สถานการณ์ฝุ่นละอองขนาดเล็ก (PM 2.5) กำลังเป็นปัญหาน่าห่วงกระทบต่อสุขภาพสำหรับประเทศไทย หลังจากนายกรัฐมนตรี สั่งการด่วนให้รับมือ พร้อมประเมินสถานการณ์ใกล้ชิด และยกระดับมาตรการการดำเนินงานตามแผนปฏิบัติการขับเคลื่อนวาระแห่งชาติ “การแก้ไขปัญหามลพิษด้านฝุ่นละออง” และแผนอื่นที่เกี่ยวข้อง
ล่าสุด นายอรรถพล สังขวาสี ปลัดกระทรวงศึกษาธิการ ได้ลงนามประกาศ กระทรวงศึกษาธิการ ลงวันที่ 18 มกราคม 2566 เรื่อง มาตรการป้องกันแก้ไขปัญหา PM 2.5
ส่วนกลาง : ได้ตั้งศูนย์ประสานงานเพื่อเฝ้าระวังและติดตามสถานการณ์ที่กองส่งเสริมและพัฒนาการบริหารการศึกษาในภูมิภาค สำนักงานปลัดกระทรวงศึกษาธิการ
ส่วนภูมิภาค : ได้มอบหมายให้ศูนย์อำนวยการช่วยเหลือสถานศึกษาประสบภัยพิบัติกระทรวงศึกษาการจังหวัดทุกจังหวัด ซึ่งตั้งอยู่ที่สำนักงานศึกษาธิการจังหวัด ทำหน้าที่เป็นศูนย์ประสานงานเพื่อฝ้าระวังและติดตามสถานการณ์ พร้อมทั้งกำหนดมาตรการ เพื่อให้หน่วยงานและสถานศึกษาใช้เป็นแนวทางการปฏิบัติ ทั้งมาตรการเร่งด่วน และมาตรการระยะยาว
พิจารณาเปิด - ปิดสถานศึกษา
กระทรวงศึกษาธิการ ตั้งศูนย์ประสานงานเฝ้าระวังและติดตามสถานการณ์ปัญหาฝุ่นละอองขนาดเล็ก PM 2.5 ทั้งส่วนกลางและส่วนภูมิภาค และแจ้งเตือนไปยังหน่วยงานและสถานศึกษาในจังหวัด เพื่อเตรียมความพร้อม และดำเนินการตามมาตรการที่กำหนด
หน่วยงานที่กำกับดูแลสถานศึกษาทั้งของรัฐและเอกชน และสถานศึกษา ติดตามสถานการณ์ และตรวจสอบคุณภาพอากาศประเทศไทยทางเว็บไซต์ air4thai หรือแอปพลิเคชัน Air4thai ของกรมควบคุมมลพิษ เป็นประจำทุกวัน หากพบว่าคุณภาพอากาศอยู่ในเกณฑ์มีผลกระทบต่อสุขภาพ ให้พิจารณาเปิด - ปิดสถานศึกษา ต่อไป
ตามระเบียบกระทรวงศึกษาธิการว่าด้วยปีการศึกษา การเปิดและปิดสถานศึกษา พ.ศ. 2549 และระเบียบกระทรวงศึกษาธิการว่าด้วยปีการศึกษา การเปิดและปิดสถานศึกษา (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2558
กำหนดแผนรับมือ PM 2.5
หน่วยงานและสถานศึกษา เตรียมความพร้อมในการป้องกันผลกระทบต่อสุขภาพจากฝุ่นละออง ขนาดเล็ก PM 2.5 โดยหน่วยงานและสถานศึกษาที่ตั้งอยู่ในพื้นที่คุณภาพอากาศอยู่ในเกณฑ์ แยกเป็นกลุ่มสีต่าง ๆ ดังนี้
1. พื้นที่โซน สีฟ้า
2.พื้นที่โซน สีเขียว
3.พื้นที่โซน สีเหลือง
4.พื้นที่โซน สีส้ม
5.พื้นที่โซน สีแดง