เปิด 3 ตำนาน พิธีนวราตรี เทศกาลชาวฮินดูที่สืบทอดกันมานาน

19 ก.ย. 2565 | 04:50 น.
อัปเดตล่าสุด :19 ก.ย. 2565 | 12:10 น.

พามาทำความรู้จัก ตำนาน พิธีนวราตรี วัดแขก สีลม เทศกาลที่ชาวฮินดูที่สืบทอดกันมาอย่างยาวนาน ว่ามีเรื่องราวน่าสนใจอย่างไรบ้าง

ฉากฟีเวอร์ในภาพยนต์คังคุไบ “พิธีนวราตรี” ภาพและโทนสี องค์ประกอบต่างๆ สุดอลังการ อีกทั้งในห้วงเวลานี้ งานนวราตรี งานแห่ประเพณี วัดเเขก สีลม 2565 เนื่องใน “วันวิชัยทัสมิ” ประจำปี 2565 เป็นงานประจำปีของ วัดพระศรีมหาอุมาเทวี (วัดแขก สีลม) มีขึ้นทุกปี ในปีนี้ ในช่วง 1-9 ค่ำเดือน 11 ของทุกๆ ปี หรือประมาณ เดือนตุลาคม

เพื่อเป็นการบูชาพระแม่อุมาเทวี ครั้งยิ่งใหญ่ เป็นพิธีที่เก่าแก่สืบเนื่องมาตั้งแต่สมัยพระเวท มีพิธีบูชารวม 10 วัน 10 คืน  โดยในปีนี้ พิธีนวราตรี 2565 จะจัดขึ้นระหว่างที่ ตรงกับวันที่ 25 กันยายน จนถึง 7 ตุลาคมนี้

 

หลายคนน่าจะสงสัยว่ามันคือเทศกาลนี้มีความเกี่ยวข้องกับอะไร และเป็นงานเดียวกันกับนวราตรีในไทยที่จัดที่วัดแขกรึเปล่า 

 

นว (nava) หมายถึง เก้า และ ราตรี (ratri) หมายถึง กลางคืน มีความหมายตามตัวอักษรว่า “เก้าคืน” ซึ่งในช่วง “เก้าคืน” นี้จะมีการบูชาพระแม่ทุรคา (Durga) หรือศักติ (Shakti) ซึ่งหมายถึง พลังหรืออำนาจ ในเก้ารูปแบบ

 

จะจัดขึ้น 2 ครั้งต่อปี ในช่วงต้นฤดูร้อน และต้นฤดูหนาว ตามความเชื่อถือเป็นช่วงเวลาอันศักดิ์สิทธิ์สำหรับการบูชาพระแม่ทุรคา

 

 “นวราตรี” มี  3 ตำนาน 
 

  1. อินเดียตะวันออก และตะวันออกเฉียงใต้ เชื่อว่าพระแม่ทุรคาทรงปราบอสูรร้ายชื่อมหิษาสูร และนำความสงบสุขกลับคืนสู่มวลมนุษย์
  2.  เเถบอินเดียใต้ เชื่อว่าเป็นการเฉลิมฉลองชัยชนะของพระแม่ทุรคาหรือบางทีก็พระแม่กาลี ตามแนวคิดศักติว่า เทวีมาหาตมยัม (Devi Mahatmyam) คือพลังสูงสุดในจักรวาลอันมีรูปเป็นหญิง
  3.  แถบตะวันออก เช่น พิหาร โอริสสา เบงกอลตะวันตก อัสสัม ถือว่า นวราตรีเป็นเทศกาลเดียวกับทุรคาบูชา ใกล้เคียงกับที่ชาวไทยคุ้นเคยที่สุด ตำนานของเทศกาลนี้คือ มหิษาสูรเป็นอสูรดุร้ายที่ได้รับพรจากพระพรหมว่า บุรุษทั้งปวงไม่ว่าจะเป็นเทวดา มนุษย์หรืออสูรก็ไม่อาจสังหารตนได้ ด้วยความกำเริบในอำนาจจึงออกสร้างความวุ่นวายไปทั่ว ในที่สุดปวงเทพก็อัญเชิญพระแม่ทุรคามาปราบ มหิษาสูรจึงต้องถูกสังหารด้วยสตรีเพศที่ตนเองเคยมองข้ามนั่นเอง