นาย พศิน อินทรวงค์ นักเขียน , คอลัมนิสต์ , วิทยากรบรรยายพิเศษเกี่ยวกับการพัฒนาจิต บรรยายในหลักสูตร Wealth of Wisdom หัวข้อ “อริยทรัพย์ ในโลกทุนนิยม” ว่า ในโลกปัจจุบัน เงินมีความสำคัญ ไม่มีใครปฏิเสธว่า เงินคือส่วนสำคัญที่ทำให้มีความสุข สุขที่ได้จากการกินอาหารอร่อย การได้ในสิ่งที่อยากได้ สิ่งเหล่านี้ เรียกว่า กามสุข
นายพศิน อธิบายถึงความสุขต่อไปว่า ความสุข คือ จิตที่มีความเบิกบาน โปร่งโล่งสบาย มีความรู้สึกอิ่มเอม ต่างจากความทุกข์ ที่ให้ความรู้สึกอึดอัด บีบคั้น
ซึ่งความสุข มีถึง 4 ระดับ คือ
ซึ่งผู้ที่เสพความสุขที่ประณีตมากๆ จะมีความต้องการความสุขในระดับหยาบน้อยลง
นายพศิน กล่าวถึงคำสอนของพระพุทธองค์ เกี่ยวกับความสุข ต่อไปว่า พระพุทธองค์ ไม่เคยปฏิเสธความสุขจากกามคุณ แต่จะทำอย่างไร ให้ความสุขของความเป็น ฆราวาสนั้น เป็นดั่งเนื้อที่อยู่ในบ่วง แต่ไม่ติดบ่วง คือ มีวัตถุ เงินทอง ลาภ ยศ ชื่อเสียง ที่เปรียบเหมือนเนื้อ แต่ต้องไม่ยึดติด ยึดมั่นถือมั่น เปรียบเหมือนการไม่ติดในบ่วงนั่นเอง ซึ่ง ความสุขชั้นฆราวาสนั้น คือต้องหาความพอดีตรงกลางให้เจอ ไม่สุดโต่งเกินไป ถึงขนาดว่า เงินทองไม่ใช่สิ่งนำมาซึ่งความสุข หรือ มีชีวิตเพื่อแสวงหาวัตถุเงินทอง มีวัตถุเงินทองเป็นสรณะ
พลังงานที่ขับเคลื่อนชีวิตนั้น มี 3 ระบบ คือ
ทำให้มนุษย์ลงมือทำ และแสวงหาในสิ่งที่ต้องการ แม้จะไร้น้ำใจ หรือคิดถึงแต่ตนเองก็ตาม ซึ่งตัณหานี้ ไม่มีวันสิ้นสุด มักจะขยายความต้องการไปเรื่อยๆ นี่จึงเป็นเหตุให้ ทรัพยากรบนโลก มากองอยู่ที่คนบางกลุ่ม เกิดเป็นปัญหาด้านความเหลื่อมล้ำ
การที่เห็นผู้อื่นมีความสุข สามารถเป็นพลังขับเคลื่อนให้มนุษย์ทำสิ่งต่างๆให้เกิดผลได้เช่นกัน แต่ต่างจากข้อแรก ที่จิตใจที่แตกต่างกัน
คือ หากทำปัจจุบันให้เป็นเหตุแห่งความสำเร็จแล้ว ย่อมได้ผลแห่งความสำเร็จ แม้ไม่ได้ตั้งความปรารถนาในความสำเร็จนั้นก็ตาม เช่นที่พระพุทธองค์กล่าวว่า “ไม่มีโภคะใดๆได้มาด้วยความอยาก อุปมา ผู้นำงา เคี่ยวบนกระทะที่จุดไฟ แม้มิได้ต้องการน้ำมันงา ก็ย่อมได้น้ำมันงา ตรงกันข้าม ผู้นำกรวด เคี่ยวบนกระทะที่จุดไฟ แม้เคี่ยวเป็นร้อยปี ต่อให้ปรารถนาน้ำมันงา ก็ไม่ได้น้ำมันงา
ซึ่งหากมีคนเก่ง 2 คน แต่ขับเคลื่อนด้วยพลังงานที่ต่างกัน คนที่ขับเคลื่อนด้วยพลังงานตัณหา ย่อมเกิดเป็นปัญหาความเหลื่อมล้ำ แต่หากขับเคลื่อนด้วยพลังเมตตากรุณา ก็จะมีการจ่ายออก เกิดการช่วยเหลือซึ่งกันและกัน
สิ่งที่น่าสนใจอีกประการคือ ปัจจุบันโลกพัฒนาไปมาก แต่มนุษย์กลับมีความสับสนทางความคิด จากตัวเลขของ องค์การอนามัยโลก ที่ระบุว่า มีประชากรโลก ป่วยด้วยโลกซึมเศร้ามากถึง 10% หรือ 800ล้านคน จากจำนวนประชากรโลกร่วม 8,000 ล้านคน
เนื่องจาก มนุษย์การพัฒนาโลก แบบกลับหัวจากฐานที่ควรจะเป็น โดย 3 ฐานสำคัญของโลก ซึ่งสำคัญที่สุดคือ ฐานธรรมชาติ ต่อมาจึงเป็น ฐานมนุษย์ และฐานเศรษฐกิจ สังคม แต่กลายเป็นว่า มนุษย์ถูกใช้ขับเคลื่อนเพื่อสร้าง GDP
การนอนครั้งเดียว และรับประทาน อาหาร 3 มื้อ เกิดขึ้นจากการปฏิวัติอุตสาหกรรม ที่มนุษย์ต้องมีรูปแบบชีวิต ให้สอดคล้องกับตลาดซื้อขาย ทั้งที่ หากมนุษย์ ได้นอนกลางวัน และทานอาหารน้อยลง จะมีสุขภาพที่ดีขึ้น แต่เนื่องจาก เราใช้ฐานเศรษฐกิจ สังคม เป็นตัวนำ ตามมาด้วยมนุษย์ แล้วเอาธรรมชาติมารับใช้เศรษฐกิจ สังคม
นายพศิน กล่าวถึงถึงการเรียนรู้ของโลกใบนี้ว่า มหาวิทยาลัย ที่เกิดขึ้นตั้งแต่ยุคปฏิวัติอุตสาหกรรม สอนให้มนุษย์สร้าง GDP แต่ไม่เคยเรียนรู้เรื่องการทำงานของจิตใจ ซึ่งถือว่าเป็นสิ่งผิดปกติที่ถือว่าร้ายแรง คือเราไม่เคยเรียนรู้การทำงานของจิตใจ เมื่อคิดสิ่งใดทำให้ทุกข์ ก็พยายามไม่คิดถึงสิ่งนั้น แต่ทางจิตวิทยา สิ่งๆนั้นจะยิ่งมีพลานุภาพมากขึ้น
นายพศิน เล่าถึงการทำงานของจิตว่า จิตมนุษย์ ไม่ได้คิดในสิ่งที่ควรคิด แต่จิตจะคิดซ้ำในสิ่งที่จิตคลุกคลี คุ้นเคย และผลิตซ้ำๆ หากเป็นคนคิดแต่เรื่องสุข จิตก็จะเคยชินและคิดถึงเรื่องสุขซ้ำๆ ความทุกข์ก็เช่นกัน มนุษย์ มักไม่รู้ความคิดตัวเอง ซึ่งความคิดที่เป็นกุศล ยังสามารถปล่อยให้คิดต่อไปได้ แต่หากคิดอกุศล ต้องมองให้เห็นความคิดตัวเอง มีสติรู้ตัว และมีอุบายพาตัวเองออกจากความคิดนั้น รวมถึง การพาตัวเองออกจากแหล่งกำเนิดความทุกข์ ที่แท้จริง
ดัชนีวัดความสำเร็จของมนุษย์นั้น มักวัดจากตัวเงิน และทรัพย์สมบัติที่มี แต่ในทางธรรม นั้น การวัดความเติบโตทางจิตวิญาณ วัดจากการมีจิตที่เป็นอิสระจากสิ่งต่างๆ อิสรภาพจากกิเลสทั้ง 3 ขั้น คือ พ้นกิเลสชั้นต้น การไม่เบียดเบียนผู้อื่น ,พ้นกิเลสชั้นกลาง การไม่ยึดติดใน ลาภยศ สรรเสริญสุข และกิเลสชั้นสูง คือ การไม่ยึดติดในอารมณ์ เช่นความสงบ ความดีใจ ซึ่งหากพ้นได้จากกิเลสทั้ง 3 นี้ คือศักยภาพสูงสุด ในความเป็นมนุษย์ เป็นอริยทรัพย์ที่ต้องฝึก เพื่อสะสมไว้