นายแพทย์พิจักษณ์ วงศ์วิศิษฎ์ แพทย์ผู้อำนวยการ W9 Wellness Center กล่าวว่า ปัจจุบันด้วยวิถีชีวิตทำให้ไม่สามารถหลีกเลี่ยงการรับสารพิษและสารเคมีตกค้างมีอยู่รอบตัว จากการอุปโภคบริโภคในชีวิตปกติประจำวัน โดยเฉพาะพลาสติกซึ่งเป็นสาเหตุหลักของการปนเปื้อนไมโครพลาสติก จากการใช้ภาชนะพลาสติกและโฟมเป็นส่วนใหญ่ซึ่งอาจจะทำให้ผู้บริโภคได้รับสารปนเปื้อน
ไม่ว่าจะเป็น สารสไตรีนที่พบได้ในโฟม สารไดออกซินที่มักพบได้ในพลาสติกรีไซเคิล สาร Bisphenol A (BPA) พบได้ในขวดน้ำพลาสติก เป็นต้น ซึ่งสารดังกล่าวหากได้รับความร้อนจัดสารเหล่านี้อาจออกมาปนเปื้อนในอาหารได้ การที่ร่างกายได้รับสารปนเปื้อนในปริมาณเล็กน้อยอาจจะไม่เป็นอันตรายต่อร่างกายในทันที แต่หากสะสมอยู่ในร่างกายเรื่อย ๆ อาจมีผลต่อสุขภาพได้ในระยะยาว
ทั้งนี้พบว่า ผู้คนมีแนวโน้มที่จะมีไมโครพลาสติกตกค้างในร่างกายเพิ่มสูงขึ้น โดยงานวิจัยของมหาวิทยาลัยนิวเม็กซิโก รายงานว่าตั้งแต่ปี 2567 พบไมโครพลาสติกกำลังสะสมอยู่ในอวัยวะที่สำคัญของมนุษย์ โดยพบ ไมโครพลาสติกในตัวอย่างสมองสูงขึ้นประมาณ 50% เมื่อเทียบจากตัวอย่างสมองในปี 2559
ซึ่งสอดคล้องกับแนวโน้มของการใช้พลาติกที่เพิ่มสูงขึ้น โดยรายงานจากกองทุนสัตว์ป่าโลก (World Wildlife Fund) ที่พบว่าคนใช้พลาสติกประมาณ 5 กรัม ต่อสัปดาห์ และงานวิจัยอื่น ๆ ยังระบุว่าคนทั่วไปสร้างไมโครพลาสติกอย่างน้อย 50,000 ชิ้นต่อปี ซึ่งเป็นจำนวนที่คาดว่าจะเพิ่มขึ้นอย่างมากสำหรับคนที่นิยมบริโภคอาหารแปรรูป
ขณะที่งานวิจัยจาก Scripps Research Institute พบว่า ไมโครพลาสติกสามารถสะสมอยู่ในไขมันภายในหลอดเลือดแดงของมนุษย์ ซึ่งสร้างความเเสี่ยงต่อการเกิดภาวะหัวใจวาย โรคหลอดเลือดสมอง หรือการเสียชีวิตสูงกว่าผู้ที่ไม่มีไมโครพลาสติกถึง 4.5 เท่า นอกจากนี้ การศึกษาล่าสุดในประเทศเยอรมนีพบว่าอนุภาคไมโครพลาสติกสามารถทำให้เยื่อหุ้มไขมันซึ่งที่ล้อมรอบเซลส์ทั้งหมดไม่เสถียร ซึ่งอาจส่งผลต่อการทำงานของเซลส์ในร่างกาย
ดังนั้นไมโครพลาสติกเป็นภัยเงียบที่เป็นอันตรายที่เราควรตระหนักและหาทางป้องกัน โดยการใช้พลาสติกแบบใช้ครั้งเดียวทิ้ง ลดการสร้างขยะพลาสติก รวมทั้งคัดแยกขยะพลาสติกเพื่อนำไปรีไซเคิลใหม่อย่างถูกวิธี
นอกจากไมโครพลาสติกแล้ว อีกหนึ่งสารพิษตกค้างตกค้างในร่างกายที่ควรระวังนั่นคือ โลหะหนัก ซึ่งการจากไลฟ์สไตล์การใช้ชีวิตของคนในปัจจุบัน เช่น จากการทำสีผม การทำเล็บ รับประทานอาหารทะเล ผัก ผลไม้ที่ปนเปื้อนสารเคมีเป็นประจำ โดยอาการเบื้องต้นที่บ่งบอกว่ามีสารพิษโลหะหนักสะสมในร่างกายมากเกินไปสามารถสังเกตได้จากอาการต่าง ๆ ดังนี้ ปวดศีรษะบ่อย ๆ อ่อนเพลีย นอนหลับยาก หรือนอนไม่หลับโดยไม่พบสาเหตุอื่น
อีกทั้งอาจจะมีอาการอื่น ๆ ที่หลายคนอาจจะไม่ทราบว่าเป็นผลสืบเนื่องหรือเกี่ยวข้องกับสารพิษสะสมในร่างกายที่มากเกินไป เช่น อาการหย่อนสมรรถภาพทางเพศ สุขภาวะทางเพศลดลง น้ำหนักตัวเพิ่มขึ้น หรือลดน้ำหนักยาก ซึ่งเกิดจากความผิดปกติในระบบการเผาผลาญจากร่างกายเสียสมดุลในกระบวนการขับสารพิษ
ทั้งนี้ ปกติร่างกายสามารถขับสารพิษออกได้ด้วยการดื่มน้ำสะอาดให้เพียงพอ เพื่อช่วยล้างสารพิษออกจากอวัยวะภายในร่างกาย ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ เพื่อเพิ่มการไหลเวียนของโลหิต ช่วยขับสารพิษออกจากร่างกายผ่านเหงื่อ รับประทานอาหารที่เป็นสารต้านอนุมูลอิสระ เช่น ผักสีเขียวเข้ม ผลไม้สีสด และอาหารที่มีวิตามินซีและอี และพักผ่อนให้เพียงพอ
เนื่องด้วยปัจจุบันอาจจะมีข้อจำกัดในการใช้ชีวิต รวมถึงหลายคนอาจจะมีเงื่อนไขส่วนตัวอื่น ๆ เช่น อายุมาก มีโรคประจำตัว ฯลฯ ที่ทำให้ไม่สามารถดูแลปฏิบัติตัวเพื่อให้ร่างกายพื้นฟูหรือขับสารพิษได้อย่างเต็มประสิทธิภาพ การตรวจสารพิษในร่างกายอย่างน้อยปีละ 1 ครั้ง จึงเป็นทางเลือกสำหรับคนที่ต้องการดูแลสุขภาพเชิงป้องกันและวางแผนการดูแลสุชภาพของตนเองให้ตรงจุด นายแพทย์พิจักษณ์ กล่าว
ปัจจุบันมีตรวจวัดระดับสารพิษโลหะหนักที่สะสมในร่างกาย โดยมีทั้งการตรวจแบบเจาะเลือด ตรวจปัสสาวะ ตรวจด้วยโคนเส้นผม และแบบ Oligoscan การตรวจทางเนื้อเยื่อฝ่ามือด้วยการสแกนจุดบนผ่ามือโดยไม่ต้องเจาะเลือด ซึ่งในการตรวจทางการแพทย์องค์รวมและการดูแลสุขภาพเชิงเวลเนสจะมุ่งเน้นเป็นการตรวจเพื่อวิเคราะห์ปัญหาสุขภาพของแต่ละบุคคลโดยเฉพาะ เพื่อวางแผนในการดูแลสุขภาพ หรือปรับเปลี่ยนพฤติกรรมให้สอดคล้องกับผลวิเคราะห์เพื่อสุขภาพดีอย่างยั่งยืน