โควิด-19 แพร่กระจายไปยัง ผู้สูงอายุ ได้อย่างไร? และทำไมเราจึงต้องใส่ใจผู้สูงวัยเป็นพิเศษ? คือคำถามตั้งต้นที่จะทำให้เราทำความเข้าใจและเริ่มต้นแนวทางปฏิบัติเพื่อ การดูแลและป้องกันผู้สูงวัยจากโควิด-19
เนื่องจากขณะนี้ยังคงมีการระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19 เป็นวงกว้าง ทั้งในเขตกรุงเทพ ปริมณฑล และจังหวัดต่าง ๆ ทั่วประเทศ ซึ่งเชื้อไวรัสนี้ ติดต่อได้ทางละอองฝอยของสารคัดหลั่ง เช่น น้ำมูก น้ำลาย ละอองจากการไอจามหรือการพูดคุยใกล้ชิด ในระยะ 1-1.5 เมตร รวมทั้งการสัมผัสสารคัดหลั่งที่อยู่ตามสิ่งของต่างๆแล้วไปโดนเยื่อบุต่างๆ เช่น ตา จมูก ปาก เป็นต้น
ประกอบกับการแพร่เชื้อสามารถติดต่อจาก ผู้ที่ติดเชื้อที่ยังไม่แสดงอาการ ทำให้ขาดการระมัดระวัง แต่หากมีการติดเชื้อในผู้ที่ร่างกายไม่แข็งแรงรวมถึงผู้สูงอายุ จะมีโอกาสเสียชีวิตมากกว่าคนทั่วไป เนื่องด้วยสภาพร่างกายที่ไม่แข็งแรง ภูมิคุ้มกันลดลงตามวัย โดยเฉพาะผู้สูงอายุที่มีโรคประจำตัว เช่น โรคเบาหวาน โรคความดันโลหิตสูง โรคปอดเรื้อรังโรคไตเรื้อรัง โรคหัวใจและหลอดเลือด โรคมะเร็ง เป็นต้น
ด้วยเหตุนี้ ภาครัฐจึงได้ขอความร่วมมือให้ประชาชนโดยเฉพาะกลุ่มเสี่ยงรวมทั้งผู้สูงอายุ เก็บตัวอยู่ในบ้านให้มากที่สุด เพื่อลดการแพร่กระจายของเชื้อ และเร่งประชาสัมพันธ์ ให้ผู้สูงวัยได้รับวัคซีนป้องกันโควิด รวมทั้งวัคซีนเข็มกระตุ้น เพื่อสร้างภูมิคุ้มกันซึ่งจะทำให้ผู้สูงวัยหากติดเชื้อก็จะมีอาการน้อยลงและลดความเสี่ยงการเสียชีวิต
ในช่วงวันหยุดสงกรานต์ ลูกหลานที่กลับมาจากต่างจังหวัด พึงระวังว่าอาจเป็นผู้นำเชื้อโรคมาสู่ผู้สูงวัยได้ ดังนั้น จึงมีความจำเป็นจะต้องมีแนวทางในการป้องกันและดูแลผู้สูงอายุในสถานการณ์ระบาดของโรคโควิด-19 เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดภาวะไม่พึงประสงค์ ดังกล่าว
จะป้องกันเชื้อโควิด-19 ไม่ให้แพร่สู่ผู้สูงอายุได้อย่างไร
กรณีลูกหลาน-ญาติที่ไม่ใช่ผู้ดูแลหลัก รวมถึงคนรู้จักที่มาเยี่ยมเยือน
แนวทางปฏิบัติสำหรับผู้ดูแลหลักของผู้สูงอายุ และตัวผู้สูงอายุเอง
สังเกตอย่างไรว่าผู้สูงอายุติดเชื้อ
กรณีที่ผู้สูงอายุมีการติดเชื้อเกิดขึ้น อาการอาจไม่ชัดเจนและไม่ตรงไปตรงมา เช่น อาจไม่มีไข้ หรืออาจ
มีอาการอ่อนเพลีย เบื่ออาหาร หรือรับอาหารทางสายยางไม่ได้ ซึมสับสนเฉียบพลัน ความสามารถในการ
ช่วยเหลือตัวเองลดลงอย่างรวดเร็ว ควรรีบปรึกษาแพทย์ เพราะมีความเสี่ยงสูงที่อาการจะรุนแรงมากกว่า
ในวัยอื่นๆ
ทำอย่างไรให้ผู้สูงวัยแข็งแรง แม้ต้องกักตัวอยู่แต่ในบ้าน
การจำกัดบริเวณให้ผู้สูงอายุอยู่แต่ในบ้านเป็นเวลานานติดต่อกันหลายเดือน อาจส่งผลให้สภาพร่างกายและสมองของผู้สูงอายุถดถอยลงจนเกิดภาวะพึ่งพิงในระยะยาว รวมทั้งเกิดความเครียด ทั้งหมดนี้จะส่งผลกระทบกับทั้งครอบครัวทั้งในระยะสั้นและระยะยาว การจะดูแลผู้สูงอายุไม่ให้เกิดการถดถอยของร่างกาย สมอง และ เกิดความเครียดระหว่างที่ผู้สูงอายุต้องเก็บตัวอยู่กับบ้าน ควรยึดหลัก 5อ. ได้แก่
มีรายละเอียด ดังนี้
อาหาร: รับประทานอาหารที่สะอาดถูกสุขลักษณะปรุงสุกใหม่ๆไม่รับประทานอาหารที่หวานหรือเค็มเกินไป
เน้นอาหารที่มีโปรตีนสูงเสริมภูมิคุ้มกัน และควรให้รับประทานอาหารที่หลากหลายครบ 5 หมู่ เพื่อให้ได้รับ
สารอาหารที่ครบถ้วนตามความต้องการของร่างกายและสมอง
ผู้สูงอายุมักมีมีปัญหาสุขภาพในช่องปากซึ่งส่งผลต่อการรับประทานอาหาร เพื่อลดความเสี่ยงที่ต้อง
ออกมาพบทันตแพทย์ในช่วงวิกฤตนี้ ขอแนะน้าผู้สูงอายุให้รักษาสุขภาพช่องปากโดยใช้สูตร 2 - 2 – 2 ดังนี้
แปรงฟันอย่างน้อยวันละ 2 ครั้ง, แปรงฟันนานอย่างน้อย 2 นาที และไม่รับประทานอาหารหลังการแปรงฟัน
2 ชั่วโมง หากมีฟันปลอมให้ถอดฟันปลอมออกล้างหลังรับประทานอาหาร และก่อนเข้านอนเพื่อไม่ให้เป็น
แหล่งสะสมเชื้อโรค หลีกเลี่ยงอาหารแข็งหรือเหนียว
ออกกำลังกาย: ชวนผู้สูงอายุออกกำลังกายด้วยท่าง่ายๆ เช่น การเดิน หรือแกว่งแขนออกกำลังกายในบ้านอย่าง
สม่ำเสมอ อย่างน้อยสัปดาห์ละ 5 วัน วันละ 30 - 60 นาที หรือเท่าที่ทำได้ตามสภาพของผู้สูงอายุ
อารมณ์: หยุดรับข่าวสารที่มากเกินไป โดยจำกัดการติดตามข้อมูลประมาณวันละ 2 ครั้ง ในตอนเช้าและตอน
เย็นหรือตอนกลางคืน เพื่อป้องกันภาวะวิตกกังวลจากการรับข่าวสารมากเกินไป ไม่ควรกังวลหรือตระหนกกับ
ข่าวร้ายให้มากนัก
การทำกิจกรรมที่ผู้สูงอายุชื่นชอบ มีความถนัด มีความภูมิใจ เช่น ทำอาหาร เล่นดนตรี วาดรูป อ่านหนังสือ ดูโทรทัศน์ ปลูกต้นไม้ ทำสวนฯลฯ จะช่วยให้ผู้สูงวัยมีอารมณ์ดี หัวใจสำคัญที่สุด คือ ต้องรู้ก่อนว่าผู้สูงอายุในบ้านของเราชอบอะไร แล้วหากิจกรรมที่สอดคล้องกับที่ท่านชื่นชอบ นอกจากนี้ ยังอาจสร้างความสุขง่าย ๆ ด้วยการชวนผู้สูงวัยทำสิ่งที่เพลิดเพลิน เช่น พูดคุยเรื่องที่ทำให้มีความสุข สนุกสนาน ดูรูปภาพที่เป็นความสุขของครอบครัว
หากยังไม่ได้ผล ลองใช้เทคนิคจัดการความเครียด เช่น การฝึกหายใจคลายเครียด การผ่อนคลายกล้ามเนื้อ การนวดคลายเครียดด้วยตนเอง (สามารถติดตามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ www.thaimentalhealth.com) ควรหลีกเลี่ยงการดื่มสุรา ยาเสพติด
โทรปรึกษาสายด่วนกรมสุขภาพจิต โทร. 1323 ถ้าพบว่า ผู้สูงวัยมีความผิดปกติด้านอารมณ์ หงุดหงิด ฉุนเฉียว โกรธง่าย สมาธิไม่ดี มีความคิดในแง่ลบ หมกมุ่นแต่เรื่องการระบาด และกลัวว่าตนเองจะติดเชื้อ นอนไม่หลับ ต้องพึ่งเหล้า บุหรี่ ยาและยาเสพติดมากขึ้น
เอนกายพักผ่อน: ผู้สูงอายุต้องพักผ่อนให้เพียงพอ การนอนสำคัญมาก ควรให้นอนประมาณไม่เกิน 3 ทุ่ม เพื่อให้พักผ่อนได้เต็มที่ยาวนาน นอนหลับพักผ่อนให้เพียงพอ 7 - 9 ชั่วโมง/วัน
ออกห่างสังคมนอกบ้าน: ระหว่างมีการระบาดทั้งผู้สูงอายุ และ ผู้ดูแลควรเก็บตัวอยู่แต่ในบ้านให้มากที่สุดแต่ญาติหรือผู้ดูแลที่ยังต้องออกไปนอกบ้านด้วยเหตุผลความจำเป็นต่างๆ ไม่ควรเข้าไปคลุกคลีกับผู้สูงอายุ รักษาระยะห่างอย่างน้อย 2 เมตร และควรใส่หน้าการอนามัยหรือหน้ากากผ้าทุกครั้งที่เข้าไปพูดคุยกับผู้สูงอายุ ดังกล่าวมาแล้วข้างต้น
หากกังวลใจหรือมีอาการสงสัยเสี่ยงต่อโรคติดเชื้อโควิด-19 โทรปรึกษาสายด่วนกรมควบคุมโรคโทร 1422
ขอให้สงกรานต์ปีนี้ เป็นช่วงเวลาแห่งความรักความห่วงใยของลูกหลานและผู้สูงวัยในครอบครัว ขอให้เริ่มต้นศักราชใหม่ด้วยสุขภาพที่แข็งแรง และปลอดภัยจากโควิดนะคะ