ไวรัส hMPV (human meta-pneumovirus) ที่กำลังเกิดการระบาดในจีนทำให้มีผู้ป่วยเพิ่มขึ้นในมณฑลทางตอนเหนือของจีนในช่วงฤดูหนาวได้รับความสนใจจนปฏิเสธไม่ได้ว่า ได้สร้างความกังวลว่า จะเกิดการระบาดเกิดขึ้นเป็นวงกว้างในลักษณะเดียวกับการเกิดการระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19 ได้หรือไม่นั้น
ล่าสุด นายสมศักดิ์ เทพสุทิน รมว.สาธารณสุข ให้สัมภาษณ์โดยยืนยันว่า ขณะนี้ประเทศไทยยังไม่มีรายงานกลุ่มก้อนการระบาดของไวรัส HMPV ส่วนกรณีข่าวการระบาดในจีนประสานงานกฎอนามัยระหว่างประเทศ(IHR NFP) ได้ประสานไปยังจีน และองค์การอนามัยโลกเพื่อขอแบ่งปันข้อมูลแล้ว ทั้งนี้ ประเทศไทยมีระบบเฝ้าระวังโรคระบบทางเดินหายใจที่มีความเข้มงวดใน 3 ชั้น ได้แก่ ช่องทางเข้าประเทศ โรงพยาบาล และในชุมชน
นอกจากนี้กองระบาดวิทยา กรมควบคุมโรค ร่วมกับภาคี อาทิ โรงเรียนแพทย์ และโรงพยาบาลในส่วนภูมิภาค ได้มีการสุ่มตรวจเชื้อในโรงพยาบาลที่กำหนดโดยเฉพาะในพื้นที่ท่องเที่ยวเพื่อให้แน่ใจว่าไม่มีการระบาดที่เกิดขึ้น
ขณะที่ศักยภาพของประเทศไทยในการตรวจจับโรคมีมาตรฐาน โดยมีห้องปฏิบัติการที่สามารถวิเคราะห์เชื้อได้ และโรงพยาบาลทุกระดับมีศักยภาพ และความพร้อมในการดูแลผู้ป่วยแต่ยังคงต้องระมัดระวัง และแจ้งเตือนเครือข่ายให้เฝ้าระวังเพื่อป้องกันการระบาดในอนาคต
ทั้งนี้ ผู้สื่อข่าวรายงานว่า สำหรับประเทศไทยจากรายงานผลการเฝ้าระวังไข้หวัดใหญ่และเชื้อสาเหตุโรคติดเชื้อทางเดินหายใจในไทย โดยกองระบาดวิทยา กรมควบคุมโรค ระหว่างวันที่ 3-30 ธ.ค.2566 เคยรายงานไทยพบการป่วยด้วยเชื้อ HMPV ราว 7.9% น้อยกว่าการพบเชื้อเอนฟลูเอนซาที่ก่อโรคไข้หวัดใหญ่ซึ่งพบราว 35.5% และเชื้อไรโนไวรัส/เอนเทอโรไวรัส ที่พบ 32.3%
นอกจากนี้ล่าสุด Center for Medical Genomics ศูนย์จีโนมทางการแพทย์ คณะแพทยศาสตร์ โรงพยาบาลรามาธิบดี เปิดเผยข้อมูลการติดเชื้อไวรัสเมตานิวโมไวรัสในมนุษย์ (HMPV) กับ SARS-CoV-2: ข้อเท็จจริงและประเด็นน่าสนใจซึ่งเป็นข้อมูลเชิงลึกและประเด็นที่ควรให้ความสนใจ ดังนี้
เมตานิวโมไวรัสในมนุษย์ (HMPV) และไวรัส SARS-CoV-2 ต่างก็เป็นเชื้อก่อโรคระบบทางเดินหายใจที่สำคัญซึ่งแม้จะมีอาการคล้ายคลึงกันบ้าง แต่ทั้งสองไวรัสนี้อยู่ในตระกูลที่ต่างกันโดยสิ้นเชิง HMPV อยู่ในตระกูล Pneumoviridae ในขณะที่ SARS-CoV-2 เป็นสมาชิกของตระกูล Coronaviridae
การติดเชื้อร่วม (Co-infection)
แม้ไม่มีหลักฐานเรื่องการรวมสารพันธุกรรมแต่มักพบการติดเชื้อร่วมกันระหว่างไวรัสระบบทางเดินหายใจหลายชนิดในผู้ป่วยคนเดียวกัน ตัวอย่างหนึ่ง คือ เมื่อเกิดการระบาดของโรคซาร์ส (SARS-CoV) ในปี 2002 มีรายงานผู้ป่วยบางรายติดเชื้อร่วมกับ HMPV โดยพร้อมกัน อย่างไรก็ตาม การติดเชื้อร่วมไม่ได้หมายความว่าตัวไวรัสจะหลอมรวมสารพันธุกรรมเข้าสู่กัน
ตระกูลไวรัสที่แตกต่างกัน
1. HMPV (Human Metapneumovirus)
2. SARS-CoV-2
การรวมสารพันธุกรรม (Recombination)
ในแง่ทฤษฎี มีโอกาสที่ไวรัสต่างชนิดอาจแลกเปลี่ยนสารพันธุกรรมกันได้ แต่เมื่อไวรัสอยู่กันคนละตระกูล โอกาสที่จะรวมกันและเกิดไวรัสลูกผสมใหม่ยังค่อนข้างต่ำ มากไปกว่านั้น ปัจจุบันยังไม่มีรายงานวิจัยหรือหลักฐานบ่งชี้ว่า HMPV และ SARS-CoV-2 ได้รวมจีโนมจนเกิดเป็นสายพันธุ์ใหม่
การติดเชื้อร่วม (Co-infection)
แม้ไม่มีหลักฐานเรื่องการรวมสารพันธุกรรม แต่มักพบการติดเชื้อร่วมกันระหว่างไวรัสระบบทางเดินหายใจหลายชนิดในผู้ป่วยคนเดียวกัน ตัวอย่างหนึ่งคือ เมื่อเกิดการระบาดของโรคซาร์ส (SARS-CoV) ในปี 2002 มีรายงานผู้ป่วยบางรายติดเชื้อร่วมกับ HMPV โดยพร้อมกัน อย่างไรก็ตาม การติดเชื้อร่วมไม่ได้หมายความว่าตัวไวรัสจะหลอมรวมสารพันธุกรรมเข้าสู่กัน
อาการที่คล้ายและแตกต่าง
1. อาการที่คล้ายกัน
2. อาการที่แตกต่าง
HMPV: มักพบอาการรุนแรงในเด็กเล็กหรือผู้สูงอายุ เช่น เสียงหวีดขณะหายใจ และอาจถึงขั้นหยุดหายใจชั่วขณะในเด็กเล็ก
SARS-CoV-2: พบได้ในทุกวัย อาจมีอาการเฉพาะ เช่น สูญเสียการได้กลิ่นและรับรส มีผื่นตามผิวหนัง หรืออาการในระบบทางเดินอาหารในบางราย
การรักษาและพัฒนาวัคซีน
HMPV: ยังไม่มีวัคซีนเฉพาะ และการรักษาส่วนใหญ่เป็นการรักษาตามอาการ
SARS-CoV-2: มีการพัฒนาวัคซีนหลายชนิดและยาต้านไวรัสที่ผ่านการอนุมัติสำหรับใช้งาน ความคืบหน้าของวัคซีนแบบผสม (รวมแอนติเจนของหลายไวรัสในวัคซีนเดียว) ยังคงอยู่ในขั้นตอนการวิจัย
ข้อสรุปสำคัญ คือ ยังไม่มีข้อมูลหรือหลักฐานที่ยืนยันว่า SARS-CoV-2 และ HMPV ได้รวมจีโนมกันเป็นไวรัสลูกผสมใหม่แม้มีโอกาสเกิดการติดเชื้อร่วมกันในผู้ป่วยคนเดียวกันได้ก็ตาม ด้วยความแตกต่างทางพันธุกรรมที่ชัดเจน การวางแผนรับมือและการเฝ้าระวังจึงควรให้ความสำคัญกับลักษณะเฉพาะของไวรัสแต่ละชนิด
ส่วนการพัฒนาวัคซีนหรือแนวทางรักษาแบบผสานยังอยู่ในกระบวนการวิจัยและอาจเป็นความหวังของการป้องกันโรคระบบทางเดินหายใจหลายชนิดพร้อมกันในอนาคต
ขณะที่ ศ.นพ.ยง ภู่วรวรรณ ราชบัณฑิต สำนักวิทยาศาสตร์ และหัวหน้าศูนย์เชี่ยวชาญเฉพาะทางด้านไวรัสวิทยาคลินิก คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ให้ข้อมูลว่า HMPV (human meta-pneumovirus) ไม่ใช่ไวรัสใหม่
ไวรัสนี้มีมานานมากแล้วโดยทางศูนย์ไวรัสฯ ที่จุฬาได้ทำการตรวจมาตั้งแต่ปี 2001 โดยพบไวรัสนี้ในผู้ป่วยโรคทางเดินหายใจในเด็กประมาณ 4% และได้มีการตรวจอย่างต่อเนื่องมาตลอดจนถึงปัจจุบัน พบไวรัสนี้ประมาณ 4-8% เป็นไปตามฤดูกาลกับโรคทางเดินหายใจอื่น พบมากในฤดูฝนและช่วงฤดูหนาวอีกเล็กน้อย
สำหรับอาการของไวรัสนี้ไม่แตกต่างกับไวรัสตัวอื่นทำให้เกิดโรคทางเดินหายใจ ตั้งแต่ไม่มีอาการ อาการน้อยจนถึงอาการมากลงปอด พบได้ทุกอายุแต่พบได้มากในเด็ก ปัจจุบันการตรวจง่ายมากใช้วิธีการเช่นเดียวกับ ATK ของโควิดจึงได้มีการพูดถึงกันมากขึ้น ส่วนการดูแลรักษาและการป้องกันทำได้เช่นเดียวกันกับโรคทางเดินหายใจอื่น ๆ ดูแลเรื่องสุขลักษณะ ให้ร่างกายแข็งแรง ล้างมือ ใครมีอาการทางเดินหายใจ ไม่ควรไปโรงเรียน หน้ากากอนามัยให้ใส่ในผู้ที่มีโรคทางเดินหายใจทุกคนเพื่อป้องกันการแพร่กระจายไปสู่คนอื่น
ด้าน ดร.อนันต์ จงแก้ววัฒนา ผู้อำนวยการกลุ่มวิจัยนวัตกรรมสุขภาพสัตว์และการจัดการ ศูนย์พันธุวิศวกรรมและเทคโนโลยีชีวภาพแห่งชาติ (ไบโอเทค) ระบุว่า ตอนนี้เริ่มเห็นข่าวการระบาดของ human metapneumovirus (HMPV) ในเมืองจีนออกมาเรื่อย ๆ เนื่องจากชื่อของไวรัสที่ไม่คุ้นและการระบาดเกิดขึ้นในจีน ทำให้เกิดความสับสนว่า HMPV เป็นไวรัสอุบัติใหม่เหมือนกับ SARS-CoV-2 ตอนช่วงโควิด
HMPV ไม่ใช่ไวรัสอุบัติใหม่ มีการรายงานพบเชื้อ สามารถแยกเชื้อมาจากผู้ป่วยในเนเธอแลนด์ได้ตั้งแต่ปี 2001 หรือ 24 ปีมาแล้ว และพบว่า ไวรัสพบได้ในหลายประเทศ ประเทศจีนเองก็พบมาตั้งแต่ปี 2003 ซึ่งไม่ใช่ไวรัสใหม่ในประเทศเช่นกัน
ที่น่าสนใจ คือ หลังจากที่แยกเชื้อไวรัสได้ ทีมเนเธอแลนด์ตรวจภูมิคนในประเทศพบว่า ไวรัสอาจจะวนเวียนอยู่ในประชากรของประเทศมามากกว่า 50 ปีก่อนการแยกเชื้อได้สำเร็จ สรุปง่าย ๆ ว่า เป็นไวรัสเก่าอยู่กับเรามานานมากแล้ว
ไวรัสชนิดนี้ยังไม่มีวัคซีนมีหลายปัจจัย นอกจากองค์ความรู้ที่มีน้อยเมื่อเทียบกับไวรัสทางเดินหายใจอื่น ๆ อย่าง RSV หรือ Influenza แล้ว ผลกระทบของการระบาดของ HMPV ยังน้อยกว่าไวรัสตัวอื่นทำให้แรงจูงใจของการวิจัย
ด้านการพัฒนาวัคซีนจึงไปช้ากว่ามาก เพราะเชื่อว่าแทบทุกคนเคยติดไวรัสตัวนี้มาแล้วภูมิคุ้มกันมีอยู่ไม่มากก็น้อย วัคซีนอาจมีบทบาทไม่มาก
Human metapneumovirus หรือ hMPV เป็นไวรัสที่ทำให้เกิดการติดเชื้อในระบบทางเดินหายใจทั้งในเด็กและผู้ใหญ่โดยทั่วไปจะมีอาการคล้ายคลึงกับโรคไข้หวัดใหญ่หรือ RSV (Respiratory Syncytial Virus) เช่น ไอ, น้ำมูกไหล, ไข้, หายใจลำบาก และปอดอักเสบ
เชื้อไวรัส hMPV หรือ ฮิวแมนเมตะนิวโมไวรัส (Human Metapneumovirus ) เป็นเชื้อไวรัสชนิดหนึ่งที่ก่อให้เกิดโรคระบบทางเดินหายใจ RSV ( Respiratory Syncytial Virus) และไวรัสไข้หวัดใหญ่ที่เป็นสาเหตุสำคัญของโรคทางเดินหายใจในเด็กเล็กที่สามารถส่งผลให้เกิดอาการปอดอักเสบได้ในเด็กเล็กได้