“โรคหัวใจ” คือโรคยอดฮิตอันดับต้นๆ ที่คร่าชีวิตคนทั่วโลก ซึ่งจากสถิติขององค์การอนามัยโลก หรือ WHO ระบุว่า โรคหัวใจและหลอดเลือดเป็นสาเหตุการเสียชีวิตอันดับ 1 ของโลก หรือคิดเป็น 31% ของการเสียชีวิตทั้งหมด
ส่วนสถิติของไทย กระทรวงสาธารณสุขระบุ เฉลี่ยใน 1 ชม. คนไทยเสียชีวิตด้วยโรคหัวใจ 7 คน และมีแนวโน้มที่จะเพิ่มมากขึ้นอีก
‘หัวใจ’ เป็นเรื่องภายในที่ต้องได้รับการใส่ใจดูแลอย่างสม่ำเสมอ เพื่อเป็นการสนับสนุนให้หัวใจสามารถทำหน้าที่ได้อย่างมีประสิทธิภาพ และนำไปสู่การมีคุณภาพชีวิตที่ดี เราจึงต้องหมั่นตรวจสุขภาพหัวใจอยู่เป็นประจำ
ถึงแม้โรคหัวใจจะครองสถิติการเสียชีวิตเป็นอันดับต้น ๆ ของประเทศไทยและของโลก แต่ถ้าได้รับการดูแลเป็นอย่างดี โรคหัวใจก็สามารถป้องกันและรักษาได้ บทความโดย พญ.ณหทัย ฉัตรสิงห์ อายุรแพทย์โรคหัวใจ ศูนย์โรคหัวใจและทรวงอก โรงพยาบาลนวเวช นำข้อมูลรายละเอียดเกี่ยวกับเรื่อง ‘หัวใจ’ มาอธิบายให้เข้าใจง่าย โดยเน้นไปที่ความสำคัญของการตรวจสุขภาพหัวใจ รูปแบบการตรวจ รวมไปถึงแนวทางในการป้องกันและดูแลเพื่อลดปัจจัยเสี่ยงในการเกิดโรคหัวใจ
หลักการคือ ถ้าเส้นเลือดหัวใจเริ่มมีความเสื่อมจะเกิดการอักเสบและเกิดลักษณะคล้ายแผลเป็นที่เรียกว่า ‘แคลเซียม’ ดังนั้น ถ้ายังไม่พบแคลเซียมในเส้นเลือดหัวใจโอกาสเสียชีวิตจากโรคหัวใจน้อยกว่า 1% ใน 10 ปี ซึ่งถือว่าต่ำมาก ดังนั้น การตรวจเอกซเรย์คอมพิวเตอร์จะใช้ตรวจในคนที่มีความเสี่ยงกับการเกิดโรคหัวใจที่ต้องการดูว่าจำเป็นที่ต้องรักษา หรือป้องกันการเกิดโรคเส้นเลือดหัวใจ
‘โรคหัวใจ’ เป็นโรคที่สามารถป้องกันและรักษาได้ โดยการป้องกันการเกิดโรคหัวใจต้องเริ่มจากการดูแลสุขภาพ ตั้งแต่การเลือกรับประทานอาหารที่มีประโยชน์ การพักผ่อนให้เพียงพอ การออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ ลดการสูบบุหรี่ และพยายามควบคุมโรคที่เป็นปัจจัยเสี่ยงของโรคหัวใจ เช่น โรคเบาหวาน โรคความดันโลหิต และไขมันในเลือดสูง ซึ่งโรคหัวใจรักษาได้ ถ้ามาตรวจคัดกรองสุขภาพหัวใจก่อนที่จะมีอาการรุนแรง และสามารถช่วยดูแลหัวใจให้แข็งแรงไปนาน ๆ