ถ่ายทอดสด ซูเปอร์ฟูลมูน ดวงจันทร์เต็มดวงใกล้โลกที่สุดในรอบปี วันออกพรรษา

17 ต.ค. 2567 | 04:51 น.
อัปเดตล่าสุด :17 ต.ค. 2567 | 05:04 น.

เย็นนี้ห้ามพลาด! "ซูเปอร์ฟูลมูน" ดวงจันทร์เต็มดวงใกล้โลกที่สุดในรอบปี ในวันออกพรรษา 2567 เช็คช่วงเวลาชมจันทร์ จุดสังเกตการณ์ Super Full Moon 5 แห่งทั่วไทย พร้อมช่องทางถ่ายทอดสดที่นี่

วันที่ 17 ตุลาคม 2567 วันนี้เป็นวันออกพรรษา 2567 หรือวันขึ้น 15 ค่ำเดือน 11 นอกจากจะเป็นวันสำคัญทางพุทธศาสนาแล้ว ในช่วงเย็นจนถึงช่วงค่ำของวันนี้ยังมีปรากฏการณ์ทางดาราศาสตร์ นั่นก็คือ "ซูเปอร์ฟูลมูน" (Super Full Moon) ดวงจันทร์เต็มดวงใกล้โลกที่สุดในรอบปี สำหรับใครที่ชื่นชอบการชมจันทร์งานนี้อย่าพลาด ทั้งนี้สามารถตรวจสอบช่วงเวลา และทำความรู้จักปรากฎการณ์ "ซูเปอร์ฟูลมูน" พร้อมแนะจุดสังเกตการณ์ทั้ง 5 แห่งทั่วไทยและช่องทางถ่ายทอดสดดังนี้


ซูเปอร์ฟูลมูน (Super Full Moon) เริ่มดูได้ตั้งแต่กี่โมง ดูได้จากทิศไหน

  • เวลาประมาณ 18:28 น. 
  • เริ่มสังเกตการณ์ได้ตั้งแต่ช่วงค่ำ ทางทิศตะวันออก หลังจากนั้นชมได้ตลอดคืนจนถึงรุ่งเช้า

ซูเปอร์ฟูลมูน" ดวงจันทร์เต็มดวงใกล้โลกที่สุดในรอบปี ในวันออกพรรษา 2567

รู้จักปรากฎการณ์ซูเปอร์ฟูลมูน (Super Full Moon) 

สถาบันวิจัยดาราศาสตร์แห่งชาติ (NARIT) ระบุว่าปรากฏการณ์ “ดวงจันทร์เต็มดวงใกล้โลกที่สุดในรอบปี” หรือ “ซูเปอร์ฟูลมูน” (Super Full Moon) คือดวงจันทร์จะปรากฏเต็มดวงและอยู่ในตำแหน่งใกล้โลกที่สุดในรอบปี ที่ระยะประมาณ 357,358 กิโลเมตร  ด้วยระยะดังกล่าวทำให้คืนดวงจันทร์เต็มดวงและมีขนาดปรากฏใหญ่กว่าปกติเล็กน้อย
 

การที่ดวงจันทร์โคจรรอบโลกเป็นวงรี 1 รอบ ใช้เวลา 27.3 วัน ส่งผลให้ในแต่ละเดือนจะมีทั้งวันที่ดวงจันทร์ใกล้โลกและไกลโลก แต่ทว่า ณ ขณะที่ดวงจันทร์โคจรมาอยู่ตำแหน่งใกล้โลกที่สุด หรือไกลโลกที่สุด อาจไม่ใช่วันที่ดวงจันทร์เต็มดวงก็ได้ นักดาราศาสตร์จึงใช้ “ช่วงที่สามารถเห็นดวงจันทร์เต็มดวง” มากำหนดวันเกิดปรากฏการณ์ ที่เกี่ยวกับตำแหน่งการโคจรของดวงจันทร์ใกล้โลกและไกลโลกที่สุด ทั้งนี้มีการเรียกตำแหน่งของดวงจันทร์ที่ใกล้และไกลโลกที่สุด ดังนี้

  • ตำแหน่งที่ดวงจันทร์ใกล้โลกที่สุด เรียกว่า เปริจี (Perigee) มีระยะห่างเฉลี่ยประมาณ 357,000 กิโลเมตร 
  • ตำแหน่งที่ดวงจันทร์ไกลโลกที่สุด เรียกว่า อะโปจี (Apogee) มีระยะห่างเฉลี่ยประมาณ 406,000 กิโลเมตร 

 

อนึ่ง การที่ผู้คนบนโลกมองเห็นดวงจันทร์มีขนาดปรากฏใหญ่กว่าปกติในคืนใกล้โลกนั้น นับเป็นเหตุการณ์ปกติที่สามารถอธิบายได้ตามหลักการทางวิทยาศาสตร์

เปรียบเทียบขนาดปรากฎการณ์ของดวงจันทร์
 

สถาบันวิจัยดาราศาสตร์แห่งชาติ (NARIT)แนะจุดชม"ซูเปอร์ฟูลมูน"  5 แห่ง

  • เชียงใหม่ : อุทยานดาราศาสตร์สิรินธร เชียงใหม่ โทร. 084-0882261
  • โคราช : หอดูดาวเฉลิมพระเกียรติ 7 รอบพระชนมพรรษา นครราชสีมา โทร. 086-4291489
  • ขอนแก่น : หอดูดาวเฉลิมพระเกียรติ 7 รอบ พระชนมพรรษา ขอนแก่น โทร. 063-8921854
  • ฉะเชิงเทรา : หอดูดาวเฉลิมพระเกียรติ 7 รอบ พระชนมพรรษา ฉะเชิงเทรา โทร. 084-0882264
  • สงขลา : หอดูดาวเฉลิมพระเกียรติ 7  รอบ พระชนมพรรษา สงขลา โทร. 095-1450411

กิจกรรมไฮไลต์ที่จัดขึ้น ณ  5 จุดทั่วไทย ตั้งแต่เวลา 18:00 - 22:00 น. 

  • ส่องหลุมบนดวงจันทร์ ดาวเสาร์ ดาวพฤหัสบดี ผ่านกล้องโทรทรรศน์
  • ลุ้นชมดาวหางจื่อจินซานแอตลัส ช่วงหัวค่ำ
  • แต่งกายธีม Halloween เข้าร่วม รับ NARIT point พิเศษ
  • ชมดาวเคล้าเสียงเพลง
  •  พิเศษ ณ เชียงใหม่ ชวนฟัง Special Talk "เรื่องเร้นลับของดวงจันทร์" และเก็บภาพความประทับใจกับ "ดวงจันทร์ยักษ์"

 

ส่วนใครที่เป็นแฟนหน้าจอ ก็อย่าพลาดเพราะสถาบันวิจัยดาราศาสตร์แห่งชาติ (NARIT) จะมีการถ่ายทอดสดปรากฏการณ์"ซูเปอร์ฟูลมูน" ผ่านช่องทางดังนี้

 

สถาบันวิจัยดาราศาสตร์แห่งชาติ (NARIT)แนะจุดชม"ซูเปอร์ฟูลมูน"  5 แห่ง

ที่มาข้อมูล-ภาพ

  • สถาบันวิจัยดาราศาสตร์แห่งชาติ (NARIT)