จากกรณี นพ.กฤตไท ธนสมบัติกุล อายุ 28 ปี ได้ออกมาเล่าเรื่องการป่วยเป็น ‘มะเร็งปอด ระยะลุกลาม’ ผ่านเฟซบุ๊ก สู้ดิวะ หลังเพิ่งบรรจุเป็นอาจารย์แพทย์ ได้เพียง 2 เดือน
หมอป่วยมะเร็งปอด ทั้งที่ออกกำลังกายสม่ำเสมอ เล่นกีฬา กินคลีน ไม่สูบบุหรี่ ดื่มน้อยมาก ทำงานไม่เครียด นอนเป็นเวลา ไม่มีเค้าลางมาก่อน
จากกรณีนี้แสดงชัดเจนแม้ไม่สูบบุหรี่ ก็สามารถป่วยเป็นมะเร็งปอดได้
นพ.วีรวุฒิ อิ่มสำราญ รองอธิบดีกรมการแพทย์ กล่าวว่า มะเร็งปอดเป็นมะเร็งที่พบมากที่สุดทั่วโลก สำหรับประเทศไทยโรคมะเร็งปอดถือเป็น 1 ใน 5 ของมะเร็งที่พบบ่อย ซึ่งในจำนวนนี้มีผู้เสียชีวิตประมาณ 14,586 คน หรือคิดเป็น 40 คนต่อวัน
ขณะที่นพ.สกานต์ บุนนาค ผู้อำนวยการสถาบันมะเร็งแห่งชาติ กล่าวว่า ผู้ป่วยที่เป็นมะเร็งปอดระยะแรกมักจะไม่มีอาการ แต่เมื่อโรคดำเนินไปมากขึ้นก็จะมีอาการมะเร็งปอด แต่ก็มักไม่จำเพาะจึงอาจทำให้เกิดการวินิจฉัยที่ล่าช้ามีผลต่อระยะของโรคที่ลุกลามหรือแพร่กระจายไปมาก ส่งผลให้การรักษาได้ผลไม่ดีเท่าที่ควรและมีโอกาสการรักษาหายจากโรคน้อย
ผู้หญิงหรือผู้ชาย เพศไหนเสียงมะเร็งปอดมากกว่ากัน
ปัจจัยเสี่ยงโรคมะเร็งปอด
ปัจจัยเสี่ยงสำคัญของโรคมะเร็งปอด ไม่ใช่แค่การสูบบุหรี่เพียงปัจจัยเดียว แต่คนไม่สูบบุหรี่ ก็มีอาการมะเร็งปอดได้ ซึ่งปัจจัยที่เสี่ยงต่อโรค มีหลายปัจจัย ดังนี้
ศ.นพ.มานพ พิทักษ์ภากร หัวหน้าศูนย์วิจัยเป็นเลิศด้านการแพทย์แม่นยำ คณะแพทยศาสตร์ ศิริราชพยาบาล แสดง ระบุ อยากให้อ่านเรื่องของเพจ “สู้ดิวะ”
เขียนโดยอาจารย์หมอเชียงใหม่วัย 28 ปี นักกีฬา ไม่สูบบุหรี่ เพิ่งทำงานได้ 2 เดือน พบว่าเป็นมะเร็งปอดระยะสุดท้าย กระจายไปที่สมองแล้ว ทุกคนมีเวลาจำกัดมากน้อยต่างกัน ใช้ชีวิตที่มีอยู่ให้คุ้มค่า มีคุณค่ามีความหมาย
เน้นไว้ตรงนี้อีกที PM 2.5 คือสาเหตุสำคัญหนึ่งของมะเร็งปอดในคนไม่สูบบุหรี่ ฤดูนี้เปิดเครื่องฟอกไปรัว ๆ กดให้ต่ำกว่า 10 ยิ่งต่ำกว่า 5 ยิ่งดี อย่าใช้ปอดเราเป็นไส้กรองอากาศ
โดยทีมนักวิจัย UK พบกลไกที่ทำให้ PM2.5 ก่อมะเร็งปอดโดยเฉพาะคนไม่สูบบุหรี่ พบว่าปอดเรามีการกลายพันธุ์ของยีน EGFR & KRAS นิดหน่อยเป็นทุนเดิม พอหายใจเอา PM2.5 เข้าไป กระตุ้นเซลล์มียีนนี้ให้แปลงร่างเป็น cancer stem cell ได้
อ่านรายละเอียดงานวิจัย ESMO2022 คลิ๊ก
สัญญาณเตือนอาการ "มะเร็งปอด"
อาการเหล่านี้แม้ไม่ได้เป็นอาการที่เฉพาะเจาะจงกับมะเร็งปอดอาจพบในโรคอื่นได้ เช่น วัณโรคปอด หากมีอาการสงสัยต้องทำการตรวจวินิจฉัยเพิ่มเติม การวินิจฉัย ทำโดยการถ่ายภาพรังสีปอด (X-ray หรือ CT scan) ร่วมกับการตรวจหาเซลมะเร็ง
เช่นการตรวจจากเสมหะ หรือการตัดชิ้นเนื้อจากปอดมาตรวจ เมื่อพบว่าเป็นมะเร็งปอดแน่นอนแล้วแพทย์จะเป็นผู้ให้ข้อมูลเพื่อให้ผู้ป่วยและญาติร่วมตัดสินใจ โดยพิจารณาจากชนิดของมะเร็ง ระยะโรคและการลุกลาม ความแข็งแรงของผู้ป่วยเป็นหลัก
การรักษามะเร็งปอด
ทั้งนี้การรักษามะเร็งปอด แพทย์จะพิจารณาจากระยะของโรค ตำแหน่งของก้อนมะเร็ง และการกระจายของโรค รวมถึงสุขภาพโดยรวมของผู้ป่วย
ปัจจุบันการคัดกรองมะเร็งปอดในกลุ่มที่มีปัจจัยเสี่ยงที่ดีที่สุดคือการทำเอกซเรย์คอมพิวเตอร์ปอด แต่เนื่องด้วยมีค่าใช้จ่ายที่สูงจึงทำให้ประชาชนส่วนใหญ่เข้าได้ไม่ถึง
ดังนั้นจึงแนะนำให้ผู้มีความเสี่ยงสูงในการเกิดมะเร็งปอดเข้ารับการตรวจคัดกรองโดยการเอกซเรย์ปอดเป็นประจำทุกปี เพื่อเป็นข้อมูลเปรียบเทียบในแต่ละปีว่ามีการเปลี่ยนแปลงที่น่าสงสัยจะเป็นมะเร็งปอดหรือไม่
แต่อย่างไรก็ตามสิ่งที่สำคัญที่สุด คือ ควรหลีกเลี่ยงปัจจัยเสี่ยงที่จะนำไปสู่โรคมะเร็งปอด เช่น งดสูบบุหรี่ ป้องกันตัวจากการสัมผัสแร่ใยหิน หรือ มลภาวะ
หลีกเลี่ยงอาหารไขมันสูง รับประทานผักผลไม้ให้มากขึ้น ออกกำลังกายสม่ำเสมอและพักผ่อนให้เพียงพอเพื่อเพิ่มภูมิคุ้มกันของร่างกาย และ รีบมาพบแพทย์เมื่อมีอาการผิดปกติจึงเป็นสิ่งสำคัญ