สภากาชาดไทย เปิดสถิติรับบริจาคอวัยวะยังขาดแคลน ผู้ป่วย “ไต” ต้องการสูงสุด

13 ส.ค. 2567 | 11:49 น.
อัปเดตล่าสุด :13 ส.ค. 2567 | 15:40 น.

ศูนย์รับบริจาคอวัยวะสภากาชาดไทย เผยยอดผู้ป่วยรอการปลูกถ่ายอวัยวะเพิ่มขึ้นทุกปี ขณะที่ผู้บริจาคยังมีจำนวนน้อย สถิติสูงสุดที่ยังขลาดแคลกว่า 95% คือ "ไต" โดยอวัยวะจาก 1 คน สามารถช่วยผู้รอรับได้ถึง 8 ชีวิต

รศ.นพ.สุภนิติ์ นิวาตวงศ์ รองผู้อำนวยการ ศูนย์รับบริจาคอวัยวะ สภากาชาดไทย กล่าวว่า ปัจจุบันประเทศไทยมีภาวะการขาดแคลนอวัยวะในการปลูกถ่ายเพื่อรักษาผู้ป่วยเป็นจำนวนมาก และมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ กว่า 95% คือผู้ป่วยที่รอเปลี่ยน "ไต" ซึ่งถือเป็นอวัยวะที่ขาดแคลนมากที่สุด ถัดมาคือ ตับ หัวใจ ปอด และตับอ่อน แม้ว่าจะมีผู้แสดงความจำนงบริจาคอวัยวะกว่า 5 หมื่นราย/ปี แต่ส่วนใหญ่การเสียชีวิตของผู้แสดงความจำนงบริจาคอวัยวะมิใช่เกิดจากสมองตาย เป็นการเสียชีวิตโดยมีข้อห้ามของการบริจาคอวัยวะ 

เช่น เสียชีวิตจากหัวใจหยุดเต้นหรือเกิดการติดเชื้อ อวัยวะได้รับบาดเจ็บจนให้ไม่สามารถนำอวัยวะไปใช้ปลูกถ่ายได้ รวมทั้งปัญหาอวัยวะที่นำไปปลูกถ่ายหรือทำงานได้ไม่ดี เข้ากันไม่ได้กับร่างกายของผู้รับ โดยมีปัจจัยหลายอย่าง ทั้งจากอายุของผู้บริจาค, ขนาดของอวัยวะ, การทำงานของอวัยวะ, ระยะเวลาขาดเลือดของอวัยวะ และความแตกต่างของเนื้อเยื่อ เป็นต้น

จากสถิติ ปี 2565 มีผู้แสดงความจำนงและบริจากอวัยวะไปแล้ว 303 ราย คิดเป็นสัดส่วนของผู้เสียชีวิตแล้วบริจากอวัยวะเพียง 4.6 ราย ต่อจำนวนประชากร 1 ล้านคน ในปี 2566 มีจำนวน 446 ราย สัดส่วน 8.6 ราย ต่อจำนวนประชากร 1 ล้านคน ถือว่าสูงกว่าหลายประเทศทั่วโลก โดยตั้งเป้าไว้ว่าในปี 2570 จะสามารถเพิ่มผู้แสดงความจำนงและบริจากอวัยวะได้ 700 ราย ซึ่งผู้ป่วยที่รอรับอวัยวะมากที่สุดส่วนใหญ่จะกระจุกตัวอยู่ในกรุงเทพฯ และหัวเมืองอย่างจังหวัด ขอนแก่น เชียงใหม่ ในแต่ละพื้นที่จะต่างกัน อนาคตหากบุคลากรทางการแพทย์พัฒนาศัยภาพการผ่าตัดได้ อวัยวะที่บริจากจะใช้กับผู้ป่วยในเขตนั้นๆ ซึ่งตอนนี้แพทย์ยังมีความเชี่ยวชาญเฉพาะด้านอวัยวะแตกต่างกัน และบางจุดที่ปลูกถ่ายอวัยวะยังต้องใช้เวลาเดินทาง และอวัยวะก็มีระยะเวลาจำกัดในการใช้ด้วยเช่นกัน 

สภากาชาดไทย เปิดสถิติรับบริจาคอวัยวะยังขาดแคลน ผู้ป่วย “ไต” ต้องการสูงสุด

โดยผู้ที่แสดงเจตจํานงบริจากอวัยวะ 1 คน อาจจะสามารถนำอวัยวะและเนื้อเยื่อไปปลูกถ่ายช่วยชีวิตให้กับผู้ที่ต้องการได้ 8-9 คน ซึ่งอวัยวะที่นำมาปลูกถ่ายให้ผู้ป่วยได้มาจากผู้บริจาค 2 กลุ่ม

  • ผู้บริจาคที่มีชีวิต ได้แก่ ไต และ ตับ ผู้บริจาคกลุ่มนี้ต้องเป็นญาติโดยสายโลหิต หรือเป็นสามีภรรยาที่อยู่กินกันเปิดเผย อย่างน้อย 3 ปีเท่านั้น แต่หากผู้รอรับอวัยวะไม่มีญาติที่สามารถบริจาคอวัยวะให้กันได้ ด้วยเหตุผล เช่น หมู่เลือดหรือเนื้อเยื่อเข้ากันไม่ได้ ผู้บริจาคมีสุขภาพไม่สมบูรณ์ ฯลฯ ผู้รับจะต้องรออวัยวะจากผู้บริจาคเท่านั้น
  • ผู้บริจาคที่เสียชีวิตจากภาวะสมองตาย กลุ่มนี้สามารถบริจาคได้ทุกอวัยวะ ได้แก่ หัวใจ ปอด ตับ ไต ตับอ่อน และลำไส้เล็ก แต่แพทย์ต้องวินิจฉัยว่ามีภาวะก้านสมองตาย และญาติลงนามยินยอมบริจาคอวัยวะ ซึ่งอวัยวะที่ปลูกถ่ายได้ ได้แก่ ไต 2 ข้าง, ปอด 2 ข้าง, หัวใจ, ตับ ตับอ่อน และลำไส้เล็ก นอกจากนี้ยังมีเนื้อเยื่อที่ปลูกถ่ายได้ ได้แก่ กระจกตา, ลิ้นหัวใจ, หลอดเลือด, ผิวหนัง, กระดูกและเส้นเอ็น  

คุณสมบัติของผู้บริจาคอวัยวะ 

  1. อายุไม่เกิน 65 ปี 
  2. เสียชีวิตจากสภาวะสมองตายด้วยสาเหตุต่าง ๆ
  3. ปราศจากโรคติดเชื้อรุนแรงและโรคมะเร็ง 
  4. ไม่เป็นโรคเรื้อรังที่ทำให้อวัยวะเสื่อม เช่น เบาหวาน, หัวใจ, โรคไต, ความดันโลหิตสูง, โรคตับ และไม่ติดสุรา 
  5. อวัยวะที่จะนำไปปลูกถ่ายต้องทำงานได้ดี
  6. ปราศจากเชื้อโรคซึ่งอาจจะถ่ายทอดทางการปลูกถ่ายอวัยวะ เช่น ไวรัสตับอักเสบชนิดบี หรือซี ไวรัสโรคเอดส์ ฯลฯ

“ก่อนจะบริจาคอวัยวะได้ต้องทำความเข้าใจก่อน ว่าสามารถแสดงเจตจำนงได้ตั้งแต่บรรลุนิติภาวะ และยิ่งอายุน้อยอวัยวะยิ่งใช้งานได้ดีมีคุณภาพที่ดีที่สุด โดยร่างกายของคนเราจะเริ่มมีความเสื่อมเมื่ออายุ 30 ปีขึ้นไป และทุกๆ 1 ปี หลังจากนั้นจะมีความเสื่อมลงไป 1 % ซึ่งอวัยวะของคนเปรียบเสมือนเครื่องยนต์ ยิ่งใช้ไปนานเท่าไหร่ความเสื่อม ดังนั้นอวัยวะที่รับบริจากมาทางศูนย์รับบริจาคอวัยวะสภากาชาดไทยจะรับแค่เพียงอายุสูงสุด 65 ปีเท่านั้น ส่วนหัวใจจะรับถึงอายุ 45 ปี ถ้าอายุมากกว่านั้นอวัยวะที่ได้รับบริจาคจะไม่คุ้มค่าแก่การปลูกถ่าย" 

รศ.นพ.สุภนิติ์ เปิดเผย "ฐานเศรษฐกิจ" ว่า สัดส่วนของผู้รอรับบริจากอวัยวะจะเป็นผู้ชายมากกว่าผู้หญิง อวัยวะที่รับบริจากสามารถใช้ข้ามเพศได้เพียงแค่มีกรุ๊ปเลือดที่เข้ากันได้ ส่วนผู้แสดงเจตจำนงบริจากจะมีสัดส่วนที่ใกล้เคียงกันทั้งชายและหญิง ในขณะที่ศักยภาพการปลูกถ่ายอวัยวะในประเทศไทยตอนนี้ต้องแยกเป็นส่วนๆ และสามารถทำได้เฉพาะในโรงพยาบาลสมาชิกศูนย์รับบริจาคอวัยวะสภากาชาดไทยประมาณ 45 แห่งทั่วประเทศ ซึ่งความชำนาญของแพทย์แต่ละโรงพยาบาลจะแตกต่างกัน

โดยโรงพยาบาลส่วนใหญ่สามารถปลูกถ่ายไตได้ ถัดมาคือการปลูกถ่ายตับ มีโรงพยาบาลที่สามารถทำได้ประมาณ 13 แห่ง โรงพยาบาลที่ปลูกถ่ายหัวใจก็มีอยู่ประมาณ 5-6 แห่ง และผู้ป่วยที่รอรับการบริจากอวัยวะจากทั้งหมดสามารถปลูกถ่ายอวัยวะได้สำเร็จมากกว่า 30% ในภาพรวมไตบริจากมากที่สุดและมีความต้องการสูงที่สุด ซึ่งในระบบสาธารณะสุขก็มีสัดส่วนงบประมาณที่ใช้รักษาดูแลประชาชนเกี่ยวกับโรคไตสูงมากถึง 20-25% (ไม่รวมการปลูกถ่ายอวัยวะ) ถัดมาคือหัวใจที่ได้รับบริจากเกินกว่า 50% จากผู้ป่วยที่รออยู่ทั้งหมด

ทั้งนี้ ศูนย์รับบริจาคอวัยวะสภากาชาดไทย ร่วมกับสมาคมปลูกถ่ายอวัยวะแห่งประเทศไทย กระทรวงสาธารณสุข เตรียมจัดงาน World Transplant Month 2024 เพื่อเชิญชวนบริจาคอวัยวะและอุทิศร่างกาย ในวันศุกร์ที่ 30 สิงหาคม 2567 เวลา 14.00 -18.00 น. ณ โซน Eden ชั้น 3 ศูนย์การค้าเซ็นทรัลเวิลด์  โดยไม่เสียค่าใช้จ่ายใดๆ ทั้งสิ้น ซึ่งวัน World Organ Donation Day มีจุดมุ่งหมายให้ทุกคนตระหนักถึงความสำคัญของการบริจาคอวัยวะและสร้างความเข้าใจที่ถูกต้องเกี่ยวกับการบริจาคอวัยวะ คาดว่าจะสามารถเชิญชวนผู้ร่วมงานร่วมกันแสดงความจำนงบริจาคอวัยวะได้จำนวนมากตามเป้าหมายจำนวน 5,000 รายภายใน 1 เดือน 

ผู้สนใจสามารถแสดงความจำนงบริจาคได้ทั้ง 2 ประเภท คือ 

  1. บริจาคอวัยวะและดวงตาเพื่อนำไปปลูกถ่ายให้ผู้ป่วย
  2. บริจาคอุทิศร่างกายเพื่อการศึกษา 

นอกจากนี้ ยังให้ความรู้เรื่องการบริจาคอวัยวะที่หลายคนยังคงเชื่อ ว่าหากบริจาคอวัยวะไปแล้วชาติหน้าจะเกิดมามีอวัยวะไม่ครบ ซึ่งข้อเท็จจริงนั้นแสดงให้เห็นถึงประโยชน์มากกว่าความเชื่อ เพราะการบริจาคอวัยวะโดยผู้บริจาคเพียงหนึ่งรายสามารถช่วยเหลือผู้ป่วยได้มาก ส่งผลให้ผู้ป่วยมีสุขภาพกายที่ดีและอายุยืนยาวขึ้น

ด้าน ผศ.ดร.สุวศิน อุดมกาญจนนันท์ ฝ่ายอายุรศาสตร์ โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ สภากาชาดไทย กล่าวว่า สำหรับการบริจากอวัยวะจากผู้มีชีวิต สามารถทำได้ทั้งประเทศและในต่างประเทศ แต่ก็ต้องขึ้นอยู่กับกฎหมายของแต่ละประเทศด้วยเช่นกัน อย่างการบริจากไตในประเทศไทย จะทำได้เฉพาะทางสายเลือด และคู่สามีภรรยาที่จดทะเบียนแล้วอย่างน้อย 3 ปี หรือมีลูกแล้วถึงจะบริจากได้ และต้องดูความพร้อมของผู้รับด้วย ซึ่งส่วนใหญ่สิทธิการรักษาสำหรับการปลูกถ่ายอวัยวะค่อนข้างครอบคลุม 80-90% โดยไม่ต้องเสียเงินเพิ่ม ไม่ว่าจะเป็นสิทธิประกันสุขภาพถ้วนหน้า สิทธิประกันสังคม สิทธิข้าราชการต่างๆ ส่วนที่เหลือจะเป็นส่วนต่างเล็กน้อยที่ผู้ป่วยต้องจ่ายเพิ่ม โดยอายุไขของผู้รับการเปลี่ยนถ่ายอวัยวะจะแตกต่างกันไปแล้วแต่บุคคล เช่น ผู้ป่วยโรคไต เมื่อได้รับการเปลี่ยนถ่ายไตแล้วจะมีอายุเฉลี่ย 10-12 ปี น้อยที่สุดที่เกิดอาการไม่พึงประสงค์จะอยู่ได้เพียง 2-3 ปี และมากที่สุดที่พบประมาณ 30 ปี อาจจะสู้อายุไขคนที่ไม่เคยเป็นโรคไตมาก่อนไม่ได้ แต่ก็อายุยืนกว่าคนที่ต้องฟอกไต และการรับไตจากผู้ที่ยังมีชีวิตก็ดีกว่าผู้ที่เสียชีวิตแล้ว