แผ่นดินไหววันนี้ รู้ไว้! รอยแตกร้าวบนอาคารแบบไหนอันตราย?

29 มี.ค. 2568 | 03:09 น.
อัปเดตล่าสุด :29 มี.ค. 2568 | 03:11 น.

แผ่นดินไหว ตรวจสอบรอยแตกร้าวบนอาคาร พบรอยแตกกว้างเกิน 2 มม. ลึกจนเห็นเหล็กเสริม หรือแตกตลอดความหนาของผนัง ให้วิศวกรโครงสร้างเข้าตรวจสอบ เสี่ยงต่อความปลอดภัย

จากเหตุการณ์แผ่นดินไหว ขนาด 8.2 ลึก 10 กิโลเมตร โดยมีจุดศูนย์กลางอยู่ที่ เมืองมันดาเลย์ ประเทศเมียนมา ซึ่งแรงสั่นสะเทือนมาถึงประเทศไทยตั้งแต่ภาคเหนือ ภาคกลาง รวมไปถึงกรุงเทพมหานครที่ห่างจากจุดศูนย์กลางประมาณ  1,100 กิโลเมตร 

โดยเฉพาะกรุงเทพมหานคร ที่มีอาคารสูงจำนวนมาก ซึ่งแรงสั่นสะเทือนดังกล่าว ส่งผลให้อาคารสูงหลายแห่งเกิดรอยร้าว แต่รอยแตกร้าวแบบไหนที่เป็นอันตราย 

 

  • รอยแตกเส้นขน (Hairline Cracks) - ไม่น่ากังวล
  • ลักษณะ: เป็นเส้นบาง ๆ เล็กกว่า 1 มม. บบผิวปูนอาบ สามารถอาบปิดกับ หรือทาสีใหม่ได้

แผ่นดินไหววันนี้ รู้ไว้! รอยแตกร้าวบนอาคารแบบไหนอันตราย?

  • รอยแตกแนวฉาบปูน (Plaster Cracks) - ควรเฝ้าระวัง
  • ลักษณะ: รอยแตกลึกกว่ารอยขนเล็กน้อย แต่อยู่เฉพาะชั้นปูนฉาบ ควรซ่อมแชมด้วยวัสดอุดรอยแตก และสังเกตต่อเนื่อง

แผ่นดินไหววันนี้ รู้ไว้! รอยแตกร้าวบนอาคารแบบไหนอันตราย?

  • รอยแตกร้าวแนวเฉียงบนผนัง (Diagonal Cracks) - อันตรายระดับปานกลาง
  • ลักษณะ: เป็นแนวเฉียง 30-45 องคาบริเวณมุมประตูและหน้าต่างเริ่มอันตราย โครงสร้างอาจมีปิญหา

แผ่นดินไหววันนี้ รู้ไว้! รอยแตกร้าวบนอาคารแบบไหนอันตราย?

  • รอยแตกลึกถึงโครงสร้าง(Structural Cracks) - ต้องรีบแก้ไข
  • ลักษณะ: รอยแตกกว้างเกิน 2 มม. ลึกจนเห็นเหล็กเสริม หรือแตกตลอดความหนาของผนังให้วิศวกรโครงสร้างเข้าตรวจสอบ เสี่ยงต่อความปลอดภัย

แผ่นดินไหววันนี้ รู้ไว้! รอยแตกร้าวบนอาคารแบบไหนอันตราย?

"ถ้าพบรอยร้าวแบบ 3-4 รวมถึง รอยแตกที่เสาหรือคาน(Column/BeamCracks)ควรปรึกษาผู้เชี่ยวชาญเพื่อความปลอดภัย"