นายแพทย์พิจักษณ์ วงศ์วิศิษฎ์ ผู้อำนวยการ W9 Wellness Center เครือโรงพยาบาลพระรามเก้า เปิดเผยว่า ข้อมูลจากสำนักงานสถิติแห่งชาติสหรัฐฯ เปิดเผยว่าปี 2566 ที่ผ่านมา ทั่วโลกมีอัตราประชากรเกิดใหม่เพิ่มขึ้นเพียง 75 ล้านคน ซึ่งถือว่าอยู่ในระดับต่ำ เช่นเดียวกับประเทศไทย ปีที่ผ่านมามีอัตราเด็กเกิดใหม่เพียง 5 แสนคน ด้วยภาวะด้านความพร้อมทั้งทางด้านสุขภาพ สังคม เศรษฐกิจ และปัจจัยอื่น ๆ
ทั้งนี้เพื่อเดินหน้าร่วมส่งเสริม “วาระแห่งชาติ” สนับสนุนคนไทยวางแผนการมีบุตรอย่างมีคุณภาพ พร้อมร่วมผลักดันเวชศาสตร์การเจริญพันธุ์ของไทย สู่การเป็นหนึ่งด้านศูนย์กลางการแพทย์ในเอเชีย เพื่อดึงดูดผู้ป่วยชาวต่างชาติและนักท่องเที่ยวเชิงการแพทย์ W9 Wellness Center มุ่งพัฒนาโปรแกรม Fertility Wellness สนับสนุนให้ทุกคนวางแผนมีบุตรเชิงเวลเนส ผ่านกระบวนการปรับสมดุลสุขภาพ ผสานเทคโนโลยีช่วยการเจริญพันธุ์อย่างมีคุณภาพอย่างเป็นธรรมชาติ
จากประสบการณ์ในการดูแลผู้ป่วยทั้งคนไทยและชาวต่างชาติเกี่ยวกับการวางแผนมีบุตรผ่านบริการโปรแกรม Fertility Wellness กว่า 5 ปีที่ผ่านมา พบว่าผู้บริโภคยุคใหม่ โดยเฉพาะกลุ่มช่วงอายุ 25-45 ปี ต้องการตั้งครรภ์ไปพร้อมกับการดูแลสุขภาพร่างกายตัวเองให้มีความสมดุลตั้งแต่ระหว่างตั้งครรภ์ และหลังคลอด ตลอดจนดูแลสุขภาพลูกน้อยอย่างปลอดภัยและมีคุณภาพ
ส่งผลให้มีผู้มาใช้บริการโปรแกรมดังกล่าวเพิ่มมากขึ้น ซึ่งสอดคล้องกับความต้องการของตลาดท่องเที่ยวสำหรับผู้มีบุตรยากที่มีทิศทางเติบโตอย่างต่อเนื่อง รวมทั้งการประมาณการค่าใช้จ่ายเกี่ยวกับการรักษาผู้มีบุตรยากทั่วโลกพุ่งสูง พร้อมกันนี้นโยบายภาครัฐฯ ที่กระตุ้นส่งเสริมการมีบุตรกับคนไทย คาดว่าจะสามารถเพิ่มแรงกระตุ้นให้ความต้องการตลาดท่องเที่ยวสำหรับผู้มีบุตรยากของไทยมีแนวโน้มโตขึ้นเฉลี่ย 14.6% ต่อปี
นายแพทย์พิจักษณ์ กล่าวว่า โปรแกรม Fertility Wellness มุ่งเน้นปรับสมดุลสุขภาพ ผสานเทคโนโลยีช่วยการเจริญพันธุ์ ช่วยเพิ่มโอกาสความสำเร็จการตั้งครรภ์ด้วยวิธีธรรมชาติ ลดโอกาสการมีอาการแทรกซ้อนระหว่างตั้งครรภ์ นอกจากคำแนะนำในการปรับโปรแกรมอาหาร และไลฟ์สไตล์แล้ว การใช้วิตามินเสริมเฉพาะบุคคล (Personalized Compounding Supplements) ซึ่งสามารถปรับขนาดวิตามิน แร่ธาตุ สมุนไพร หรือแม้แต่โปรไบโอติกส์ (Probiotics) ให้เหมาะสมกับผลตรวจ และสภาวะร่างกายที่แตกต่างกันของแต่ละคน หรือการแพทย์แผนจีนอย่าง การฝังเข็ม ก็พบว่ามีประโยชน์ในการเร่งปรับสมดุลสุขภาพ แต่ควรอยู่ในความดูแลของแพทย์เฉพาะสาขา เนื่องจากมีข้อควรระวัง ข้อห้าม หรืออาการข้างเคียงได้
อย่างไรก็ดี ปัจจัยเสี่ยงที่ส่งผลกระทบต่อภาวะการตั้งครรภ์ หรือการมีบุตรยากที่ผู้หญิงและผู้ชาย ยังควรต้องเน้นย้ำให้ความสำคัญ คือ ฮอร์โมน ที่มีผลต่อสมดุลสุขภาพและระบบสืบพันธุ์ ระดับสารพิษ ที่อันตรายต่อระบบการเจริญพันธุ์ ส่งผลกระทบต่อการทำงานของระบบฮอร์โมน โดยเฉพาะสารเคมีกลุ่มพลาสติก สมดุลวิตามินและแร่ธาตุ ที่มีความสำคัญกับระบบการทำงานหลักของร่างกายทั้งชาย-หญิง และความแข็งแรงสมบูรณ์ของทารกในครรภ์
ซึ่งควรอยู่ภายใต้คำแนะนำโดยแพทย์ ไลฟ์สไตล์ ที่ควรหลีกเลี่ยง เช่น การสูบบุหรี่ การดื่มแอลกอฮอล์ และควรให้ความสำคัญเรื่องอาหาร หลีกเลี่ยงการรับประทานน้ำตาล อาหารแปรรูป อาหารผ่านไมโครเวฟ การรักษาน้ำหนักให้เหมาะสม ควบคู่กับสมดุลของชีวิต คุณภาพการนอน และการจัดการความเครียด เป็นต้น” นายแพทย์พิจักษณ์ กล่าวทิ้งท้าย