โรงพยาบาลเวชศาสตร์เขตร้อน มหาวิทยาลัยมหิดล เปิดเผยว่า ปัจจุบันไวรัสตับอักเสบ ที่ค้นพบว่าก่อโรคในคนได้บ่อย ๆ ประกอบด้วย ไวรัสตับอักเสบชนิด เอ บี ซี ดี และ อี โดยสาเหตุนั้นเกิดจาก การติดเชื้อไวรัสเข้าไปในตับ โดยแต่ละชนิดจะมีความแตกต่างกันในการดำเนินโรค
สำหรับ ไวรัสตับอักเสบ เอ หรือ Hepatitis A นั้น กล่าวกันว่าเชื้อตัวนี้เป็นไวรัสดั้งเดิมที่มีการกล่าวถึงตั้งแต่สมัยอียิปต์โบราณ มีการบรรยายไว้ถึงการระบาดโดยเกิด “ดีซ่าน” กันทั้งเมือง
ไวรัสเอนี้ การติดต่อเกิดขึ้นได้ง่ายทางการรับประทานอาหารหรือน้ำที่ปนเปื้อนเชื้อโรค หลังจากที่เชื้อโรคผ่านกระเพาะไปยังลำไส้ ในเบื้องต้นเชื้อจะฝังตัวอยู่ในลำไส้ แต่หลังจากนั้นก็จะกระจายเข้าสู่ตับอันเป็นที่อยู่ที่อุดมสมบูรณ์สำหรับเชื้อตัวนี้
เมื่อเชื้อในตับปนเปื้อนในน้ำดีจากตับเข้าสู่ลำไส้ และปนมาในอุจจาระ คนได้รับอุจจาระที่มีเชื้อไวรัสซึ่งปนเปื้อนมากับน้ำดื่มและอาหาร ก็จะเกิดโรคไวรัสตับอักเสบเอขึ้นได้ ดังนั้น ไวรัสตับอักเสบ เอ จึงเป็นโรคติดต่อทาง “อุจจาระสู่ปาก” หรือ Fecal-Oral route
หลังจากรับเชื้อประมาณ 1-2 สัปดาห์ จะเกิดอาการตับอักเสบเฉียบพลันคือ อ่อนเพลีย เบื่ออาหาร ดีซ่าน
ทั้งนี้ ในผู้ใหญ่จะมีอาการมากกว่าในเด็ก เพศหญิงและเพศชายมีโอกาสเกิดโรคนี้ใกล้เคียงกัน สำหรับประเทศไทยในปัจจุบันการระบาดไม่ได้เกิดขึ้นบ่อย การระบาดที่มีรายงานในช่วงหลัง ๆ มักจะเกิดตามแหล่งที่มีการอยู่อาศัยกันอย่างหนาแน่น เช่น บ้านเด็กอ่อน ค่ายทหาร รวมไปถึงล่าสุด มีการระบาดตามจังหวัดแนวตะเข็บชายแดน
ขณะที่ทั่วโลกสามารถพบได้บ่อย ประมาณ 1.4 ล้านคนต่อปี โดยเฉพาะในประเทศที่ยังไม่พัฒนาและกำลังพัฒนา เพราะยังขาดการสาธารณสุขที่ดี โดยเฉพาะในเรื่องน้ำดื่มและน้ำใช้
ไวรัสตับอักเสบเอเป็นไวรัสที่เป็นเฉียบพลัน หายแล้วหายขาดในคนที่มีภูมิคุ้มกันแล้วจะไม่เป็นซ้ำอีก ปัญหาในปัจจุบันพบน้อยลงตามลำดับจากสาธารณสุขที่ดีขึ้นของประเทศ นอกจากนี้ ในปัจจุบันยังมีวัคซีนป้องกันได้อีกด้วย
สาระน่ารู้เกี่ยวกับ “ไวรัสตับอักเสบ เอ”
การรักษาโรค
ทั้งนี้ ไวรัสตับอักเสบ เอ เป็นสาเหตุให้เสียชีวิตได้จากภาวะตับล้มเหลวประมาณ 0.5% ควรพบแพทย์เสมอเมื่อมีอาการคลื่นไส้ อาเจียน เบื่ออาหารมาก ตัว/ตาเหลือง (ดีซ่าน) และควรต้องรีบพบแพทย์/ไปโรงพยาบาลเมื่ออาการต่างๆเลวร้ายลง เช่น อาเจียนมาก อ่อนเพลียมาก กินไม่ได้ และ/หรือ มีไข้สูง
การป้องกันโรคไวรัสตับอักเสบ เอ ที่สำคัญคือ
ที่มา : สำนักโรคติดต่อทั่วไป กรมควบคุมโรค /โรงพยาบาลเวชศาสตร์เขตร้อน มหาวิทยาลัยมหิดล