"วราวุธ" เคาะ 5 แนวทางนวัตกรรม ส่งเสริมการลดก๊าซเรือนกระจก

25 ก.ค. 2565 | 07:55 น.
อัปเดตล่าสุด :25 ก.ค. 2565 | 16:08 น.

"วราวุธ" รมว.กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม เสนอ 5 แนวทางนวัตกรรม ส่งเสริมการลดก๊าซเรือนกระจก พร้อมย้ำ "คาร์บอนเครดิต" คือคีย์สำคัญขับเคลื่อนอนาคตเศรษฐกิจไทย และโลก

นายวราวุธ ศิลปอาชา รัฐมนตรีว่าการกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ปาฐกถาพิเศษ Innovation Keeping the World : Rethink Recover นวัตกรรมรักษ์โลก ที่จัดโดยเนชั่น กรุ๊ป โดยกลาวถึง 5 แนวนวัตกรรมเกี่ยวกับกาลดการป่อยก๊าซเรือนกระจก ที่รัฐบาลและประเทศไทยกำลังเดินหน้าอย่างเต็มที่ 

  • นโยบายการใช้พลังงานของกระทรวงพลังงาน ที่ว่าด้วย 4D1E ที่จะทำให้ไทยเปลี่ยนผ่านจากการใช้พลังงานฟอสซิล หรือถ่านหิน สู่พลังงานสะอาด ประกอบด้วย

- DIGITALIZATION ยกระดับโครงข่ายสายส่งไฟฟ้าให้เป็นระบบอัจฉริยะรองรับไฟฟ้าที่ผลิตจากพลังงานทดแทนและพัฒนาระบบกักเก็บพลังงาน

- DECARBONIZATION ส่งเสริมการผลิตไฟฟ้าจากแสงอาทิตย์ ชีวมวล ส่งเสริมการใช้ไบโอดีเซล

- DECENTRALIZATION ส่งเสริมโรงไฟฟ้าชุมชน สร้างความสมดุลของพื้นที่ไฟฟ้าในทุกภูมิภาค

- DE-REGULATION สนับสนุนการเปิดพื้นที่เฉพาะให้สามารถพัฒนาและทดสอบนวัตกรรมด้านพลังงานได้โดยผ่อนปรนกฎระเบียบที่เป็นอุปสรรค (ERC Sandbox) และส่งเสริมสตาร์ทอัพด้านพลังงาน

- ELECTRIFICATION ส่งเสริมการใช้ยานยนต์ไฟฟ้า

รวมไปถึงการสนับสนุนแหล่งพลังงานหมุนเวียน (renewable energy) เช่น การใช้โซซล่าเซลลอยน้ำ ในอ่างเก็บน้ำต่างๆ  รวมสมาร์ทกริด หรือสมาร์ทเอ็นเนอร์จี้สโตเรจ (Energy Storage System : ESS) และการส่งเสริมยานยนต์ไฟฟ้า ที่เป็นได้ทั้งการใช้ไฟฟ้า 100% หรือเน็กเจนจากรถไฟฟ้าที่กำลังพัฒนนากันอยู่ รวมไปถึงการเพิ่มสถานีชาร์จรถไฟฟ้าแบบอัดประจุเร็ว 

 

  • การส่งเสริมนวัตกรรมด้วยการกำจัด ก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์

ซึ่งมีหลายแบบ คือ ปลูกต้นไม้ ทำได้ง่าย ถูกสุด และอีกทางคือ การผลิตเทคโนโลโ เช่น การผลิตพลังงานชีวภาพ ด้วยการดักจับคาร์บอนในอากาศ หรือ การดักจับคาร์บอนไดออกไซด์ในอากาศโดยตรง เช่น อังกฤษ และไอซ์แลนด์ มีการตั้งโรงงานขึ้นมาเพื่อดูดคาร์บอนไดออกไซด์ และเก็บคาร์บอนจากอากาศโดยตรง
 

  • นวัตกรรมการเปลี่ยนผ่านเศษฐกิจ ไปสู่ กรีนเอ็นเนอร์จี้

เมื่อก่อนเราใช้น้ำมันเป็นตัวขับเคลื่อนเศรษฐกิจ แต่ในอนาคตอันใกล้ การซื้อขายคาร์บอนเครดิต จะมีบทบาทในการทำธุรกิจ และมีอิทธิพลต่อเศรษฐกิจโลก ดังนั้น ไทยกำลังเปลี่ยนจากการเสรษบกิจ  Black Gold ที่ใช้น้ำมันในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจ มาเป็น Green Gold ซึ่งขณะนี้ ทางกระทรวงทรัพยากรฯ ได้รายงานให้คณะรัฐมนตรี รับทราบถึงนโยบายเรื่องการบริหารจัดการคาร์บอนเครดิตไปแล้วเมื่อ 10 พฤษภาคม 2565 ว่าด้วยเรื่องของระเบียบและหลักเกณ์การซื้อขาย ซึ่ง บีโอไอ ทำหน้าที่ ส่งเสริมการลงทุนเพื่อสิ่งแวดล้อม การให้สิทธิประโยชน์ทางภาษี และ การปรับเปลี่ยนเครื่องจักรเพื่อลดปริมาณการปล่อยก๊าซเรือนกระจก

Green Gold มูลค่าคาร์บอน 325,450 ล้านบาท แนวทางและกลไกการบริหารจัดการคาร์บอนเครดิต (สผ.) และระเบียบว่าด้วยหลักเกณฑ์การขึ้นทะเบียนการซื้อการขาย และถ่ายโอนคาร์บอนเครดิต (อบก.)

"เรามีว่าด้วยหลักกเกณฑ์การซื้อขาย และการถ่ายโอนคาร์อบอนเครดิต ที่ดูแลโดยองค์กรบริหารจัดการก๊าซเรือนกระจก เราตั้งตลาดคาร์บอนเครดิตขึ้น ทำงานระหว่างสภาอุตสาหกรรม และกระทรวงทรัพยากรฯ ให้ผู้ซื้อผู้ขาย สามารถเทรดคาร์บอนเครดิตได้ เราจะไปสู่ Green Gold" นายวราวุธกล่าว  

  • ว่าด้วยการวิจัย พัฒนา และการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีสูงสุด เพื่อการดักจับ และการกักเก็บการดูดซับคาร์บอนจากอากาศ

เปลี่ยนคาร์บอนเป็นของเหลว แล้วอัดกลับ รวมไปถึงการใช้ปูนซีเม้นท์ กรีนไฮโดรเจน การสนับสนุนการใช้เทคโนโลยีในภาคการเกษตร เช่น Thai Rice Nama เป็นการปลูกข้าวแบบเปียกสลับแห้ง ที่นอกจากลดต้นทุนและะเพิ่มผลผลิตทางการเกษตรแล้ว ยังสามารถลดก๊าซเรือนกระจกได้ถึง 70% 

นอกจากนี้ ยังเน้นจุดแข็งของคนไทย ที่มีทั้งปราชญ์ชาวบ้าน ภูมิปัญญาท้องถิ่น นำความรู้เหล่านี้มาปรับใช้ เพื่อเพิ่มประสิทธิผลและสร้างความเป็นอยู่ที่ดีให้เกษตรกร โดยไม่ต้องพึ่งปุ๋ยพึ่งยา

  • การส่งเสริมและการปรับตัวให้เข้ากับปัญหาการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศ ด้วยการอาศัยงานวิจัยและการพัฒนา 

 

นายวราวุธ กล่าวอีกว่า การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ คือ ทางรอด ไม่ใช่ทางเลือก กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ขับเคลื่อนการดำเนินงานด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศของประเทศ ซึ่งตอนนี้ทั่วโลกได้เห็นพ้องตรงกันและให้ความร่วมมือ ในการมาแก้ไขปัญหาร่วมกัน  ภายใต้ "ความตกลงปารีส" (Paris Agreement)

 

ที่ผ่านมา ประเทศไทยได้แสดงวิสัยทัศน์ระยะยาวในการพัฒนาการปล่อยก๊าซเรือนกระจกในระดับต่ำของประเทศไทย โดยนายกรัฐมนตรี ในงาน COP26 เมื่อวันที่ 1 พ.ย. 2564 โดยประกาศ ปี 2050 : Carbon neutrality ความเป็นกลางทางคาร์บอน ปี 2065 : Net Zero GH Emissions และปี 2030 : NDC 40%  ซึ่งกระทรวงทรัพยากรฯ ได้พยายามปรับปรุงและพัฒนากลยุทธ์ให้สอดคล้องกับแนวทางดังกล่าว โดยอากศัยความร่วมมือทั้งจากภาครัฐ และเอกชน รวมถึงประชาชนทั่วไปเพื่อลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกในอีก 3 ปีข้างหน้า จาก 368 ล้านตันคาร์บอนไดออกไวด์เทียบเท่า ให้เหลือ 120 ล้านตันคาร์บอนไดออกไซด์เทียบเท่า 

 

นอกจากนี้ กระทรวงทรัพยากรฯ ยังเร่งผลักดันร่างพระราชบัญญัติการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ หรือ พ.ร.บ.Climate Change เป็นครั้งแรกของประเทศไทย ซึ่งเป็นการดำเนินงานภายใต้การปฏิรูปประเทศ และจะเป็นเครื่องมือสำคัญ ที่จะยกระดับการลดก๊าซเรือนกระจกจาภาคสมัครใจ มาสู่ภาคบังคับ และยังเพิ่มเติมบทบัญญัติเกี่ยวกับการจัดการคาร์บอนเครดิต หรือกลไกทางการเงินที่จำเป็น ในการที่จะกำหนดเป้าหมายการลดก๊าซเรือนกระจกรายสาขา และจะถ่ายทอด เป้าหมายเหล่านั้นไปสู้การทำนโยบายและแผนรายสาขา เพื่อครอบคลุมแนวทางทั่วประเทศต่อไป