"อภิวุฒิ พิมลแสงสุริยา" ผู้ก่อตั้งและกรรมการ บริษัท สลิงชอท กรุ๊ป จำกัด เปิดเผยว่า จากการบรรยายเรื่องการ “ผู้นำกับการสื่อสารเพื่อสร้างแรงบันดาลใจ” ให้กับผู้บริหารระดับสูงของธนาคารรัฐแห่งหนึ่ง หนึ่งในปัจจัยพื้นฐานของการสื่อสารอย่างมีประสิทธิภาพ คือความไว้วางใจ (Trust) ที่มีต่อผู้สื่อสาร เพราะไม่ว่าทักษะในการสื่อสารจะดีเพียงใด หากผู้รับสารไม่เชื่อใจผู้สื่อสารแล้ว ทักษะเหล่านั้นก็ไม่มีประโยชน์
ยกตัวอย่างง่ายๆ เช่น เมื่อเร็วๆ นี้มีข่าวว่าไข่ไก่อาจขาดตลาดเพราะเมื่อรัฐบาลประกาศล็อกดาวน์ อาหารสำคัญคู่บ้านคนไทยคือ “ไข่” รัฐบาลจึงออกมาย้ำกับประชาชนทราบว่า ปริมาณไข่ไก่ในตลาดมีเพียงพอ ประชาชนไม่จำเป็นต้องกักตุน
ปรากฏว่าหลักจากประกาศเพียงไม่กี่ชั่วโมง ไข่ไก่เกลี้ยงตลาด ประชาชนแห่ไปซื้อไข่กันอย่างบ้าคลั่ง จนกระทั่งบางร้านต้องจำกัดการซื้อไข่ไก่ต่อคน เป็นต้น
นี่คือปัญหาเรื่องความไว้วางใจที่มีต่อผู้สื่อสาร
ดังนั้นการสร้าง Trust จึงมีความสำคัญมากๆ ในการสื่อสาร
Trust สร้างอย่างไร … วันนี้มีคำตอบ
ความไว้วางใจ เหมือนการหยอดกระปุก หากมีเหรียญสัก 1 พันเหรียญ จะหยอดลงไปในกระปุกทีเดียว คงทำไม่ได้ ต้องค่อยๆ หยอดทีละเหรียญสองเหรียญ แต่ถ้าจะเอาออกจากกระปุกไม่ยาก ทุบทีเดียวออกหมดทั้งกระปุก และกระปุกที่แตกแล้ว นำกลับมาประกอบใหม่ อาจไม่เหมือนเดิมหรือบางกรณี ไม่สามารถนำกลับมาประกอบใหม่ได้อีกเลย
ความไว้วางใจก็เช่นกัน ต้องค่อยๆ สร้าง ทีละเล็กละน้อย แต่ทำลายได้อย่างรวดเร็วภายในพริบตา และเมื่อความไว้วางใจหมดไปแล้ว โอกาสจะสร้างกลับมาใหม่ให้เหมือนเดิมยากมาก หรือบางทีอาจไม่มีโอกาสนั้นอีกเลย ก็เป็นได้
ปัจจัยในการสร้าง Trust ประกอบด้วย