“วิกฤตยูเครน” ทำไมถึงขัดแย้งหนักจนอาจจุดชนวน “สงคราม”

22 ก.พ. 2565 | 21:45 น.
อัปเดตล่าสุด :24 ก.พ. 2565 | 14:08 น.

วิกฤตยูเครนเข้าใกล้จุดสุกงอม หลายฝ่ายหวั่นอาจเกิดสงคราม พาย้อนกลับไปถึงที่มาของชนวนความขัดแย้งของทั้ง 2 ประเทศ

ทั่วโลกไม่อาจละสายตาจากความตึงเครียด “วิกฤตยูเครน” ที่ดำเนินมาอย่างต่อเนื่อง จากการเคลื่อนกำลังทหารกว่า 1 แสนนาย พร้อมรถถังและอุปกรณ์ทางทหารของรัสเซีย ซึ่งถือได้ว่าเป็นการเคลื่อนกำลังที่มากที่สุดในประวัติศาสตร์

 

หลังจากสงครามโลกครั้งที่สอง เข้าประชิดชายแดนยูเครนตั้งแต่ช่วงปลายปี 2021 สร้างความกังวลไปทั่วโลก โดยเฉพาะมหาอำนาจตะวันตกอย่างสหรัฐฯ ชาติยุโรป และองค์การนาโต้ 

 

ช่วงต้นเดือนกุมภาพันธ์ที่ผ่านมา หลายประเทศต่างออกมาแจ้งเตือนประชาชนให้เดินทางออกจากยูเครน โดยเฉพาะ สหรัฐอเมริกา ประธานาธิบดีโจ ไบเดน แห่งสหรัฐฯ ประกาศเตือนให้พลเมืองอเมริกันที่ยังอยู่ในยูเครนรีบเดินทางออกจากประเทศนี้โดยด่วน

 

เมื่อกองทัพรัสเซียและเบลารุสร่วมปฏิบัติการซ้อมรบครั้งใหญ่เป็นเวลา 10 วัน จนถือเป็นการซ้อมรบครั้งใหญ่สุดของรัสเซียนับตั้งแต่ยุคสงครามเย็นและยืนยันว่ารัฐบาลสหรัฐฯ จะไม่ส่งทหารไปช่วยอพยพชาวอเมริกันออกมา หากรัสเซียส่งกำลังทหารบุกยูเครน

ล่าสุด “วลาดีมีร์ ปูติน” ประธานาธิบดีรัสเซีย ประกาศรับรองสถานะของ “ดอแนตสก์” และ “ลูฮันสก์” ที่แยกตัวจากยูเครนให้เป็นรัฐอิสระ ทำให้ทั่วโลกกังวลว่าความขัดแย้งระหว่างทั้ง 2 ประเทศ จะเปิดฉากจนกลายเป็นสงครามในเร็วๆ นี้   

 

ไม่ช้า ชาติตะวันตกนำโดยสหรัฐฯ ก็ประกาศคว่ำบาตรรัสเซียทันที สหภาพยุโรป ระบุว่า การกระทำดังกล่าวละเมิดกฎหมายระหว่างประเทศอย่างชัดเจน และจะตอบโต้ด้วยการคว่ำบาตร สหรัฐยังได้ขอให้คณะมนตรีความมั่นคงแห่งสหประชาชาติ (ยูเอ็นเอสซี) เรียกประชุมฉุกเฉินด่วน

 

เกิดคำถามตามมาว่า ถ้าเกิดสงครามขึ้นจริงระหว่างรัสเซียกับยูเครน อาจไม่จำกัดเฉพาะ 2 ประเทศนี้ เพราะฝ่ายโลกตะวันตกได้ประกาศหลายครั้งว่ารัสเซียจะเผชิญกับมาตรการคว่ำบาตรรุนแรง

จุดเริ่มต้นความขัดแย้ง

  • ยูเครนแยกตัวเป็นเอกราชจากจากใต้ร่มเงาของรัสเซีย และหันมาเพิ่มความสัมพันธ์กับชาติตะวันตกมากขึ้น
  • ยูเครนต้องการเข้าร่วมเป็นสมาชิกนาโต้ และสหภาพยุโรป เพื่อให้หลุดพ้นจากอิทธิพลของรัสเซีย นั่นหมายถึงกลุ่มประเทศสมาชิกนาโต้ ที่นำทีมโดยสหรัฐฯ รวมถึงสหภาพยุโรป อาจมีส่วนเกี่ยวข้องด้วย  
  • นาโต้ให้สัญญาที่กลายมาเป็นประเด็นถึงปัจจุบันว่ายูเครนจะได้เข้าร่วมเป็นสมาชิก เต็มตัว
  • วิกเตอร์ ยานูโควิช ประธานาธิบดีฝ่ายสนับสนุนรัสเซีย ระงับข้อตกลงการค้าเสรีกับ EU พยายามฟื้นฟูความสัมพันธ์กับรัสเซีย ถือเป็นจุดเริ่มต้นความขัดแย้งระหว่างยูเครนกับรัสเซียมาจนถึงทุกวันนี้
  • ปี 2014 ยูเครนลงมติถอดถอนยานูโควิชออกจากตำแหน่ง จะออกหมายจับ ทำให้ต้องหนีไปรัสเซีย เขาระบุว่าเป็นการกระทำผิดกฎหมาย ขอให้และรัสเซียช่วย
  • เกิดการเดินขบวนของกลุ่มผู้ประท้วงสนับสนุนรัสเซียในภูมิภาคไครเมีย เรียกร้องให้รัฐสภาท้องถิ่นต่อต้านรัฐบาลกลางชุดใหม่ และทำประชามติสถานะของไครเมียเพื่อแยกดินแดนรวมกับรัสเซีย
  • การถอดถอนยานูโควิช ทำให้ฝ่ายรัสเซีย โดย วลาดิเมียร์ ปูติน เริ่มต้นแผนการนำไครเมียกลับสู่รัสเซีย และเริ่มเคลื่อนทหารและกองกำลังพิเศษเข้าสู่ไครเมีย
  • การประท้วงในไครเมีย เกิดการปะทะระหว่างฝ่ายสนับสนุนรัสเซียกับยูเครนจนมีผู้เสียชีวิต 2 คน กองกำลังติดอาวุธในชุดเครื่องแบบทหารรัสเซียบุกยึดรัฐสภาไครเมีย ตัดเส้นทางเข้าออกระหว่างไครเมียและยูเครน ยึดสนามบินและศูนย์กลางระบบสื่อสาร
  •  วันที่ 1 มีนาคม รัสเซียผ่านกฎหมายอนุมัติส่งกองทัพและอาวุธยุทโธปกรณ์ไปไครเมีย ทำให้ฐานทัพยูเครนและจุดยุทธศาสตร์ทั้งหมดในไครเมียถูกปิดล้อม 
  • กองทัพรัสเซียเดินหน้าโจมตีฐานทัพและเรือรบยูเครน ทำให้กองทัพยูเครนต้องถอนกำลังทหารทั้งหมดออกจากไครเมียในวันที่ 30 มีนาคม
  • รัฐบาลยูเครนไม่ยอมรับการผนวกรวมไครเมียเข้ากับรัสเซีย ประกาศว่าไครเมียเป็นดินแดนของยูเครนที่ถูกรัสเซียยึดไว้ชั่วคราว
  • ในปีเดียวกัน ยูเครนยังเผชิญการสู้รบกับกลุ่มแบ่งแยกดินแดนที่สนับสนุนรัสเซียในภูมิภาคดอนบาส โดยกลุ่มกบฏแบ่งแยกดินแดนในดอนบัส ประกาศเอกราชจากยูเครน จุดชนวนให้เกิดการสู้รบอย่างต่อเนื่อง
  • ยูเครนและชาติตะวันตกกล่าวหารัสเซียว่าส่งกำลังทหารและอาวุธไปช่วยกลุ่มกบฏในดอนบาส แต่รัฐบาลมอสโกปฏิเสธ พร้อมทั้งวิจารณ์สหรัฐฯ และนาโต้ที่สนับสนุนอาวุธและฝึกซ้อมรบให้ยูเครน
  • ปี 2017 มีการทำข้อตกลงระหว่างยูเครนกับ EU เปิดตลาดการค้าเสรีและการอนุมัติให้ชาวยูเครนเดินทางเข้า EU ปลอดวีซ่า

 

นับว่าเป็นสถานการณ์ที่ทั่วโลกต้องจับตาอย่างใกล้ชิด ว่าความขัดแย้งนี้จะนำไปสู่สงครามเต็มรูปแบบหรือไม่ หรือจะเลวร้ายยิ่งขึ้นไปอีก 

 

ล่าสุด วันที่ 24 กุมภาพันธ์ 2565 สื่อต่างประเทศ รายงานว่าเกิดเหตุระเบิดในเมือง Mariupol ทางชายแดนตะวันออกของ "ยูเครน" ติดต่อกับ "รัสเซีย"

 

โดยคลิปภาพจากกล้องวงจรปิดแสดงให้เห็นแสงระเบิดในเขตเมืองเมื่อเวลาประมาณ 3.30 น.ของวันที่ 24 กุมภาพันธ์ตามเวลาในท้องถิ่น หรือประมาณ 8.30 น. อย่างไรก็ตามยังไม่มีรายงานยืนยันความรุนแรงของสถานการณ์ในพื้นที่อื่นๆ


ขณะที่เมื่อเวลา 06.00 น. ตามเวลาท้องถิ่น (10.00 น. ตามเวลาประเทศไทย) “วลาดิมีร์ ปูติน” ประธานาธิบดีรัสเซีย แถลงการณ์ผ่านสถานีโทรทัศน์ ว่าได้สั่งให้มีการปฏิบัติการทางทหารอย่างเป็นทางการในพื้นที่ทางตะวันออกของยูเครน โดยประกาศ ว่าการปะทะระหว่างกองกำลังรัสเซียและยูเครนเป็นสิ่งที่หลีกเลี่ยงไม่ได้