Thailand Youth Policy Initiative (TYPI) ร่วมกับ สมาพันธ์นิสิตนักศึกษาแพทย์นานาชาติ สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.) สำนักงานคณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติ ธนาคารกรุงไทย สำนักงานส่งเสริมเศรษฐกิจดิจิทัล สำนักงานประสานการพัฒนานโยบายรองรับสังคมสูงวัย (สป.สว) และกระทรวงพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์
จัดงานเสวนา เวทีงานประกวดนโยบายและพัฒนานวัตกรรมดิจิตอล 2022 ภายใต้หัวข้อ OLDIE BUT HEALTHY เมื่อวันที่17กันยายน 2565 ที่ผ่านมา เพื่อนำไปสู่การต่อยอดพัฒนาระบบรองรับสังคมผู้สูงวัยประเทศไทย ซึ่งจะช่วยให้ผู้สูงอายุมีสุขภาพกายดี สุขภาพจิตดีและใช้ชีวิตได้อย่างมีความสุข ผ่าน 4 มิติ สุขภาพ สังคม สิ่งแวดล้อมละเศรษฐกิจ
ดร.ทวิดา กมลเวชช รองผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร กล่าวว่า มุ่งหวังว่าอยากให้เทคโนโลยีสามารถเข้าถึงสังคมผู้สูงอายุได้ 100% แต่ที่ผ่านมายังไม่สามารถมองภาพไปถึงจุดนั้นได้ยกตัวอย่างการทำงานขณะที่เป็นอาจารย์มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ พบว่าการจัดเก็บข้อมูลด้านภูมิสังคมในพื้นที่ที่มีความเสี่ยงภัยพิบัติของผู้สูงอายุน้อยมาก ทำให้การจัดการระบบดูแลเข้าถึงผู้สูงอายุและผู้ป่วยทุกประเภทเข้าถึงยาก ในขณะที่ดำรงตำแหน่งรองผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร ยิ่งเห็นภาพชัดว่า ยังขาดการทำให้ผู้สูงอายุมีส่วนร่วมในการทำกิจกรรมที่ทำให้เขามีความสุข
“เราจะพบว่าระบบข้อมูลด้านภูมิสังคมในพื้นที่ที่มีความเสี่ยงน้อยมาก แทบจะไม่ทราบว่ามีผู้สูงอายุที่มีลำบากอยู่ตรงไหนบ้าง เงื่อนไขการป่วยก็ไม่มี ความช่วยเหลือที่ส่งไปจึงไม่ตรงเป้าประสงค์ มุ่งหวังให้เทคโนโลยีเข้าถึงผู้สูงอายุ 100%” ดร.ทวิดา กล่าว
คุณรุ่งรุจี ปาลอนันต์กุล Krungthai Digital Health Platform กล่าวว่า การเกิดขึ้นของแอปพลิเคชัน ‘เป๋าตัง’ ทำให้คนพ้นพบว่าผู้สูงอายุเข้าถึงเทคโนโลยีได้มากพอสมควรและเกิดกระบวนการเรียนรู้ผ่านแอปพลิเคชัน ทำให้เกิดการพัฒนาแพลตฟอร์ม กระเป๋าสุขภาพ เพิ่มขึ้นมาเพื่อให้เรื่องสุขภาพเข้าถึงประชาชนได้มากขึ้นอีกโดยเฉพาะสิทธิการใช้บริการระบบสาธารสุขเพื่อให้ผู้สูงอายุมีสุขภาพที่ดีขึ้น
“หลังจากกรุงไทย ได้ทำแอปพลิเคชัน เป๋าตัง ได้ค้นพบว่าจริงๆ แล้วผู้สูงอายุเขาก็เล่นสมาร์ทโฟนได้และสามารถเข้าถึงเทคโนโลยีได้พอสมควรและเกิดการเรียนรู้ เริ่มทำธุรกรรมนได้ จึงเกิดกระเป๋าสุขภาพ ที่เป็นฟังก์ชันเพิ่มขึ้นมา เป็นเรื่องสุขภาพล้วนๆ ซึ่งเราพยายามให้ประชาชนเข้าถึงสิทธิสุขภาพมากขึ้น อย่างการฉีดวัคซีนก็ได้รับการตอบรับมากขึ้น หลังโครงการกระเป๋าสุขภาพเกิดขึ้นก็มองว่าประสบความสำเร็จระดับหนึ่งก็เป็นส่วนช่วยในการดึงผู้สูงวัยเข้าถึงเรื่องสุขภาพได้” คุณรุ่งรุจี กล่าว
นายธวัฒชัย ปาละคะมาน ผู้ได้รับรางวัลชนะเลิศจากโครงการ TYPI 2021 กล่าวว่า ภาคเยาวชนค่อนข้างมีส่วนร่วมในการสร้างระบบรองรับสังคมสูงวัยให้ดีขึ้นได้ หากมองย้อนกลับมาที่กลุ่มเยาวชนขณะนี้ ซึ่งในอนาคตก็จะเป็นสังคมผู้สูงวัยมากขึ้น เราจึงต้องช่วยกันคิดค้นนวัตกรรมที่จะจัดการปัญหาที่เกิดขึ้นรอบตัวทั้งโรคระบาดและปัญหาทางด้านสิ่งแวดล้อมมองจากสิ่งเล็กๆ ในสังคมจนสามารถแก้ปัญหาในวงกว้างของสังคมได้ และทำให้ผู้สูงวัยทุกคนมีสิทธิเข้าถึงเทคโนโลยีได้
“เวลาคิดนวัตกรรม อย่าไปเชื่อว่าเป็นสิ่งประดิษฐ์ล้ำๆ จะช่วยรองรับระบบสังคมผู้สูงอายุได้ไม่เสมอไป นวัตกรรมอาจมีการเชื่อมโยงกันระหว่างสิ่งเล็กๆ ในสังคมทำให้แก้ปัญหาภาพใหญ่ได้ นวัตกรรมที่ดีต้องเป็นไปได้และหยิบจับไปใช้ต่อได้ อย่างแพลตฟอร์มดิจิทัลสาธารณะเพื่อการจัดการมาตรการ PM2.5 แบบชี้เป้าของปีที่แล้ว ก็สามารถเป็นแพลตฟอร์มสะท้อนเสียงประชาชนให้มีส่วนร่วมตรวจสอบและติดตามการจัดการของภาครัฐได้” นายธวัฒชัย กล่าว
ขอเชิญติดตามงานวัน Main Conference การประกาศผลงานจากผู้เข้าร่วมแข่งขัน 15 ทีมสุดท้าย จากโครงการ Thailand Youth Policy Initiative ในวันที่ 1 ต.ค. 2565 สามารถรับชมการถ่ายทอดสดได้ที่ เพจเฟซบุ๊ก Thailand Youth Policy Initiative - TYPI by IFMSA – Thailand www.facebook.com/typi.ifmsa.th