ติ่งเนื้อผิวหนัง หรือ ติ่งเนื้อ (Acrochordon หรือ Skin tag) คือ ก้อนเนื้อเล็กๆ นิ่มๆ ที่เกิดขึ้นบริเวณผิวหนัง มีสีและขนาดที่แตกต่างกัน มักจะเกิดเมื่อมีอายุมากขึ้นตั้งแต่ 30-60 ปีขึ้นไป เป็นได้ทั้งในเพศชายและหญิง โดยสามารถพบได้ตามข้อพับ ใบหน้า ตามลำตัว หรือบริเวณผิวหนังที่ย่นทับกัน เช่น คอ รักแร้ เปลือกตา มีขนาดเล็กไปจนถึงขนาดใหญ่
ติ่งเนื้อ เป็นเนื้องอกชนิดหนึ่งที่ไม่ใช่มะเร็ง ส่วนใหญ่ไม่มีอันตรายใดๆ ปัจจัยเสี่ยงอย่างหนึ่งที่ทำให้เป็นติ่งเนื้อได้มากขึ้น คืออายุ และน้ำหนักตัว ที่เพิ่มขึ้น และพบได้บ่อยประมาณครึ่งหนึ่งของประชากรทั่วไป
ลักษณะและอาการของติ่งเนื้อ
ติ่งเนื้อที่เพิ่งขึ้นบนผิวหนัง จะเป็นก้อนเนื้อนุ่มมีขนาดเล็กนูนขึ้น และยื่นออกมาเป็นติ่ง และจะค่อย ๆ กลายเป็นสีเดียวกับผิวหนัง โดยไม่ก่อให้เกิดอาการเจ็บปวดใด ๆ แต่อาจรู้สึกระคายเคืองบ้างหากเสียดสีกับเสื้อผ้า หรือถ้าก้านที่ยึดติ่งเนื้อถูกบิด อาจเกิดลิ่มเลือดภายในติ่งเนื้อและรู้สึกเจ็บได้
โดยปกติแล้ว ติ่งเนื้อไม่เป็นอันตราย และไม่แปรเปลี่ยนไปเป็นมะเร็ง อย่างไรก็ตาม หากรู้สึกว่าติ่งเนื้อมีขนาดใหญ่เกินไป หรือโตเร็วผิดปกติ ควรพบแพทย์เพื่อตรวจดูว่าเป็นติ่งเนื้อธรรมดา หรือเป็น “เนื้องอกที่เป็นอันตราย” โดยหากติ่งเนื้อมีขนาดใหญ่เกินไป แพทย์อาจจะทำการตัดติ่งเนื้อออกเพื่อลดความเสี่ยง เนื่องจากยิ่งมีขนาดใหญ่มากเท่าไหร่ ก็จะเสียดสีเวลาใส่เสื้อผ้าทำให้รู้สึกเจ็บจนอาจเกิดแผลขึ้นได้
ติ่งเนื้อที่พบได้บ่อยในวัยผู้ใหญ่ มักเกิดขึ้นตามลำคอ แม้จะเกิดขึ้นตามธรรมชาติ และส่วนใหญ่มักไม่เป็นอันตรายต่อสุขภาพ แต่บางคนอาจรู้สึกว่าติ่งเนื้อที่คอทำให้ผิวหนังดูไม่เรียบเนียนสวยงาม และเกิดความไม่มั่นใจตามมา
ความแตกต่างจากไฝ (mole) และหูด (wart)
ติ่งเนื้อจะนูนขึ้นมาจากผิวหนังและเมื่อสัมผัสจะรู้สึกนุ่ม ต่างจากไฝที่มักเป็นทรงแบน และต่างจากหูดที่มักแข็งหรือขรุขระ แม้ว่าโดยปกติติ่งเนื้อจะไม่มีอาการใด ๆ แต่การเสียดสีกับผิวหนัง เสื้อผ้า หรือเครื่องประดับ ก็อาจทำให้เกิดอาการระคายเคืองหรือเกิดเลือดออกได้
สาเหตุการเกิดติ่งเนื้อ
ติ่งเนื้อ เกิดจากการที่ร่างกายผลิตเซลล์พิเศษขึ้นในผิวหนังชั้นบนสุด กลไกการเกิดโรคติ่งเนื้อผิวหนัง ยังไม่เป็นที่ทราบชัดเจน แต่มักพบติ่งเนื้อเกิดในบริเวณที่ผิวหนังมีการเสียดสีต่อเนื่องกับผิวหนังด้วยกัน (เช่น ผิวหนังส่วนที่มีรอยย่นต่างๆ) หรือกับเสื้อ ผ้า เครื่องประดับ (เช่น ที่ลำคอ)
นอกจากนี้ การศึกษาทางสถิติยังพบว่า โรคติ่งเนื้อผิวหนัง มีความสัมพันธ์กับ...
การกำจัดติ่งเนื้อไม่ยาก สามารถทำได้เอง
มีวิธีพื้นบ้านที่สามารถกำจัดติ่งเนื้อได้ ด้วยวิธีต่างๆ ดังนี้
อย่างไรก็ตาม หากรักษาติ่งเนื้อด้วยตัวเองไม่ได้ผล คุณอาจลองปรึกษาแพทย์ผิวหนังเพื่อกำจัดติ่งเนื้อออกด้วยวิธีอื่น ๆ ไม่ว่าจะเป็นการใช้ยาทาเฉพาะที่สำหรับรักษาติ่งเนื้อ เช่น ยาอิมิควิโมด (Imiquimod) ยาฟลูออโรยูราซิล (Fluorouracil) หรือ รักษาด้วยการทำหัตการ ดังนี้
ถ้าเจอติ่งเนื้อแบบนี้ อย่าวางใจ ควรพบแพทย์
ติ่งเนื้อเป็นภาวะที่อาจเลี่ยงได้ โดยควบคุมน้ำหนักตัวไม่ให้มากเกินไปจนประสบภาวะอ้วนอันเป็นปัจจัยเสี่ยงของติ่งเนื้อ
แม้ติ่งเนื้อส่วนใหญ่จะไม่เป็นอันตราย แต่ก็ควรสังเกตดูว่าก้อนนูนที่ขึ้นตามผิวหนังนั้นเป็นติ่งเนื้อ หูด หรือเนื้อร้ายอื่น ๆ ที่ต้องเข้ารับการรักษา หากพบลักษณะก้อนเนื้อที่นูนขึ้นมามีลักษณะต่อไปนี้ ควรพบแพทย์เพื่อเข้ารับการรักษาทันที
สำคัญอย่างยิ่งและไม่ควรทำ คือ...
ไม่ควรใช้ของมีคมในการตัด ดึง หรือบีบติ่งเนื้อที่เกิดตามผิวหนังด้วยตัวเอง รวมถึงการใช้ผลิตภัณฑ์ที่อ้างว่ามีคุณสมบัติในการจำกัดติ่งเนื้อที่คอได้ เนื่องจากผลิตภัณฑ์เหล่านี้มักไม่ได้รับการยอมรับทางการแพทย์ และสามารถทำให้เกิดอาการบาดเจ็บ หรืออาจนำไปสู่การเกิดปัญหาผิวหนังที่รุนแรงตามมาได้
ขอบคุณข้อมูลจาก พบแพทย์ดอตคอม / หาหมอดอตคอม