สถานการณ์ “ฝีดาษลิงในไทย” หลังผู้ป่วยยืนยันรายแรกที่จังหวัดภูเก็ต เป็นเพศชาย สัญชาติไนจีเรีย อายุ 27 ปี มีประวัติเดินทางมาจากประเทศไนจีเรีย ซึ่งพบว่าเป็นสายพันธุ์แอฟริกาตะวันตก นพ.โอภาส การย์กวินพงศ์ อธิบดีกรมควบคุมโรค ระบุว่า จากการ ปูพรมตรวจ Active case finding พบผู้สัมผัสเสี่ยงสูง 2 ราย เป็นเพื่อนผ็ป่วย ไม่มีอาการป่วย ผลตรวจทางห้องปฎิบัติการ ไม่พบการติดเชื้อฝีดาษลิง อยู่ระหว่างการสังเกตอาการ 21 วัน
จากนั้นมีการค้นผู้ป่วยเพิ่มเติมในจุดเสี่ยง เช่น สถานบันสถานบันเทิง 2 แห่ง ที่ผู้ป่วยไปใช้ พบ 6 รายใกล้เคียง ไข้เจ็บ คอ ส่งตรวจ 4 รายไม่พบการติดเชื้อ กักตัว 21 วัน ทีมสอบสวนโรคนอกจากนี้การค้นหาผู้ป่วยเชิงรุกและให้ความรู้ประชาชน ได้เข้าไปสอบสวนในห้องพักของผู้ป่วยรวมทั้งกำจัดเชื้อ
นพ.โอภาส กล่าวถึงกรณีมีฝีดาษลิงค์ในประเทศไทยมีความจำเป็นในการฉีดวัคซีนป้องกันหรือไม่ ว่า โรคนี้เป็นการรักษาตามอาการ แม้ลักษณะตุ่มดูเหมือนจะน่ากลัวแต่ความรุนแรงของโรคไม่มากนัก เเต่ขณะนี้ยังไม่มียาต้านไวรัสโดยตรง
ซึ่งวัคซีนป้องกันมีผลิตจากหลายบริษัท ขณะนี้กรมควบคุมโรคในการดำเนินการสั่งจองวัคซีนไปเบื้องต้นแล้ว แต่ในอีกวัคซีนหนึ่งก็คือวัคซีนเดิมที่มีก็คือ "วัคซีนโรคฝีดาษ" ทางองค์การเภสัชกรรมมได้มีการเก็บเอาไว้ อยู่ในขั้นตอนที่อาจจะนำมาใช้ได้ เเต่ต้องดูตามข้อบ่งชี้ ดูประสิทธิภาพ ผลข้างเคียง การประเมินสถานการณ์การระบาด
"การระบาดขณะนี้อยู่ในขั้นตอนที่เราเตรียมจัดหาวัคซีนซึ่งส่วนหนึ่งก็อยู่ในประเทศไทยเรียบร้อยแล้วที่องค์การเภสัชกรมม อีกส่วนหนึ่งก็เตรียมจัดหามาเพิ่มเติมเพื่อให้ประชาชน"
นอกจากนี้ยังระบุกรณีการฉีดวัคซีนความจำเป็นจะต้องฉีดวัคซีนโรคนี้หรือไม่ นพ.โอภาส ระบุว่า ขณะนี้ในภาพรวมยังไม่มีความจำเป็นที่จะต้องฉีดวัคซีนให้กับประชาชนในวงกว้าง แต่อาจจะพิจารณาในกลุ่มเฉพาะอาจจะมีความจำเป็นจะต้องฉีดวัคซีน เช่น เจ้าหน้าที่ที่ทำงานในห้อง lab ที่จะต้องสัมผัสกับเชื้อโรคนี้ เจ้าหน้าที่ทางการแพทย์รักษาแพทย์สาธารณสุขที่จะต้องดูแลผู้ป่วยอย่างใกล้ชิดซึ่งไม่ใช่ทั้งหมด เนื่องจากวัคซีนนี้มีผลข้างเคียง คงจะต้องพิจารณาผลดีผลเสียรวมทั้งความจำเป็น