พนักงานองค์กรของคุณ รู้สึกว่าได้รับการให้เกียรติและมีคุณค่าหรือไม่

06 ม.ค. 2565 | 12:17 น.
อัปเดตล่าสุด :07 ม.ค. 2565 | 15:40 น.

เมื่อคุณถามพนักงานว่า อะไรสำคัญสำหรับพวกเขาที่สุด "การรู้สึกว่าได้รับความเคารพ ให้เกียรติซึ่งกันและกันจากผู้บังคับบัญชา" มักจะอยู่ในอันดับต้นๆ

จากบทความ https://hbr.org/2018/07/do-your-employees-feel-respected หนังสือ Energize Your Workplace: How to Create and Sustain High-Quality Connections at Work โดย Jane E. Dutton เปิดเผยว่า Christine Porath มหาวิทยาลัยจอร์จทาวน์ ได้ทำการสำรวจพนักงานองค์กรเกือบ 20,000 คนทั่วโลก 

 

พบว่า ผู้ตอบแบบสอบถาม จัดอันดับการให้เกียรติกันในที่ทำงาน เป็นพฤติกรรมที่สำคัญที่สุดอย่างหนึ่งของการเป็นผู้นำ ทว่ากลับมีรายงานพฤติกรรม การไม่ให้เกียรติกัน และการอนาจารเพื่อนพนักงานมากขึ้นในแต่ละปี

การให้เกียรติกันในที่ทำงาน เป็นสิ่งที่หลายคนมองข้าม แต่กลับมีความสำคัญมหาศาล เพราะไม่ว่าจะเป็นในองค์กรไหนก็ตาม การให้เกียรติก็เป็นหนึ่งในปัจจัยพื้นฐานที่พนักงานทุกคนแสวงหา จนเป็นหนึ่งในเกณฑ์สำคัญที่คนรุ่นใหม่ส่วนใหญ่ใช้ประกอบการเลือกคนที่จะทำงานด้วย .

 

ในโลกที่ทุก ๆ องค์กรแสวงหาความผูกพันจากพนักงาน และพนักงานแสวงหาการเจริญเติบโตในหน้าที่การงานไปกับองค์กร ‘การให้เกียรติ’ กลับเป็นปัจจัยที่หลายคนมองข้าม แต่สำคัญต่อการเชื่อมทั้งสองความต้องการเข้าด้วยกันให้ลงตัว 

การให้เกียรติพนักงานอย่างถูกวิธี จะส่งผลให้เขาเรียนรู้ไปกับงานได้อย่างก้าวกระโดด พร้อมกับผูกพันกับนายจ้างหรือผู้นำ ที่เอื้อให้การเรียนรู้ของพวกเขาเกิดขึ้นได้มากขึ้นเป็นพิเศษ

 

7 แนวทางที่เหมาะกับการเริ่มต้นสร้างบรรยากาศในองค์กร ให้มีการให้เกียรติซึ่งกันและกัน 

 

1. สร้างบรรทัดฐาน การให้เกียรติซึ่งกันและกัน 

 

พนักงานทุก ๆ คน ควรที่จะรู้สึกได้ว่า ศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ของตนเองนั้นได้รับการมองเห็น และให้เกียรติ โดยเฉพาะกับ พนักงานระดับเริ่มต้นขององค์กร และผู้ใช้แรงงาน เช่น ในองค์กรของ Apple ในยุคของ Tim Cook พนักงาน Sales ระดับเริ่มต้นคนหนึ่ง ได้เล่าความประทับใจแรกที่มีต่อ Tim Cook ว่า “สำหรับ Tim Cook ไม่มีคำว่าคำถามโง่ๆ วิธีที่เขาตอบคำถามทำให้ผมรู้สึกว่าผมเป็นคนที่สำคัญที่สุดใน Apple เขาพูดกับผมเหมือนผมเป็น Steve Jobs” นั่นทำให้พนักงานใน Apple ไม่มีใครรู้สึกว่า ตัวเองเป็นแค่ชิ้นส่วนที่เปลี่ยนไปมาได้ แต่ทุกคนคือหนึ่งในหลายๆชิ้นส่วนที่สำคัญมาก ๆ ของ Apple

 

ดังนั้น ผู้นำควรตั้งคำถามว่า ตำแหน่งงานของเรานั้นกำลังเป็นอุปสรรคในการให้เกียรติพนักงานหรือไม่ และอย่าลืมว่าคำพูดเล็กๆ น้อยๆ ของผู้นำ มีอิทธิพลมหาศาลต่อความรู้สึกมีคุณค่าของพนักงาน

 

2. ผู้นำต้องรู้วิธีการให้เกียรติพนักงานในองค์กรของตัวเอง

 

ไม่ว่าจะเป็นในฐานะผู้นำ หรือเพื่อนร่วมงาน ก็สามารถแสดงออกซึ่งการให้เกียรติเพื่อนร่วมงานด้วยกันได้ ด้วยการแสดงออกแบบพื้นฐานง่ายๆ เช่น การตั้งใจฟังความคิดเห็นที่แตกต่าง นี่คือตุดสำคัญในการให้เกียรติซึ่งกันและกัน 

 

สำหรับผู้นำ การแจกจ่ายงานสำคัญๆ ก็คือการให้เกียรติอย่างยิ่ง รวมถึงการรับฟังความคิดเห็น การให้ความสนใจกับความเป็นอยู่ นอกเหนือการทำงาน และการสนับสนุนพนักงานในสถานการณ์ยากๆ แต่ทั้งนี้ก็ต้องระวังถึงบริบทขององค์กร และตัวตนของแต่ละคน เรื่องบางเรื่อง วิธีการบางอย่าง อาจไม่ใช่การให้เกียรติในบริบทที่เหมาะสม

 

 

 

3. ใช้ประโยชน์จากแรงกระเพื่อมของการให้เกียรติ

 

เราทราบกันดีว่าพฤติกรรมของผู้นำองค์กรนั้น มักจะกลายเป็นแบบอย่างให้พนักงานที่เหลือทำตามไม่ว่าตั้งใจหรือไม่การให้เกียรติ หรือในทางกลับกันการไม่ให้เกียรติก็เช่นกัน และแน่นอนว่าสุดท้ายมันจะนำไปสู่วิธีที่พนักงานของเราปฏิบัติกับลูกค้า

 

ดังนั้น ในฐานะผู้นำจึงต้องฝึกปฏิบัติพฤติกรรมการให้เกียรติดังเช่นในข้อ 2 ให้เป็นกิจวัตร

 

4. ออกแบบการสื่อสารที่แสดงถึงการให้เกียรติอย่างเหมาะสม 

 

ผู้นำต้องฝึกการให้เกียรติทั้งแบบ Earned และ Owned เพื่อให้ได้ผลลัพท์ที่ดีที่สุดกับองค์กร ผู้นำที่ดี ต้องเข้าใจธรรมชาติของพนักงาน และองค์กรตัวเอง การให้เกียรติในรูปแบบไหน จะนำมาซึ่งผลลัพธ์แบบใด แต่ข้อดีคือถ้านึกไม่ออกการให้ทั้งสองอย่างในระดับที่สูงย่อมเป็นเรื่องที่ไม่เสียหาย 

 

แต่ถ้าผู้นำมีแผนในใจว่า ต้องการที่จะสร้างสัมพันธ์ที่ดีในองค์กรมาก และต้องการการทำงานร่วมกันเป็นพิเศษ ก็อาจจะสามารถให้ความสำคัญกับการให้ Owned Respect หรือการให้เกียรติทุกคนอย่างเท่าเทียม มาก่อน หรือในทางกลับกันถ้ากำลังมองหา Superstar ในองค์กร การเอา Earned Respect นำก็จะได้ผลเช่นกัน แต่ก็ต้องแน่ใจว่าพนักงานมองเห็นว่าที่มาที่ไปของคำชมนี้ได้มาอย่างโปร่งใส และมีหลักฐานที่จับต้องได้.

 

 5. การให้เกียรติ ทำได้ไม่จำกัด

 

การตัดสินใจว่าจะให้เกียรติใคร ในเรื่องอะไรบ้างนั้น ไม่เหมือนกับการจัดสรรงบประมาณ การให้เกียรติเป็นสิ่งที่มีไม่จำกัด เป็นสิ่งที่สามารถให้ได้โดยไม่ต้องหวง เพราะเราสามารถให้ Owned Respect กับทุกคนในองค์กรได้ พร้อม ๆไปกับให้ Earned Respect กับทุก ๆ คนที่สมควรได้รับ

 

ที่สำคัญ ต้องอย่าลืมว่า ไม่ว่าพนักงานจะอยู่จุดในของผังองค์กรก็ ไม่ได้ส่งผลว่าเขาจะควรหรือไม่ควรได้รับการให้เกียรติมากน้อยกว่าคนอื่น ๆ โดย Owned Respect นั้นตั้งแต่ CEO จนไปถึงภารโรงสมควรได้รับเท่าเทียมกัน และEarned Respect นั้นควรให้เมื่อทำงานได้เกินความคาดหมาย 

 

6. การให้เกียรติและเห็นค่าคนทำงาน เป็นเตัวช่วยประหยัดเวลา

 

"เวลา" ไม่ใช่ข้อจำกัด ที่ผู้นำหรือเพื่อนร่วมงานจะอ้าง ในการไม่ให้เกียรติผู้อื่น  เพราะ Owned Respect นั้นเป็นสิ่งที่ทำได้ในวิถีปฏิบัติอยู่แล้ว เช่น การทักทาย วิธีการพูด และการตั้งใจฟัง และนอกจากจะไม่กินเวลาแล้ว งานวิจัยหนึ่งของ Christine Porath ระบุว่า การแก้ปัญหาที่เกิดจากกพฤติกรรมการไม่ให้เกียรตินั้น กินเวลาผู้บริหาร 7 สัปดาห์ต่อปีโดยเฉลี่ยจากองค์กรในกลุ่ม Fortune 1000

 

 

7. คอยระวังสถานการณ์ที่การให้เกียรติจะเป็นผลเสีย

 

การให้เกียรติอย่างไม่ตั้งใจ หรือไม่สม่ำเสมอ มักจะนำมาซึ่งข้อเสียมากกว่าข้อดี เพราะพนักงานมักจะมองการแสดงออกแบบ ‘ครึ่ง ๆ กลาง ๆ’ หรือทำแบบขอไปที ถือเป็นความไม่จริงใจ หรือกำลังหวังผลบางอย่าง 

 

สิ่งพึ่งระวัง การให้ Earned Respect ในสถานการณ์ที่ไม่เหมาะสม นอกจากจะไม่ทำให้ผู้รับรู้สึกดีแล้ว ยังทำให้คำพูดอื่น ๆ ของผู้นำหมดความน่าเชื่อถือถตมไปด้วย นั่นเป็นเพราะว่าความจริงใจนั้นเป็นหนึ่งในวิธีการแสดงออกซึ่งการให้เกียรติที่ชัดเจนที่สุดที่พนักงานสามารถรับรู้ได้

 

ทั้ง 7 แนวทาง ถือเป็นเครื่องมือสำคัญของผู้นำ และคนทำงานในองค์กร สามารถนำมาปฏิบัติ เพื่อการขับเคลื่อนองค์กร ทำให้บรรยากาศในการทำงานดีขึ้น สัมพันธภาพในองค์กรดีขึ้น 

 

การเปลี่ยนองค์กร ให้เป็นองค์กรแห่งกันให้เกียรติกัน สามารถทำได้ตั้งแต่เดี๋ยวนี้ ด้วยการเริ่มต้นจากตัวเราเอง ในฐานะผู้นำ และในฐานะเพื่อนร่วมงานที่ดี