จากกรณีที่เมื่อวันที่ 12 มกราคม 2565 พล.อ.ต.ประภาส สอนใจดี โฆษกกองทัพอากาศ (ทอ.) ยอมรับว่า มีมติลับ หรือวาระลับ เอกสารริมแดง ในการประชุมคณะรัฐมนตรี(ครม.) ล่าสุดเมื่อ 11 มกราคม 2565
อนุมัติกรอบวงเงินงบประมาณประจำปี 2566 และก่อหนี้ผูกพันข้ามปีงบประมาณเกิน 1,000 ล้านบาทในโครงการพิจารณาจัดหาเครื่องบินขับไล่โจมตีของกองทัพอากาศ เพื่อทดแทนเครื่องบิน F-16 งบประมาณ 13,800 ล้านบาท จำนวน 4 เครื่องแรก ซึ่งจะผูกพันงบประมาณ 4 ปี ตั้งแต่ปี 2566-2569
ฐานเศรษฐกิจ ตรวจสอบข้อมูลจากสำนักงบประมาณพบว่า งบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2566 นั้น ที่ประชุมครม.เพิ่งมีมติเมื่อวันที่ 4 มกราคม 2565 เห็นชอบกรอบวงเงินงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2566 จำนวน 3,185,000 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากปีงบประมาณ พ.ศ. 2565 จำนวน 85,000 ล้านบาท หรือเพิ่มขึ้นร้อยละ 2.74
นอกจากนี้ยังทำการตรวจสอบงบประมาณรายจ่ายประจำปีย้อนหลังในส่วนของกองทัพอากาศ พบข้อมูล ดังนี้
2565 งบประมาณรายจ่ายประจำปี ทั้งหมดจำนวน 3.1 ล้านล้านบาท กองทัพอากาศได้รับการจัดสรรงบประมาณจำนวน 2.43 หมื่นล้านบาท
พ.ศ.2564 งบประมาณทั้งหมด 3.2 ล้านล้านบาท กองทัพอากาศได้รับการจัดสรรงบประมาณจำนวน 2.59 หมื่นล้านบาท แบ่งเป็น
งบประมาณปี 2563 งบประมาณทั้งหมด 3.2 ล้านล้านบาท กองทัพอากาศได้รับการจัดสรรงบประมาณจำนวน 2.93 หมื่นล้านบาท แบ่งเป็น
หมื่นล้านบาท แบ่งเป็น
ส่วนปี งบประมาณรายจ่ายประจำปี 2562 งบทั้งหมดจำนวน 3 ล้านล้านบาท กองทัพอากาศได้รับการจัดสรรงบประมาณจำนวน 1.32 หมื่นล้านบาท
และปีงบประมาณ 2561 งบทั้งหมดจำนวน 2.9 ล้านล้านบาท กองทัพอากาศได้รับการจัดสรรจำนวน 1.34 หมื่นล้านบาท
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า สำหรับงบประมาณปี 2566 นั้น พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี เคยมอบมอบนโยบายของนายกรัฐมนตรี เพื่อจัดทำงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2566 ว่า จัดทำยุทธศาสตร์การจัดสรรงบประมาณรายจ่ายประจำปี 2566 ด้านความมั่นคง มีดังนี้
ที่มา