อันตราย "นอนกรน" เสี่ยงภาวะหยุดหายใจขณะหลับและก่อเกิดโรคร้าย

25 พ.ย. 2567 | 21:33 น.

อันตรายจาก "การนอนกรน" เป็นสาเหตุหลักทำให้เกิดภาวะหยุดหายใจขณะหลับ ส่งผลกระทบต่อสุขภาพ-เกิดโรคร้าย เผยพติกรรมที่ควรปรับช่วยลดอัตราการเสียชีวิตได้

รศ.พญ.นฤชา จิรกาลวสาน รองคณบดี ฝ่ายวิรัชกิจ คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย แพทย์ผู้เชี่ยวชาญการรักษาด้านการนอนหลับ กล่าวว่า การนอนกรน เป็นสาเหตุหลักสำคัญทำให้เกิดภาวะหยุดหายใจขณะหลับ โดยท่อระบบทางเดินหายใจส่วนบนจะถูกอุดกั้นซ้ำๆ ทำให้เกิดการตกของระบบออกซิเจน เกิดการตกร่องของออกซิเจน ส่งผลให้สมองตื่นตัว เวลานอนจึงหลับไม่ดี หลับหลับตื่นตื่น  

โดยความเสี่ยงจะเกิดกับคนที่ช่องคอแคบ ขนาดคอใหญ่ในผู้ชายจะมีขนาดประมาณ 17 นิ้ว ในผู้หญิงประมาณ 16 นิ้ว และมักบพบ่อยในคนไทยหรือคนเอเชีย ที่มีลักษณะคางสั้น ฟันยื่นร่วมด้วย นอกจากนี้ยังมีเรื่องของภูมิแพ้จมู กริดสีดวงในจมูก เป็นต้น

ปัจจัยเสี่ยงตอนกลางคืน

  • นอนกรน
  • หลับๆ ตื่นๆ
  • ตื่นขึ้นมาปัสสาวะบ่อย
  • นอนไม่หลับ
  • คู่นอนสังเกตเห็นว่านอนหยุดหายใจ
  • นอนอ้าปาก 
  • คอแห้ง
  • กัดฟัน
  • เตะขาตอนกลางคืน
  • นอนละเมอ
  • รู้สึกเหมือนจมน้ำ

อาการที่เกิดขึ้นตอนกลางวัน

  • ปวดหัวตอนเช้า
  • ตื่นเช้าไม่สดชื่นแม้จะนอนมากพอ
  • ต้องนอนกลางวัน
  • ความจำไม่ค่อยดี
  • ง่วงตอนกลางวัน

ระดับความรุนแรง ภาวะหยุดหายใจขณะหลับ

  1. รุนแรงน้อย (Mild) ในผู้ป่วยที่มีดัชนีการหยุดหายใจหรือหายใจแผ่ว 5-14.9 ครั้ง/ชั่วโมง
  2. รุนแรงปานกลาง (Moderate) ในผู้ป่วยที่มีดัชนีการหยุดหายใจหรือหายใจแผ่ว 15-30 ครั้ง/ชั่วโมง
  3. รุนแรงมาก (Severe) ในผู้ป่วยที่มีดัชนีการหยุดหายใจหรือหายใจแผ่วมากกว่า 30 ครั้ง/ชั่วโมง

โอกาสในการเกิดโรค

  • ความดันสูง : ในกรณีเป็นโรคนอนหยุดหายใจแลลอุดกั้นแบบรุนแรง จะเพิ่มโอกาสเป็นโรคความดันโลหิตสูงใน 4 ปี ประมาณ 2.89 เท่า
  • โรคหัวใจขาดเลือด : โดยเฉพาะการเพิ่มโอกาสของการเกิดโรคหัวใจขาดเลือดในตอนกลางคืน จากการทำงานของระบบประสาทอัตโนมัติ
  • การเต้นของหัวใจผิดปกติ : ได้แก่ หัวใจเต้นผิดจังหวะ, หัวใจเต้นช้า, หัวใจหยุดเต้น เป็นต้น
  • โรคหัวใจวาย : พบว่าคนไข้โรคหัวใจวายเป็นโรคนอนหยุดหายใจแบบอุดกั้นด้วย ซึ่งจะเพิ่มโอกาสการเสียชีวิตมากขึ้น
  • ภาวะหยุดหายใจขณะหลับมักเกิดในผู้ป่วยโรคเบาหวาน
  • โรคซึมเศร้า : พบอุบัติการณ์ในคนไข้โรคนอกหยุดหายใจขณะหลับมากถึง 58%

ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมลดโอกาสเกิดโรค

  • ลดน้ำหนักอย่างน้อย 5-10%ของน้ำหนักร่างกาย
  • การผ่าตัดลกน้ำหนัก
  • หลีกเลี่ยงแอลกอฮอลล์
  • อย่าอดนอน
  • งดการกินยาบางชนิด เช่น ยานอนหลับบางกลุ่ม

การรักษา

  • พบแพทย์
  • ใช้เครื่องอัดอากาศแรงดันบวกชนิดต่อเนื่อง (CPAP) เรักษานอนกรน และโรคหยุดหายใจขณะหลับ ตามคำสั่งแพทย์

ผลการรักษา

  • ลดการง่วงระหว่างวัน
  • เพิ่มประสิทธิภาพการทำงาน การเรียนรู้ และความจำ
  • ลดโอกาสการเกิดโรคหัวใจ
  • ลดระดับความดันโลหิต
  • ลดโอกาสการเกิดโรคหลอดเลือดในสมอง
  • ช่วยควบคุมระดับน้ำตาล
  • ลดอัตราการเสียชีวิต