กรณีนายจีรพันธ์ เพชรขาว หรือ หมอปลา มือปราบสัมภเวสี พร้อม น.ส.รภัสรณ์ ฤทธิธนไพบูลย์ หรือ น้ำฟ้า ภรรยา และทีมสื่อมวลชน เข้าตรวจสอบภายในที่พักสงฆ์ดงสว่างธรรม ต.โคกนาโก อ.ป่าติ้ว จ.ยโสธร
หลังมีคนร้องเรียนพร้อมนำคลิปวิดีโอที่ หลวงปู่แสง ญาณวโร อายุ 98 ปี พยายามแตะเนื้อต้องตัวสีกาบนกุฎิมาเผยแพร่ ต่อมาเกิดกระแสวิพากษ์วิจารณ์การกระทำของหมอปลาและภรรยา มีพฤติกรรมไม่เหมาะสม
นางทักษิณา ดีหอม อายุ 52 ปี หลานสาวของหลวงปู่แสง นำเอกสารการเข้ารับการรักษาอาการอาพาธของหลวงปู่แสงที่โรงพยาบาลเอกชน มาแสดงให้ผู้สื่อข่าวดู เพื่อยืนยันว่าหลวงปู่ป่วยเป็นโรคสมองฟ่อ เป็นอัลไซเมอร์จริง และท่านป่วยหลายโรค ทั้งมาเลเลียครั้งที่เคยเข้าป่า และ "ซิฟิลิส" ด้วย
ก่อนหน้านั้น "ฐานเศรษฐกิจ" รวบรวมข้อมูลเกี่ยวกับ "โรคอัลไซเมอร์" หรือภาวะสมองเสื่อมมาให้ได้ทำความเข้าใจกันแล้ว วันนี้ขอพามาดูข้อมูลโรคซิฟิลิสกันบ้าง เพื่อป้องกันการเกิดโรคต่างๆ
ซิฟิลิส คืออะไร
- โรคติดต่อที่เกิดจากการติดเชื้อแบคทีเรียชนิดหนึ่ง ที่สามารถเข้าสู่ร่างกายได้และซิฟิลิสผ่านการมีเพศสัมพันธ์มากที่สุด
- เมื่อได้รับเชื้อสู่ร่างการแล้วจะกระจายไปตามกระแสโลหิต
- ยังอาศัยอยู่ในร่างการของมนุษย์ได้เกือบทุกส่วนในร่างกาย แต่ว่าหากเราตรวจพบเจอตั่งแต่เนิน ๆ ก็สามารถที่จะรักษาได้หาดขาด
- ไม่ใช่แค่การต้องมีเพศสัมพันธ์แล้วจะติดโรคได้เท่านั้น แต่เชื้อยังสามารถแพร่เข้าสู่ร่างกายของมนุษย์ผ่านการสัมผัส แผลติดเชื้อ การจูบ หรือการติดต่อจากแม่สู่ลูก
สาเหตุของโรคซิฟิลิส
- มาจากการติดเชื้อแบคทีเรียที่ชื่อว่า ทริปโปนีมา พัลลิดุม (Treponema Pallidum) และถูกจัดเป็นโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์
- มาจากการใช้เข็มฉีดยารวมกับผู้อื่น การรับเลือดจากผู้อื่น
- เชื้ออาจมีอยู่ตามธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมได้ เช่น เชื้อจากคนที่เป็นโรคแพร่ลงในแหล่งน้ำ ห้องน้ำสาธารณะ สระว่ายน้ำ ฯลฯ จากนั้น เชื้อจะเข้าสู่เยื่อเมือกหรือบาดแผลตามร่างกาย เช่น ช่องปาก เยื่อบุตา ช่องคลอด ท่อปัสสาวะ ทวารหนัก เป็นต้น
- เชื้อยังสามารถอยู่รวมไปถึงหญิงตั้งครรภ์ที่มีเชื้อสามารถส่งผ่านเชื้อไปยังทารกในครรภ์ได้เช่นกัน
อาการโรคซิฟิลิส
อาการของโรคซิฟิลิสมีทั้งหมด 4 ระยะด้วย
โรคซิฟิลิสระยะที่หนึ่ง
- อาการระยะแรกของผู้ติดเชื้อซิฟิลิส โดยผู้ป่วยจะมีแผลเล็กลักษณะแข็ง สีแดง ทางการแพทย์เรียกว่า “แผลริมแข็ง” (Chancre) ขึ้นบริเวณช่องคลอด อวัยวะเพศ ใต้หนังหุ้มปลายองคชาต ทวารหนัก หรือปาก
- ผู้ป่วยบางรายอาจมีแผลเพียงจุดเดียวหรือหลายจุดก็ได้ โดยที่แผลดังกล่าวจะไม่มีอาการเจ็บปวด มักจะแสดงอาการหลังจากได้รับเชื้อซิฟิลิสเข้าสู่ร่างกายประมาณ 10 วัน – 3 เดือน
- หรือในบางรายอาจแสดงอาการเร็วกว่าเพียง 3 สัปดาห์เท่านั้น และหลังจากนั้นอาการต่างๆเหล่านี้จะหายได้เองภายใน 3-6 สัปดาห์ แต่อย่างไรก็ตามเชื้อซิฟิลิสยังคงกระจายตัวอยู่ร่างกายของผู้ป่วย
โรคซิฟิลิสระยะที่สอง
- อาการที่เกิดขึ้นหลังจากแผลริมแข็งหายไปประมาณ 1-3 เดือน ผู้ป่วยจะมีผื่น ตุ่มนูน ลักษณะคล้ายหูด ขึ้นบริเวณลำตัว ฝ่ามือ ฝ่าเท้า และอวัยวะเพศ หรือผู้ป่วยบางรายอาจมีผื่นขึ้นบริเวณอื่นๆตามร่างกาย
- ผื่นนี้จะไม่มีอาการคัน แต่จะมีอาการปวดกล้ามเนื้อ มีไข้ มีอาการเจ็บคอ อ่อนเพลีย ผมร่วง หรือต่อมน้ำเหลืองบวมผิดปกติ อาการเหล่านี้จะหายไปเองหรือกลับมาเป็นซ้ำได้อีกครั้ง
- มีอาการไข้
- เจ็บคอ
- ต่อมน้ำเหลืองโต
- บางคนมีอาการปวดกล้ามเนื้อ
โรคซิฟิลิสระยะแฝง หรือ ระยะสงบ
- ระยะนี้ต่อเนื่องมาจากผู้ป่วยกว่า 30% ที่ไม่ได้รับการรักษาในระยะที่ 2 อย่างถูกต้องและเหมาะสม จนส่งผลให้เกิดเป็นระยะแฝงในที่สุด
- โรคอาจดำเนินเข้าสู่ระยะที่ 3 ได้ง่ายมากขึ้น โดยระยะแฝงนี้จะยังคงมีเชื้อซิฟิลิสอยู่ภายในร่างกายเป็นระยะเวลานานหลายปี โดยจะไม่มีอาการแสดงอย่างชัดเจนแต่อย่างใด
โรคซิฟิลิสระยะที่สาม
- เป็นระยะสุดท้ายของผู้ป่วยโรคซิฟิลิส เกิดจากผู้ป่วยไม่ได้รับการรักษาอย่างถูกต้องและทันท่วงที มีมักจะแสดงอาการหลังจากได้รับเชื้อ 10-20 ปี ทำให้เชื้อลุกลามไปทั่วร่างกายจนส่งผลให้ร่างกายถูกทำลายมากขึ้นเรื่อยๆ
- ระยะนี้จะแสดงอาการอย่างชัดเจน เช่น สมองเสื่อม ตาบอด อัมพาต หูหนวก โรคหัวใจ ไร้สมรรถภาพทางเพศ และอาจเสียชีวิตได้ในที่สุด
การรักษาซิฟิลิส
- รักษาได้ด้วยการใช้ยาปฏิชีวนะในกลุ่มเพนิซิลลิน (Penicillin) เป็นหลัก สำหรับประเทศไทย
- ส่วนใหญ่เป็นการรักษาด้วยยากลุ่มเพนิซิลลิน จี (Penicillin G) ที่แบ่งย่อยได้อีกหลายชนิด เช่น ยาเบนซาธีน เพนิซิลลิน จี (Benzathine Penicillin G) ยาเอเควียส เพนิซิลลิน จี (Aqueous Penicillin G)
- แพทย์จะฉีดให้ผู้ป่วยโดยดูจากระยะเวลาในการป่วยว่าเป็นมานานเท่าใด และใช้ดุลพินิจในการรักษาในแต่ละคน
การป้องกันโรคซิฟิลิส
- หลีกเลี่ยงการมีเพศสัมพันธ์กับผู้ที่มีเชื้อซิฟิลิส
- ควรสวมถุงยางอนามัยเพื่อการป้องกันทุกครั้ง
- ส่วนคู่รักที่วางแผนแต่งงาน ควรตรวจร่างกายโดยละเอียดและตรวจหาเชื้อซิฟิลิสด้วยก่อนการแต่งงานและวางแผนตั้งครรภ์ หากพบว่าติดเชื้อก็จะได้วางแผนรักษาให้หายขาดดีกว่าจะเกิดปัญหาสุขภาพ ด้วยการแพร่กระจายเชื้อให้อีกฝ่ายและส่งผ่านเชื้อให้ทารกในครรภ์ อาจทำให้ทารกพิการและเสียชีวิตในเวลาต่อไป
ซิฟิลิสเป็นเชื้อประเภทไหน เข้าสู่ร่างกายได้อย่างไร?
- ซิฟิลิส เป็นเชื้อแบคทีเรียประเภทหนึ่ง ที่เข้าสู่ร่างกายผ่านทางบาดแผล บนผิวหนัง หรือเยื่อบุต่าง ๆ
มีอะไรกันแค่ภายนอก มีสิทธิติดซิฟิลิสไหม?
- หากมีกิจกรรมภายนอก เช่น การทำรักทางปาก (ออรัลเซ็กส์) หรือใช้ลิ้นเลียบริเวณอวัยวะเพศ แล้วไปสัมผัสกับเชื้อซิฟิลิสโดยตรง บริเวณช่องปาก ลิ้น ช่องคลอด ทวารหนัก ฯลฯ ก็สามารถติดเชื้อซิฟิลิสได้
ถ้าติดซิฟิลิสแล้วจะมีอาการอย่างไร?
- ไม่ใช่ทุกคนที่แสดงอาการของโรคซิฟิลิสทันที ขึ้นอยู่กับสภาพร่างกาย ความแข็งแรงและโอกาสเสี่ยงที่มีบ่อยหรือไม่
- เมื่อคนเราได้รับเชื้อไปแล้ว อาจอยู่ในระยะแฝงตัวได้นานหลายปี ทางที่ดีเมื่อรู้ว่าเสี่ยงให้รีบตรวจและรีบรักษา
ตุ่ม PPE คืออะไร?
ผื่นซิฟิลิส มีลักษณะอย่างไร?
- ก่อนจะเกิดผื่นซิฟิลิสขึ้น จะต้องมีแผลริมแข็งเสียก่อน
- แผลชนิดนี้จะมีขอบนูน แข็ง กดแล้วไม่เจ็บ ไม่ปวดอะไร ส่วนใหญ่จะพบได้มากที่อวัยวะเพศทั้งผู้ชายและผู้หญิง หรือริมฝีปาก
- อาจสังเกตได้จากหลังวันที่มีความเสี่ยงที่ไม่ได้ป้องกันตั้งแต่สัปดาห์กว่าๆ ขึ้นไปจนถึงประมาณ 3 เดือน
- แผลริมแข็งนี้ก็สามารถหายได้เองแม้ไม่ได้รักษาด้วย
- หลังจากนั้นประมาณเดือนครึ่งถึงสอง เดือนอาจมีผื่นขึ้นตามลำตัว มือ เท้า หรือตามร่างกายต่างๆ ร่วมกับมีอาการปวดหัว ตัวร้อน มีไข้ คลื่นไส้อาเจียน ปวดเนื้อเมื่อยตัว
- อาการเหล่านี้ก็สามารถหายไปได้เองภายในระยะเวลา 1-3 เดือน
ติดซิฟิลิสแล้ว ถ้ารักษาจะหายขาดไหม กลับมาเป็นซ้ำได้หรือเปล่า?
- หากรู้ตัวว่ามีความเสี่ยงโรคซิฟิลิส และตรวจเจอตั้งแต่แรก มีโอกาสที่จะรักษาให้หายขาดได้
- แต่หากอยู่ระยะที่เชื้อแฝงตัวนานแล้วก็ต้องให้แพทย์วินิจฉัยและรักษาไปตามระยะของโรคอาจใช้เวลานานกว่าเคสทั่วไป
- ผู้ที่ติดเชื้อซิฟิลิสจะต้องทานยาอย่างเคร่งครัดและไปตามนัดหมอทุกครั้ง เพราะถึงแม้จะหายจากโรคซิฟิลิสแล้ว แต่ยังแนะนำให้ตรวจซ้ำทุกๆ 3 เดือนภายในระยะเวลา 3-5 ปีหลังจากทำการรักษา เพราะอาจจะมีเชื้อแฝงตัวเหลือรอดอยู่ หรือไม่เสี่ยงเพิ่ม
ป้องกันซิฟิลิสโดยมีเพศสัมพันธ์ที่ป้องกันและไม่เปลี่ยนคู่นอนบ่อย
- เป็นซิฟิลิสแล้ว ทำให้เป็นโรคเอดส์ใช่หรือไม่?
- ซิฟิลิสกับเชื้อไวรัสเอชไอวี เป็นคนละโรคกัน แต่หากคุณเป็นโรคซิฟิลิสอยู่แล้วก็เพิ่มโอกาสเสี่ยงต่อการติดเชื้อไวรัสเอชไอวีได้มากกว่าคนปกติถึง 5 เท่า และคนที่ติดเชื้อเอชไอวีหากดูแลตัวเองได้ดี รับประทานยาต้านไวรัสอย่างเคร่งครัด ป้องกันตนเองก็ไม่สามารถติดโรคซิฟิลิสได้
ใครบ้างที่ควรตรวจโรคซิฟิลิส?
- กลุ่มเสี่ยงในคนที่เปลี่ยนคู่นอนบ่อย ไม่ใส่ถุงยางอนามัย ไม่ได้ป้องกันตัวเอง
- กลุ่มคนที่คิดว่าคู่นอนของตัวเองมีความเสี่ยงต่อโรคซิฟิลิส
- กลุ่มคุณพ่อคุณแม่ที่วางแผนจะมีบุตร
ทำอย่างไรถึงจะไม่ติดเชื้อซิฟิลิส?
- ป้องกันตนเองด้วยการใช้ถุงยางอนามัยให้ทุกกิจกรรมทางเพศ
- สังเกตุคู่นอนของตนเองหรือมีเพศสัมพันธ์กับแฟนของตัวเองที่มั่นใจว่าปลอดเชื้อ ไม่ใช้บริการทางเพศหรือเปลี่ยนคู่นอนบ่อย
ข้อมูล : มูลนิธิเพื่อรัก โรงพยาบาลเพชรเวช