ศ.นพ.ธีระวัฒน์ เหมะจุฑา (หมอธีระวัฒน์) ผู้อำนวยการศูนย์วิทยาศาสตร์สุขภาพโรคอุบัติใหม่คณะแพทยศาสตร์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยโพสเฟซบุ๊กส่วนตัว (ธีระวัฒน์เหมะจุฑา Thiravat Hemachudha) โดยมีข้อความระบุถึงอันตรายจากความร้อนที่ผ่านไปถึงผนังลำไส้ ว่า
ความร้อนไม่ได้ทำอันตรายจากร้อนอย่างเดียว ที่ทำให้เกิด "ฮีทสโตรก"
หมอธีระวัฒน์ บอกว่า ทั้งร้อน และ/หรือ การออกแรง (exertion) ท่ามกลางความร้อนมีผลดังต่อไปนี้
ทั้งนี้ กลไก sepsis นี้ สามารถเกิดได้ โดยที่อุณหภูมิแกนในร่างกาย (core temperature) ที่วัดจากทางทวารหนัก ยังอยู่ ที่ 42 องศา (ดัชนีความร้อน)
และเมื่อเกิน 42 องศาไปแล้ว
จะเป็นผลจากความร้อนได้โดยตรงที่ไปหลอกเธอร์โมสแตทในสมอง ทำให้ปรับอุณหภูมิในร่างกายให้สูงขึ้นโดยอัตโนมัติโดยคิดว่าเป็นระดับปกติ
หมอธีระวัฒน์ บอกว่า จากภาวะดังกล่าวทำให้ระบบการระบายความร้อนไม่ทำงาน ไม่หิวน้ำ เหงื่อไม่ออก ส่งผลให้เครื่องในสุก
อย่างไรก็ดี หมอธีระวัฒน์ แนะนำให้คอยดู สี ฉี่ กันดีๆ เราต้องการให้ สีอ่อนที่สุด ดื่มน้ำตลอดแม้ไม่หิว ท่ามกลางดัชนีความร้อนสูงเช่นนี้