เร่งสร้างสถานีอนามัยต้นแบบ Covid Free Area พัฒนาระบบบริการทั่วประเทศ

30 ต.ค. 2564 | 04:00 น.
อัปเดตล่าสุด :30 ต.ค. 2564 | 11:13 น.

สถานีอนามัยเฉลิมพระเกียรติ 60 พรรษา นวมินทราชินี และสถานีอนามัยที่ได้รับพระราชทานนาม 92 แห่ง พัฒนาระบบบริการในรูปแบบ New normal สอดรับสถานการณ์แพร่ระบาดของโรคโควิด 19 พร้อมพัฒนาสอน.ต้นแบบ Covid Free Area 2 แห่ง และพัฒนาเป็นองค์กรรอบรู้ด้านสุขภาพปฐมภูมิครบทุกแห่ง

ศ.คลินิก เกียรติคุณ นพ.ปิยะสกล สกลสัตยาทร ประธานกรรมการมูลนิธิพัฒนาสถานีอนามัยเฉลิมพระเกียรติ 60 พรรษา นวมินทราชินี (สอน.) เปิดเผยว่า มูลนิธิพัฒนาสถานีอนามัยเฉลิมพระเกียรติ 60 พรรษา นวมินทราชินี ได้ให้ความสำคัญกับการพัฒนาการบริการ ให้สอดรับกับนโยบายลดความแออัดในโรงพยาบาลขนาดใหญ่ของกระทรวงสาธารณสุข โดยสนับสนุนให้ สอน.ทั่วประเทศ นำเทคโนโลยีมาใช้ในการให้บริการมากขึ้น มีการจัดส่งยาให้ผู้ป่วยถึงบ้าน และพัฒนาเครือข่ายอาสาสมัคร/จิตอาสา ออกให้บริการสุขภาพเชิงรุกในชุมชน และจากสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคโควิด - 19 ได้เน้นการปรับการให้บริการในรูปแบบ New normal 

เร่งสร้างสถานีอนามัยต้นแบบ Covid Free Area พัฒนาระบบบริการทั่วประเทศ

รวมถึงปรับปรุงระบบระบายอากาศห้องทันตกรรมให้ได้มาตรฐานปลอดเชื้อโควิด 19 จำนวน 24 แห่ง และยังร่วมกับสถานีอนามัยที่ได้รับพระราชทานนาม รวม 92 แห่งทั่วประเทศ (ข้อมูล ณ วันที่ 25 ตุลาคม 2564) เป็นหน่วยบริการฉีดวัคซีนโควิด 19 โดย 43 แห่ง ให้บริการแก่หน่วยงานราชการ และ 13 แห่ง ให้บริการฉีดวัคซีนซิโนฟาร์มเชิงรุกแก่ประชาชน
เร่งสร้างสถานีอนามัยต้นแบบ Covid Free Area พัฒนาระบบบริการทั่วประเทศ

กลุ่มเปราะบางในพื้นที่ เพื่อเร่งเพิ่มความครอบคลุมการได้รับวัคซีน พร้อมทั้งจัดพื้นที่ Covid Free Area ต้นแบบ ใน สอน. 2 แห่ง คือ สอน.พิกุลทอง จ.สิงห์บุรี และ สอน.บางขันแตก จ.สมุทรสงคราม ซึ่งมีผลงานการฉีดวัคซีนให้กลุ่มเป้าหมาย 608 ในพื้นที่ได้ครอบคลุมถึง ร้อยละ 70 

นอกจากนี้ ยังสนับสนุนให้สอน.ทุกแห่งพัฒนาตนเองสู่การเป็นองค์กรรอบรู้ด้านสุขภาพปฐมภูมิ (Health Literate Organization for Primary care) โดยปี 2562-2563 พัฒนาต้นแบบและนำร่อง 16 แห่ง พร้อมถอดบทเรียนจัดทำเป็นชุดความรู้และคู่มือการให้บริการสุขภาพปฐมภูมิ เพื่อสร้างความรอบรู้ด้านสุขภาพให้กับประชาชน และเป็นคู่มือครูพี่เลี้ยงในการสร้างองค์กรรอบรู้ด้านสุขภาพ ก่อนขยายผลไปสู่สอน.และสถานีอนามัยที่ได้รับพระราชทานนาม ครบทั้ง 92 แห่ง ในปี 2564

เร่งสร้างสถานีอนามัยต้นแบบ Covid Free Area พัฒนาระบบบริการทั่วประเทศ

สำหรับการดำเนินงานของ สอน. ในปี 2565 คณะกรรมการมูลนิธิฯ ได้เห็นชอบในหลักการแผนปฏิบัติการมูลนิธิพัฒนาสถานีอนามัยเฉลิมพระเกียรติ ฯ จำนวน 6 โครงการ และแผนยุทธศาสตร์และแผนปฏิบัติการ จำนวน 7 โครงการ เพื่อให้การดำเนินงานเป็นไปตามวิสัยทัศน์ “องค์กรนำความรอบรู้ สง่างามสมพระเกียรติ”