รศ.นพ. ยงชัย นิละนนท์ ประธานศูนย์โรคหลอดเลือดสมองศิริราช คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล กล่าวว่า ประเทศไทยมีผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมอง หรือ Stroke ส่งผลต่อภาระการรักษาด้านระบบสาธารณะสุขเป็นจำนวนมาก จากสถิติปี 2566 พบผู้ป่วยมากกว่า 3.4 แสนรายต่อปี โดยผู้ป่วยมีโอกาสเกิดความพิการจากโรคหลอดเลือดสมองประมาณ 70% เสียชีวิต 5% อีกส่วน 1 ใน 4 สามารถรักษาหายใกล้เคียงกับภาวะปกติ แต่สมองไม่เหมือนเดิม เพราะจะมีปัญหาเกี่ยวกัยสมองเสื่อม ความจำ โดยโรคนี้สามารถป้องกันและรักษาได้ หากปฏิบัติตัวให้ถูกต้องและรู้ถึงอาการ
หากมีอาการเหล่านี้ต้องมาโรงพยาบาลในทันที เพราะทุก 1 นาที ที่ล่าช้าและไม่ได้รับการรักษาเมื่อมีอาการเซลล์ประสาทจะตาย 1.9 ล้านตัว และจะมีอัตราการตายของสมองเพิ่มเมื่อเวลาเพิ่มขึ้น ยิ่งช้ายิ่งทำให้เกิดความพิการ
การป้องกันโรคนี้คนไทยมีองค์ความรู้พอสมควร และสามารถป้องกันได้ถึง 90% แต่การนำไปใช้ยังมีปัญหา และ 1 ใน 4 ของช่วงชีวิตสามารถเกิดโรคหลอดเลือดสมอง หรือ Stroke ได้ทุกวัยแม้อายุน้อย โดยแบ่งเป็น 4 โรคที่ควรระวังซึ่งเป็นต้นเหตุ และ 6 พฤติกรรมป้องกัน ดังนี้
รศ.นพ. ยงชัย กล่าวว่า โรคหลอดเลือดสมอง หรือ Stroke ไม่เพียงทำให้เสียชีวิต พิการ หรือสมองตาย แต่หากป่วยแล้วจะทำให้เกิดโรคอีกหลายอย่าง ไม่ว่าจะเป็นแผลกดทับ ติดเชื้อ ปอดอักเสบ ติดเชื้อทางเดินปัสสาวะ ตลอดจนกระทบต่อค่าใช้จ่ายใจการรักษา เป็นต้น และหากป่วยด้วยโรคนี้จะส่งผลต่อร่างกายไปจนถึงวาระสุดท้ายของชีวิต
ด้าน รศ.(พิเศษ) พญ.อรอุมา ชุติเนตร หัวหน้าศูนย์ความเป็นเลิศทางการแพทย์ ด้านโรคหลอดเลือดสมองแบบครบวงจร โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ สภากาชาดไทย กล่าวว่า โรคหลอดเลือดสมอง หรือ Stroke จัดอยู่ในกลุ่มโรค NCDs หรือ non-communicable diseases เป็นกลุ่มโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง มักเกิดขึ้นแบบเฉียบพลัน ผู้ที่มีปัจจัยเสี่ยงจะถือว่ามีสัญญาณเตือนของการเกิดโรคแล้ว ฉะนั้นจะต้อง และในประเทศไทยพบผู้ป่วยเพิ่มขึ้นทุกปี สัดส่วนใกล้เคียงกันทั้งผู้ชายและผู้หญิง เฉลี่ยอย่างน้อย 2.5 แสนรายต่อปี โดยอาการสงสัยเฉียบพลันโรคหลอดเลือดสมอง หรือ Stroke ที่มักพบบ่อยคือ พูดลำบาก, ปากตก และลุกไม่ขึ้น
อย่างไรก็ตาม จากสถิติภาวะโรคของประเทศไทยโรคหลอดเลือดสมอง หรือ Stroke มีอัตราการเสียชีวิตเป็นอันดับ 1 ของโรคทั้งหมด ยกเว้นสถิติรวมของผู้ป่วยโรคมะเร็งทั้งหมด และมีอัตราการเกิดภาวะทุพพลภาพในผู้ชายเป็นอันดับ 1 และในผู้หญิงเป็นอันดับ 2 นอกจากนี้ ยังเป็นโรคที่ส่งผลกระทบต่อการดูแลรักษามากที่สุด เพราะอาการข้างต้นบางอย่างที่ระบุไว้ในข้างต้น เมื่อเกิดขึ้นแล้วจะรักษาฟื้นศักยภาพไม่ได้ไปตลอดชีวิต เช่น การมองเห็น พูดไม่ชัด ฯลฯ