียงใต้ที่พัดปกคลุมทะเลอันดามัน ประเทศไทย และอ่าวไทยจะมีกำลังแรงขึ้น ลักษณะดังกล่าวทำให้ประเทศไทยมีฝนตกต่อเนื่อง และมีฝนตกหนักบางแห่งบริเวณภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคกลาง รวมทั้งกรุงเทพมหานครและปริมณฑล ภาคตะวันออก และภาคใต้
ทั้งนี้ กอนช. ได้ประเมินวิเคราะห์สถานการณ์น้ำด้วยฝนคาดการณ์จากกรมอุตุนิยมวิทยาและสถาบันสารสนเทศทรัพยากรน้ำ (องค์การมหาชน) พบพื้นที่เสี่ยงเฝ้าระวังสถานการณ์น้ำ ในช่วงวันที่ 17 – 21 กันยายน 2565 ดังนี้
1. เฝ้าระวังพื้นที่เสี่ยง น้ำหลาก น้ำท่วมขัง ดังนี้
1.1 ภาคเหนือ
- จังหวัดเชียงใหม่ (อำเภอเวียงแหง และอมก๋อย)
- จังหวัดแพร่ (อำเภอร้องกวาง)
- จังหวัดน่าน (อำเภอบ่อเกลือ และปัว)
- จังหวัดลำปาง (อำเภอเกาะคา เมืองลำปาง และแจ้ห่ม)
- จังหวัดแพงเพชร (อำเภอคลองลาน)
- จังหวัดตาก (อำเภอท่าสองยาง พบพระ วังเจ้า แม่สอด เมืองตาก อุ้มผาง และแม่ระมาด)
- จังหวัดอุตรดิตถ์ (ฟากท่า)
- จังหวัดพิษณุโลก (อำเภอนครไทย และชาติตระการ)
- จังหวัดเพชรบูรณ์ (อำเภอหล่มสัก เมืองเพชรบูรณ์ และวิเชียรบุรี)
1.2 ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ จังหวัดเลย (อำเภอวังสะพุง)
- จังหวัดบึงกาฬ (อำเภอโซ่พิสัย)
- จังหวัดขอนแก่น (อำเภอบ้านฝาง หนองเรือ พระยืน เมืองขอนแก่น และมัญจาคีรี)
- จังหวัดกาฬสินธุ์ (อำเภอยางตลาด)
- จังหวัดชัยภูมิ (อำเภอคอนสาร และหนองบัวแดง)
- จังหวัดอำนาจเจริญ (อำเภอชานุมาน และเสนางคนิคม)
- จังหวัดอุบลราชธานี (อำเภอเขมราฐ พิบูลมังสาหาร สว่างวีระวงศ์ เมืองอุบลราชธานี และดอนมดแดง)
- จังหวัดยโสธร (อำเภอมหาชนะชัย)
- จังหวัดศรีสะเกษ (อำเภอราษีไศล)
- จังหวัดนครราชสีมา (อำเภอโนนไทย เมืองนครราชสีมา และโนนสูง)
1.3 ภาคกลาง
- จังหวัดกาญจนบุรี (อำเภอสังขละบุรี)
- จังหวัดราชบุรี (อำเภอบ้านคา)
1.4 ภาคตะวันตก
- จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ (อำเภอหัวหิน)
- จังหวัดเพชรบุรี (อำเภอหนองหญ้าปล้อง และแก่งกระจาน)
1.5 ภาคตะวันออก
- จังหวัดจันทบุรี (อำเภอขลุง แหลมสิงห์ ท่าใหม่ เมืองจันทบุรี และนายายอาม)
- จังหวัดตราด (อำเภอเกาะกูด คลองใหญ่ เมืองตราด เกาะช้าง แหลมงอบ เขาสมิง)
2. เฝ้าระวังระดับน้ำเพิ่มขึ้นอย่างฉับพลันและระดับน้ำล้นตลิ่ง บริเวณแม่น้ำสายหลักและลำน้ำสาขา ของแม่น้ำแควน้อย แม่น้ำป่าสัก แม่น้ำเจ้าพระยา แม่น้ำชี แม่น้ำมูล แม่น้ำนครนายก แม่น้ำปราจีนบุรี แม่น้ำบางปะกง แม่น้ำระยอง แม่น้ำจันทบุรี และแม่น้ำตราด
3. เฝ้าระวังอ่างเก็บน้ำขนาดใหญ่ ที่มีปริมาตรน้ำสูงกว่าเกณฑ์ปฏิบัติการเก็บกักน้ำสูงสุด (Upper Rule Curve) 13 แห่ง ได้แก่
- อ่างเก็บน้ำแม่งัดสมบูรณ์ชล จังหวัดเชียงใหม่
- อ่างเก็บน้ำกิ่วคอหมา กิ่วลม และแม่มอก จังหวัดลำปาง
- อ่างเก็บน้ำทับเสลา จังหวัดอุทัยธานี
- อ่างเก็บน้ำกระเสียว จังหวัดสุพรรณบุรี
- อ่างเก็บน้ำอุบลรัตน์ จังหวัดขอนแก่น
- อ่างเก็บน้ำลำตะคอง ลำพระเพลิง และมูลบน จังหวัดนครราชสีมา
- อ่างเก็บน้ำคลองสียัด จังหวัดฉะเชิงเทรา
- อ่างเก็บน้ำบางพระ จังหวัดชลบุรี
- อ่างเก็บน้ำหนองปลาไหล จังหวัดระยอง
- รวมทั้งอ่างฯ ขนาดเล็กและขนาดกลางที่มีปริมาตรน้ำมากกว่าร้อยละ 80 และมีแนวโน้มเพิ่มสูงขึ้น เสี่ยงน้ำล้นกระทบพื้นที่ด้านท้ายน้ำทั่วประเทศ
ในการนี้ เพื่อเป็นการเตรียมความพร้อมรับมือ ขอให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องโปรดดำเนินการ ดังนี้
- 1. ติดตามสภาพอากาศและสภาพน้ำอย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะพื้นที่ที่มีฝนตกสะสมมากกว่า 90 มิลลิเมตร ในช่วงเวลา 24 ชั่วโมง และพื้นที่จุดเสี่ยงที่เคยเกิดน้ำท่วมขังอยู่เป็นประจำ
- 2. ติดตาม ตรวจสอบ ซ่อมแซม แนวคันบริเวณริมแม่น้ำ และเร่งกำจัดสิ่งกีดขวางทางน้ำ พร้อมวางแผนการบริหารจัดการน้ำให้เหมาะสม โดยปรับแผนระบายน้ำจากเขื่อนและประตูระบายน้ำ เพื่อพร่องน้ำและบริหารพื้นที่ลุ่มต่ำให้เป็นแก้มลิงหน่วงน้ำ เพื่อลดผลกระทบจากมวลน้ำที่จะไหลหลากมายังบริเวณพื้นที่เสี่ยง
- 3. เตรียมแผนรับสถานการณ์น้ำหลาก เตรียมความพร้อมบุคลากร เครื่องจักรเครื่องมือ รวมถึงความพร้อมของระบบสื่อสารสำรอง เพื่อบูรณาการความพร้อมให้ความช่วยเหลือได้ทันที
- 4. ประชาสัมพันธ์สถานการณ์น้ำ และแจ้งเตือนล่วงหน้า ให้ประชาชนที่คาดว่าจะได้รับผลกระทบ เตรียมพร้อมในการอพยพได้ทันท่วงทีหากเกิดสถานการณ์
ประกาศ ณ วันที่ 14 กันยายน 2565