ข้อมูลอ้างอิงจากงานวิจัยของคณะจิตวิทยา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย พบว่า การนอกใจในบริบทของประเทศไทย ได้รับการศึกษาและวิเคราะห์จากมุมมองทางจิตวิทยาและสังคมวิทยา มีปัจจัยหลายประการที่ส่งผลต่อพฤติกรรมดังกล่าว โดยมี 3 ปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับการนอกใจ ดังนี้
ปัจจัยภายในบุคคล
- บุคลิกภาพหลงตนเอง (Narcissism): บุคคลที่มีลักษณะหลงตนเองสูง มักมองตนเองในแง่บวกเกินจริง ต้องการคำชมจากผู้อื่น และใช้ความสัมพันธ์เป็นเครื่องมือแสวงหาผลประโยชน์ ซึ่งอาจนำไปสู่พฤติกรรมนอกใจ
- การเปิดรับประสบการณ์ (Openness to Experience): บุคคลที่ชอบสิ่งแปลกใหม่และมีค่านิยมที่เบี่ยงเบนจากบรรทัดฐานของสังคม อาจมีแนวโน้มที่จะนอกใจ
ปัจจัยทางสังคมและประชากร
- เพศ: เพศชายมีแนวโน้มที่จะนอกใจมากกว่าเพศหญิง
- อายุ: คู่สมรสที่มีอายุน้อยมีแนวโน้มที่จะนอกใจมากกว่า
- ประวัติการหย่าร้าง: บุคคลที่เคยหย่าร้างมีแนวโน้มที่จะนอกใจมากกว่าบุคคลที่ไม่เคยมีประวัติหย่าร้าง
- การอยู่ก่อนแต่ง: คู่ที่เคยอยู่ร่วมกันหรือมีเพศสัมพันธ์ก่อนแต่งงานมีแนวโน้มที่จะนอกใจน้อยกว่า
นอกจากนี้ บุคคลที่มีเพศสัมพันธ์บ่อยครั้ง มักมีแนวโน้มมีพฤติกรรมนอกใจมากกว่าปกติ อาจเป็นเพราะบุคคลมีความต้องการทางเพศสูง ไม่ว่าจะกับคู่สมรสของตนหรือไม่ หรือบุคคลต้องการความหลากหลายในความสัมพันธ์ เพื่อเพิ่มความพึงพอใจและสนองความตื่นเต้นเร้าใจ (ผลดังกล่าวแตกต่างจากการวิจัยในต่างประเทศที่ระบุว่าการมีเพศสัมพันธ์มากเป็นวิธีการป้องกันการนอกใจ)