นายแพทย์พงษ์พัฒน์ ปธานวนิช กรรมการผู้จัดการ โรงพยาบาลเมดพาร์ค (MedPark) กล่าวในการเสวนาหัวข้อ “ความยั่งยืนกับโอกาสทางธุรกิจ” ในงาน POSTTODAY x TDRI ECONOMIC DRIVES 2024 ว่าโรงพยาบาลหลีกเลี่ยงเรื่องของเสียไม่ได้ เพราะว่าเราต้องดูแลผู้ป่วยแต่สามารถแบ่งของเสียเป็นติดเชื้อกับไม่ติดเชื้อ โดยเฉพาะของเสียที่ติดเชื้อในช่วงสถานการณ์โควิด-19 ทำให้เกิดของเสียในจำนวนที่มากขึ้น แต่ก็เพื่อความปลอดภัยของทุกคนไม่ให้เชื้อแพร่กระจาย
ซึ่งการจัดการของเสียเป็นเรื่องที่ลำบากมาก และต้องขออธิบายก่อนว่าการเกิดของเสียในโรงพยาบาลเป็นเรื่องปกติแต่จะทำอย่างไรให้ของเสียเกิดขึ้นมาน้อยที่สุด จากประสบการณ์มากกว่า 30 ปีทำให้เห็นถึงจุดบกพร่อง อาทิ โครงสร้างของโรงพยาบาล ระบบแอร์ และระบบจัดการของเสีย ดังนั้นเราจึงสร้างโรงพยาบาลขึ้นมาใหม่อย่าง “โรงพยาบาลเมดพาร์ค” มีแนวคิดที่ว่า “จะทำอย่างไรให้ผู้ป่วยที่มารักษาในโรงพยาบาลลดเวลาพักฟื้นให้สั้นที่สุด”
โรงพยาบาลเมดพาร์ดก่อตั้งขึ้นโดยมีเป้าหมายที่จะเป็นศูนย์กลางทางการแพทย์ สำหรับโรคยากซับซ้อน ในภูมิภาคเอเชีย โรงพยาบาลมีความตั้งใจที่จะออกแบบและก่อสร้างอาคารที่มีความกลมกลืน เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม ลดการใช้พลังงานและทรัพยากรทางธรรมชาติได้เป็นอย่างดี อีกทั้งที่เลือกจังหวัดกรุงเทพฯในการก่อตั้งเพราะเป็นศูนย์รวมของโรงพยาบาลชั้นนำและบุคลากรที่มีศักยภาพ รวมถึงเครื่องมือที่มีประสิทธิ
ลดการรักษาพยาบาลทำได้อย่างไร ในอดีตระบบสาธารณสุขไทยมีช่องโหว่หลายประการ ประชาชนต้องเผชิญปัญหาการรอคอยอันยาวนาน ตัวอย่างที่ชัดเจนคือการตรวจทางห้องปฏิบัติการ (แล็บ) บางรายการต้องรอผลนานถึง 7-14 วัน ส่งผลเสียต่อผู้ป่วยหลายประการ ดังนี้
โดยงานวิจัยจากโรงพยาบาลรามาธิบดี ยืนยันถึงปัญหาการรอคอยของผู้ป่วย ชี้ให้เห็นว่าผู้ป่วยมักไม่มาโรงพยาบาลเพียงลำพัง มักมีญาติหรือคนอื่นมาเป็นเพื่อนด้วย ส่งผลให้ค่าใช้จ่ายในการรอคอยเพิ่มทวีคูณ จะเห็นได้ว่าระบบสาธารณสุขไทยในอดีตมีช่องโหว่ที่สร้างความยากลำบากให้กับประชาชน การรอคอยผลตรวจเป็นปัญหาใหญ่ที่ส่งผลต่อทั้งเวลา เงินทอง และความสะดวกสบาย
อีกทั้งโรงพยาบาลหลายแห่งเผชิญปัญหามลพิษทางอากาศและความชื้นสูง ส่งผลให้เกิดเชื้อรา ซึ่งส่งผลเสียต่อทั้งผู้ป่วย บุคลากรทางการแพทย์ และโครงสร้างอาคาร โดยโรงพยาบาลเมดพาร์คออกแบบมาเพื่อแก้ปัญหานี้โดยเฉพาะ ซึ่งโรงพยาบาลนี้จะมีดึงอากาศจากภายนอกผ่านระบบกรองและลดความชื้น หรือควบคุมความดันอากาศภายในอาคารให้เป็น Positive Pressure (สภาวะที่ความดันภายในห้องมากกว่าความดันภายนอกห้อง) และป้องกันการปนเปื้อนของอากาศจากภายนอก
รวมถึงติดตั้งระบบวัดค่า PM 2.5 ภายในอาคาร แสดงค่าเปรียบเทียบกับค่า PM 2.5 ภายนอกอาคาร บนหน้าจอแสดงผลหน้าโรงพยาบาล การติดตั้งระบบวัดค่า PM 2.5 นี้ จำเป็นต้องฝังตัวเซ็นเซอร์เข้าไปในผนังอาคาร ซึ่งไม่สามารถทำได้กับอาคารที่มีอยู่แล้ว ดังนั้นเราจึงสร้างโรงพยาบาลขึ้นมาใหม่เพื่อลดเวลาพักฟื้นของผู้ป่วยโรคซับซ้อนให้มีความปลอดภัยมากยิ่งขึ้น