นพ. วิรัตน์ ภิญโญพรพานิช แพทย์ผู้ชำนาญเฉพาะทางอายุรศาสตร์โรคข้อและรูมาติสซั่ม โรงพยาบาลเมดพาร์ค (MedPark Hospital) เปิดเผยว่า ปัจจุบัน โรคข้ออักเสบในเด็ก มักถูกมองข้ามและถูกให้ความสำคัญน้อยมากเมื่อเทียบกับโรคอื่น ส่วนใหญ่จะเกิดขึ้นกับเด็กผู้หญิงมากกว่าเด็กผู้ชาย ในสัดส่วนประมาณ 3:1 มีส่วนเกี่ยวข้องกับการติดเชื้อหรือข้อบ่งชี้อื่นที่หาสาเหตุไม่ได้
ขณะเดียวกันก็มีปัจจัยเกี่ยวข้องคือ พันธุกรรม HLA-B27 ซึ่งเพิ่มโอกาสการเกิดโรคมากกว่าคนทั่วไป แต่ในกรณีนี้มักเกิดกับเด็กชายมากกว่าเด็กหญิงในสัดส่วน 2:1
"โรคนี้ไม่มีผลวิจัยมากนัก แต่มีรายงานในประเทศไทยว่า พบผู้ป่วยโรคข้ออักเสบในเด็กอายุน้อยที่สุด 1.5 ปี ขณะที่อายุเฉลี่ยส่วนใหญ่อยู่ในช่วง 5-16 ปี เป็นโรคที่พบได้น้อยเพราะตรวจคัดกรองไม่ได้เหมือนโรคทั่วไป และเด็กเล็กส่วนใหญ่ไม่รู้วิธีแสดงออก ไม่บ่นเรื่องความเจ็บปวด หรืออาจคุ้นเคยความเจ็บจนชิน จำเป็นต้องใช้ผู้ปกครองสังเกตเห็นอาการด้วยตัวเอง
เช่น เดินกะเผลก ขาบวม ยกตัวอย่างโรงพยาบาลเมดพาร์ค จะตรวจพบประมาณ 4-5 ราย/เดือน และไม่ใช่ผู้ป่วยเด็กไทยเท่านั้น ยังมีเด็กมาจากประเทศเพื่อนบ้านอื่นร่วมด้วย"
ปกติอาการโรคข้ออักเสบในเด็ก รอยโรคจะไม่ชัดเจน ขึ้นอยู่กับความรุนแรงและอาการของแต่ละบุคคล โดยระยะเวลาของโรคนับได้ตั้งแต่ 1 สัปดาห์ต่อเนื่องนานนับปี เป็นโรคเรื้อรังที่รักษาได้เพื่อให้โรคสงบ แต่ไม่หายขาด ผู้ปกครองต้องอาศัยความเข้าใจร่วมกับสังเกตพฤติกรรมของเด็ก ดังนี้
เด็กส่วนใหญ่ตอบสนองต่อการรักษาได้ดี 70-80% โดยการรักษาสามารถทำให้โรคสงบและใช้ชีวิตปกติกได้ด้วย 4 วิธีหลัก คือ
1. การกินยา ใช้ในระยะเริ่มต้นของโรค หากตอบสนองการรักษาได้ดีจึงค่อย ๆ ลดยาและหยุดการใช้ยา เพราะหากใช้ยาบางชนิดต่อเนื่องจะส่งผลเสียต่อระบบการทำงานของตับและไต
2. ฉีดยา กรณีที่มีความรุนแรงของโรคจนไม่สามารถรักษาได้ด้วยยา โดยในกลุ่มชีวภาพ อาจต้องฉีดยา 1 เข็มทุกสัปดาห์ ไปจนถึงทุก 6 เดือน ค่าใช้จ่ายค่อนข้างสูงเพราะยาฉีดยังไม่มีผลิตในประเทศไทย ส่วนใหญ่เป็นยานำเข้าจากต่างประเทศ
3. ทำกายภาพบำบัด การรักษานี้จะร่วมกับการใช้ยา
4. การผ่าตัด วิธีนี้ใช้กับคนไข้ที่มีอาการรุนแรง ป่วยนานเรื้อรัง และรักษาด้วยวิธีอื่นไม่หาย เมื่อมีการผิดปกติของข้อ/พิการ
สำหรับการตรวจพบโรคข้ออักเสบในเด็กและเข้ารับการรักษาตั้งแต่แรกเริ่ม จะช่วยให้การรักษาเกิดประสิทธิภาพได้ดีกว่าวัยผู้ใหญ่ และหากผู้ปกครองละเลยเมื่อพบความผิดปกติหรือต้องสงสัยว่าอาจป่วยเป็นโรคข้ออักเสบในเด็ก จะส่งผลต่อร่างกายของเด็ก ดังนี้
นพ.วิรัตน์ กล่าวเพิ่มเติมว่า หากผู้ป่วยไม่ได้รับการรักษา เมื่อผ่านพ้นวัยเจริญพันธุ์หรือผ่านช่วงวัยรุ่นไปแล้วจะเสี่ยงเกิดความพิการ และในผู้ป่วยที่มีอาการรุนแรงอาจเสียชีวิตได้ ส่วนที่รักษาจนโรคสงบแล้วก็มีโอกาสกลับมาเป็นซ้ำด้วยปัจจัยกระตุ้นอื่นๆ อาทิ การติดเชื้อในระบบทางเดินอาหาร จากการกิดอาหารดิบ อาหารทะเล เป็นต้น
เรียกได้ว่าโรคข้ออักเสบในเด็ก เป็นอีกหนึ่งโรคที่ทำให้ประชากรเด็กไทยเสี่ยงเกิดความพิการ แต่คนทั่วไปให้ความสนใจน้อยมากแม้พบได้ไม่มากนัก ขณะเดียวกันการรักษาก็ยังคงราคาสูง ระบบสาธารณสุขไทยในปัจจุบันไม่มีโครงการหรือสิทธิครอบคลุมการรักษาเด็กโดยตรงนอกเหนือจากบัตรทอง ไม่มีระบบประกันสังคม หรือกองทุนเฉพาะ
นอกจากนี้แพทย์ผู้เชี่ยวชาญเกี่ยวกับโรคข้ออักเสบในเด็กของประเทศไทย ทั้งโรงพยาบาลรัฐและโรงพยาบาลเอกชนก็มีอยู่ไม่เกิน 10 คน การตระหนักรู้เกี่ยวกับโรคนี้จึงเป็นสิ่งที่ไม่ควรมองข้าม