ECMO หรือที่หลายคนรู้จักกันว่า ปอดเทียม หรือ หัวใจเทียม ถือเป็นเทคโนโลยีช่วยชีวิตที่สำคัญ ใช้พยุงการทำงานของปอดและหัวใจของผู้ป่วยในภาวะวิกฤต สำหรับผู้ป่วยที่ปอดและหัวใจไม่สามารถแลกเปลี่ยนก๊าซในสภาวะปกติได้อย่างพอเพียง ช่วยเพิ่มอัตราการรอดชีวิตได้ 40-50% โดย ECMO เป็นเทคโนโลยีทางการแพทย์ขั้นสูง มีค่าใช้จ่ายสูง และต้องเป็นการทำงานร่วมกันของสหวิชาชีพที่อาศัยบุคลากรผู้เชี่ยวชาญโดยเฉพาะ โดยโรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ สภากาชาดไทย ได้เริ่มใช้เครื่อง ECMO ครั้งแรกในหออภิบาลผู้ป่วยวิกฤตหลังการผ่าตัดหัวใจและทรวงอก (CVT ICU) ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2546
ECMO คือเครื่องมืออะไร
ศ.นพ.รุจิภัตต์ สำราญสำรวจกิจ หัวหน้าสาขาวิชาเวชบำบัดวิกฤต ภาควิชากุมารเวชศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ได้อธิบายถึงการทำงานของเครื่องดังกล่าวว่า ECMO (Extracorporeal Membrane Oxygenation) เป็นเครื่องมือที่ใช้ สำหรับผู้ป่วยที่ปอดและหัวใจไม่สามารถแลกเปลี่ยนก๊าซในสภาวะปกติได้อย่างพอเพียง โดยจะไปเพิ่มระดับออกซิเจน และลดระดับคาร์บอนไดออกไซด์ในกระแสเลือดจากภายนอกร่างกาย
จากสถิติ ใน ELSO registry พบว่าอัตราการรอดชีวิตจากการใช้เครื่อง ECMO กับเด็กแรกเกิดอยู่ที่ 70% ส่วนในเด็กและผู้ใหญ่จะมีอัตราการรอดชีวิตใกล้เคียงกัน คือ 40-50% แต่หากเปรียบเทียบกับผู้ป่วยที่ไม่ได้รับการช่วยชีวิตด้วยเครื่อง ECMO พบว่าผู้ป่วยจะมีอัตราการเสียชีวิตมากถึง 90%
ECMO ใช้กับผู้ป่วยแบบใด
ECMO ทำงานอย่างไร มี 3 ระบบ
ECMO ไม่สามารถใช้ได้กับผู้ป่วยกลุ่มใด
ECMO กับผลข้างเคียง
ซึ่งแพทย์และพยาบาล ต้องเฝ้าระวังและดูแลผู้ป่วย อย่างใกล้ชิด ตลอดเวลา 24 ชั่วโมง