บัตรประชาชนใบเดียวรักษาทุกที่ เป็นหนึ่งในนโยบาย Quick Win 100 วันของรัฐบาล โดยผลการประชุมบอร์ดพัฒนาสุขภาพแห่งชาติ ที่มีนายเศรษฐา ทวีสิน นายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง ในฐานะประธานการประชุมฯ นางสาวแพทองธาร ชินวัตร รองประธานคณะกรรมการฯ นพ.ชลน่าน ศรีแก้ว รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข นพ.โอภาส การย์กวินพงศ์ ปลัดกระทรวงสาธารณสุขและนพ.สุรพงษ์ สืบวงศ์ลี ในฐานะเลขาฯคณะกรรมการฯ รวมถึงกรรมการจากภาคส่วนต่าง ๆ ได้มีมติเห็นชอบแล้ว
ความคืบหน้าล่าสุดการให้บริการ "บัตรประชาชนใบเดียวรักษาทุกที่" นพ.ชลน่าน รมว.สาธารณสุข กล่าวมั่นใจว่า ระบบต่าง ๆ ที่เตรียมไว้จะมีความเสถียรและสามารถเชื่อมโยงข้อมูลต่าง ๆ พร้อมใช้ได้ทั่วประเทศภายใน 1 ปี
ระยะที่ 1 เริ่ม 8 มกราคม 2567 ใน 4 จังหวัดนำร่อง
ระยะที่ 2 เริ่ม มีนาคม 2567 ใน 8 จังหวัด
ตั้งเป้าระบบจะเชื่อมโยงทั้งหมดให้ประชาชนสามารถรักษาได้ทุกเครือข่ายทั้ง รพ.รัฐ และรพ.เอกชน
ระยะที่ 3 เริ่มเมษายน 2567 ใน 4 เขตสุขภาพ รวม 27 จังหวัด
เขตสุขภาพที่ 1 ครอบคลุม 8 จังหวัด
เขตสุขภาพที่ 4 ครอบคลุม 8 จังหวัด
เขตสุขภาพที่ 9 ครอบคลุม 4 จังหวัด
เขตสุขภาพที่ 12 ครอบคลุม 7 จังหวัด
การให้บริการ
ประชาชนทั่วไป
หญิงตั้งครรภ์
กรณีประสงค์จะไปรับยาที่ร้านยา หรือไปเจาะเลือดก็จะมีใบสั่งยา หรือแล็บแบบอิเล็กทรอนิกส์ ที่เชื่อมโยงไปยังร้านยา และแล็บแบบอัตโนมัติ ระบบสามารถเชื่อมโยงไปถึงการเจาะเลือดใกล้บ้าน และการดูแลผู้ป่วยที่บ้าน สำหรับผู้ป่วยระยะสุดท้าย หรือผู้ป่วยที่ไม่จำเป็นต้องนอนโรงพยาบาล
ทั้งนี้ สำหรับข้อมูลสุขภาพนั้นกรณีของข้อมูลที่เป็นประวัติส่วนบุคคลในการรักษาจะมีระบบป้องกันขั้นสูง ต้องมีรหัส OTP ของผู้ป่วยก่อนที่แพทย์จะส่งข้อมูลไปได้ เพื่อเป็นการป้องกันความปลอดภัยข้อมูลส่วนบุคคล
สำหรับโรงพยาบาล ร้านยา คลินิก รพ.สต. จะมีระบบการแพทย์ทางไกลที่เชื่อมต่อประวัติสุขภาพผ่านโทรศัพท์ของประชาชน มีระบบนัดหมายออนไลน์ แจ้งเตือนการมารับบริการ การส่งยาทางไปรษณีย์ หรืออื่นๆ พร้อมการเบิกจ่ายผ่านระบบกลาง
นอกจากนี้ สธ.ตั้งเป้าจะเพิ่มระบบจ่ายเงินทางออนไลน์ซึ่งเมื่อประชาชนไปรับบริการเสร็จแล้ว ไม่ต้องไปรอที่เคาท์เตอร์จ่ายค่าบริการ แต่สามารถกดจ่ายผ่านโทรศัพท์ได้เลย รวมถึงที่ตู้คีย์ออสกรณีที่ไม่มีสมาร์ทโฟน นอกจากนี้การส่งผู้ป่วยไม่จำเป็นต้องใช้ใบส่งตัวอีกต่อไป