อลังการ “ขบวนพยุหยาตราทางชลมารค 2567” เรือพระราชพิธีหนึ่งเดียวในโลก

26 ต.ค. 2567 | 21:08 น.

สักครั้งในชีวิตที่คนไทยมีโอกาสได้ชม “ขบวนพยุหยาตราทางชลมารค 2567” พระราชพิธีเสด็จพระราชดำเนินถวายผ้าพระกฐิน โดยขบวนเรือพยุหยาตราทางชลมารค ณ วัดอรุณราชวรารามราชวรมหาวิหาร วันที่ 27 ตุลาคม 2567 ความอลังการบนโค้งน้ำเจ้าพระยา มรดกทาวัฒนธรรมที่สืบทอดมาตั้งแต่โบราณกาล

พระราชประเพณีการจัดกระบวน “พยุหยาตราทางชลมารค” เป็นหนึ่งในมรดกทางวัฒนธรรมไทย ตั้งแต่สมัยสุโขทัย สืบทอดต่อมาในสมัยกรุงศรีอยุธยา กรุงธนบุรี กรุงรัตนโกสินทร์ จนถึงปัจจุบัน

อลังการ “ขบวนพยุหยาตราทางชลมารค 2567” เรือพระราชพิธีหนึ่งเดียวในโลก

ทั้งยังนับเป็นครั้งแรกในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 10 สำหรับพระราชพิธีทรงบำเพ็ญพระราชกุศลถวายผ้าพระกฐิน โดยขบวนพยุหยาตราทางชลมารค 2567 เป็นอีกหนึ่งในพระราชพิธี เนื่องในโอกาสมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา 6 รอบ ณ วัดอรุณราชวรารามราชวรมหาวิหาร ในวันที่ 27 ตุลาคม 2567 

ขบวนพยุหยาตราทางชลมารค

ขบวนพยุหยาตราทางชลมารค 2567

ความงดงามของริ้วขบวนพยุหยาตราทางชลมารคในครั้งนี้ มีเรือพระราชพิธีจำนวนทั้งสิ้น 52 ลำ จัดขบวนเป็น 5 ริ้ว 3 สาย ความยาว 1,200 เมตร กว้าง 90 เมตร โดยใช้กำลังพลประจำเรือ ในขบวนเรือพระราชพิธีรวมทั้งสิ้น 2,200 นาย

อลังการ “ขบวนพยุหยาตราทางชลมารค 2567” เรือพระราชพิธีหนึ่งเดียวในโลก อลังการ “ขบวนพยุหยาตราทางชลมารค 2567” เรือพระราชพิธีหนึ่งเดียวในโลก

ขบวนตั้งต้นออกจากท่าวาสุกรี (ท่าเรือวัดราชาธิวาส) ผ่านสะพานพระรามแปด สะพานพระปิ่นเกล้า มุ่งหน้าไปยังวัดอรุณราชวรารามราชวรมหาวิหาร รวมเป็นระยะทางทั้งสิ้น 4.2 กิโลเมตรตลอดสองฝั่งเจ้าพระยา

ขบวนพยุหยาตราทางชลมารคเป็นเรือพระราชพิธี หนึ่งเดียวในโลก ซึ่งเป็นภาคภูมิใจในความเป็นไทย เรือพระราชพิธีในขบวนพยุหยาตราทางชลมารค ทั้ง 52 ลำ ประกอบไปด้วย เรือพระที่นั่ง 4 ลำ ได้แก่ เรือพระที่นั่งสุพรรณหงส์ เรือพระที่นั่งอนันตนาคราช เรือพระที่นั่งอเนกชาติภุชงค์ และเรือพระที่นั่งนารายณ์ทรงสุบรรณ รัชกาลที่ 9, เรือรูปสัตว์ 8 ลำ อาทิ อสุรวายุภักษ์-อสุรปักษี, เรือคู่ชัก 2 ลำ, เรือพิฆาต 2 ลำ, เรือประตูหน้า 2 ลำ, เรือกลอง 2 ลำ, เรือแซง 7 ลำ, เรือตำรวจ 3 ลำ และเรือดั้ง 22 ลำ

อลังการ “ขบวนพยุหยาตราทางชลมารค 2567” เรือพระราชพิธีหนึ่งเดียวในโลก

เรือไฮไลท์ในขบวนเรือพระราชพิธี พยุหยาตราทางชลมารค

เรือไฮไลท์ในขบวนพยุหยาตราทางชลมารค คือ เรือพระที่นั่ง 4 ลำ ได้แก่ เรือพระที่นั่งสุพรรณหงส์ เรือพระที่นั่งนารายณ์ทรงสุบรรณ รัชกาลที่ 9 เรือพระที่นั่งอนันตนาคราช และเรือพระที่นั่งอเนกชาติภุชงค์

  • เรือพระที่นั่งศรีสุพรรณหงส์

เป็นเรือพระที่นั่งกิ่ง หรือ เรือพระที่นั่งชั้นสูงสุด ซึ่งเป็นที่ประทับของพระมหากษัตริย์ และพระบรมราชินี แกะสลักโขนเรือเป็นรูปหงส์ เป็นลำทรงของพระมหากษัตริย์ในขบวนพยุหยาตราทางชลมารค

เรือพระที่นั่งศรีสุพรรณหงส์

เดิมชื่อเรือพระที่นั่งศรีสุพรรณหงส์ มีมาตั้งแต่สมัยกรุงศรีอยุธยา ทราบได้จาก บทเห่เรือของเจ้าฟ้าธรรมธิเบศรไชยเชษฐ์สุริยวงศ์หรือเจ้าฟ้ากุ้ง ที่ส่งประพันธ์ไว้ว่า “สุพรรณหงส์ทรงพู่ห้อย งามชดช้อยลอยหลังสินธุ์ เพียงหงส์ทรงพรหมมินทร์ ลินลาศเลื่อนเตือนตาชม”

สำหรับเรือพระที่นั่งสุพรรณหงส์ ลำปัจจุบันถูกสร้างขึ้นใหม่ในสมัยรัชกาลที่ 5 แล้วเสร็จในสมัยรัชกาลที่ 6 เมื่อพุทธศักราช 2454 โขนหัวเรือเป็นรูปหงส์ ลงรักปิดทองประดับกระจกมีพู่จามรีห้อย ปลายพู่เป็นแก้วผลึก

เรือพระที่นั่งสุพรรณหงส์

ภายนอกทาสีดำ ท้องเรือภายในทาสีแดง ตอนกลางลำเรือทอดบัลลังก์กัญญาหรือบุษบกสำหรับเป็นที่ประทับ มีความยาว 46.15 เมตร  กว้าง 3.17 เมตร ลึก 0.94 เมตร ใช้ฝีพาย 50 คน ทั้งนี้ เรือพระที่นั่งสุพรรณหงส์ ยังได้รับรางวัลยกย่องให้เป็นเรือมรดกโลก จากองค์การเรือโลก (WORLD SHIP TRUST) แห่งสหราชอาณาจักร เมื่อปี 2535 อีกด้วย

  • เรือพระที่นั่งอนันตนาคราช 

เป็นเรือพระที่นั่งกิ่ง เป็นเรือพระที่นั่งบัลลังก์ในกระบวนพยุหยาตราชลมารค โดยปกติจะใช้เป็นเรือพระที่นั่งรอง หรือเรือเชิญผ้าพระกฐิน และประดิษฐานบุษบกสำหรับพระพุทธรูปสำคัญซึ่งมีโขนเรือเป็นรูปพญานาค 7 เศียร สร้างขึ้นในรัชกาลที่ 3 ซึ่งทรงพระราชดำริว่าพระที่นั่งครุฑของเดิมก็มีอยู่แล้ว แต่พระที่นั่งนาคยังหามีไม่

เรือพระที่นั่งอนันตนาคราช

จึงโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมให้ทำเรือพระที่นั่งนาคา 7 เศียรนี้ขึ้น ส่วนลำปัจจุบันสร้างขึ้นในรัชสมัยรัชกาลที่ 6 แล้วเสร็จเมื่อวันที่ 15 เมษายน 2475 โดยได้รับการซ่อมแซมอีกครั้งในสมัยรัชกาลที่ 9 เมื่อปี 2510 ท้องเรือภายในทาสีแดง ยาว 42.95 เมตร กว้าง 2.95 เมตร กินน้ำลึก 0.31 เมตร ใช้ฝีพาย 54 คน

  • เรือพระที่นั่งอเนกชาติภุชงค์ 

ลำปัจจุบันสร้างขึ้นใหม่ในสมัยรัชกาลที่ 5 ซ่อมแซมใหม่ในปี 2510 ชื่อเรือมาจากคำภาษาสันสกฤต ว่า อเนกะชาตะภุชงคะ แปลว่า งูหลากหลายชนิด ซึ่งสอดคล้องกับรูปโขนเรือที่ลงรักปิดทองมีลายรูปงูตัวเล็กๆจำนวนมาก

เรือพระที่นั่งอเนกชาติภุชงค์

คำว่า ภุชงคะ ในภาษาสันสกฤต มีความหมายเดียวกันกับคำว่า นาคะ หรือ นาค ในภาษาไทย โดยนาคที่เป็นเทพหรือทิพยนาค เป็นตัวแทนแห่งพลังอำนาจ ความรอบรู้ และความอุดมสมบูรณ์ ลำเรือภายนอกทาสีชมพู ท้องเรือภายในทาสีแดง ยาว 45.50 เมตร กว้าง 3.15 เมตร กินน้ำลึก 0.46 เมตร ใช้ฝีพาย 61คน

  • เรือพระที่นั่งนารายณ์ทรงสุบรรณ รัชกาลที่ 9

เป็นเรือสร้างน้อมเกล้าฯ ถวายในหลวงรัชกาลที่ 9 เนื่องในพระราชพิธีกาญจนาภิเษก เมื่อปี 2539 โดยกองทัพเรือร่วมกับกรมศิลปากร ด้วยการนำโขนเรือพระที่นั่งนารายณ์ทรงสุบรรณ ที่สร้างขึ้นในสมัยรัชกาลที่ 3 และรัชกาลที่ 4 มาเป็นต้นแบบ

เรือพระที่นั่งนารายณ์ทรงสุบรรณ รัชกาลที่ 9

โดยโขนเรือและตัวเรือจำหลักลงรักปิดทองประดับกระจก ที่หัวเรือเบื้องใต้ครุฑเป็นช่องสำหรับปืนใหญ่ กลางลำเรือทอดบัลลังก์กัญญาและมีแท่นประทับ เรือมีความยาว 44.3 เมตร กว้าง 3.20 เมตร ลึกถึงท้องเรือ 1.10 เมตร กินน้ำลึก 40 เซนติเมตร มีฝีมือพาย 50 นาย

อลังการ “ขบวนพยุหยาตราทางชลมารค 2567” เรือพระราชพิธีหนึ่งเดียวในโลก

การจัดริ้วกระบวนได้แบ่งออกเป็น 2 แบบ ได้แก่ ขบวนพยุหยาตราใหญ่ และขบวนพยุหยาตราน้อย ซึ่งเรือพระที่นั่ง จะแวดล้อมไปด้วยริ้วขบวนเรือของขุนนาง และทหารในกอง กรมต่างๆ ที่เรียกว่าเรือหลวง มีการจัดเรียงลำดับเรือต่างๆ ตามแบบแผนของการจัดทัพที่มีมาแต่โบราณ

ริ้วขบวนพยุหยาตราทางชลมารค

โดยแบ่งออกเป็น 5 ตอน คือ ขบวนนอกหน้า ขบวนในหน้า ขบวนเรือพระราชยาน ขบวนในหลัง และขบวนนอกหลัง เต็มไปด้วยความสวยงาม ความโอ่อ่าตระการตา และความมีระเบียบสมกับเป็นประเพณีอารยธรรมอันสูงส่งของชาติไทยแต่โบราณ

อลังการ “ขบวนพยุหยาตราทางชลมารค 2567” เรือพระราชพิธีหนึ่งเดียวในโลก

ย้อนรอย “ขบวนพยุหยาตราทางชลมารค

“ขบวนพยุหยาตราทางชลมารค” หมายถึงริ้วขบวนเรือพระราชพิธีที่จัดขึ้นสำหรับพระเจ้าอยู่หัวในการเสด็จพระราชดำเนินเป็นการส่วนพระองค์ เพื่อการต้อนรับทูตานุทูตประเทศต่างๆ หรือประกอบในพระราชพิธีสำคัญ เช่น พระราชพิธีบรมราชาภิเษก พระราชพิธีถวายผ้าพระกฐิน เป็นต้น โดยขบวนพยุหยาตราทางชลมารคมีมาตั้งแต่สมัยสุโขทัยและสืบทอดต่อกันมาถึงปัจจุบัน

แต่ก่อนหน้านี้การจัดขบวนพยุหยาตราทางชลมารคถูกเว้นไปนานกว่า 25 ปี โดยนับตั้งแต่มีการจัดขบวนพยุหยาตราทางชลมารคเพื่อฉลองพระนครครบ 105 ปี เมื่อปี 2475 ก็ไม่ได้มีการจัดขบวนพยุหยาตราทางชลมารคอีกเลย

อลังการ “ขบวนพยุหยาตราทางชลมารค 2567” เรือพระราชพิธีหนึ่งเดียวในโลก

จนกระทั่งในปี 2500 พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร รัชกาลที่ 9 ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมให้ฟื้นฟูพระราชประเพณีขึ้นมาใหม่ และบูรณะเรือพระราชพิธีลำเก่ารวมทั้งสร้างขึ้นมาใหม่

ประกอบกับเป็นปีที่ทางราชการได้จัดงานฉลอง 25 พุทธศตวรรษขึ้นจึงได้มีการจัด “ขบวนพุทธพยุหยาตรา” อัญเชิญพระพุทธรูป พระไตรปิฎก และพระสงฆ์แห่ไปตามแม่น้ำเจ้าพระยาเป็นการเฉลิมฉลอง โดยการจัดรูปขบวนเรือคล้ายรูปขบวนพยุหยาตราน้อย แต่ไม่ครบเนื่องจากเรือพระราชพิธีชำรุดเสียหายไปบ้าง

ในสมัยรัชกาลที่ 9 ได้มีการจัดขบวนพยุหยาตราทางชลมารคตั้งแต่ ปี 2500-2555 รวมทั้งสิ้น 17 ครั้ง โดยครั้งสำคัญในประวัติศาสตร์คือการจัดขบวนพยุหยาตราทางชลมารค (ใหญ่) ในพระราชพิธีฉลองสิริราชสมบัติครบ 50 ปี โดยมีการจัดริ้วขบวนอย่างสวยงามพร้อมเรือพระราชพิธีลำใหม่

อลังการ “ขบวนพยุหยาตราทางชลมารค 2567” เรือพระราชพิธีหนึ่งเดียวในโลก

นั่นก็คือ เรือพระที่นั่งนารายณ์ทรงสุบรรณ รัชกาลที่ 9 ซึ่งกองทัพเรือ และกรมศิลปากรร่วมกันสร้างขึ้นเพื่อน้อมเกล้าน้อมกระหม่อมถวายด้วยการนำโขนหรือพระที่นั่งนารายณ์ทรงสุบรรณที่สร้างในสมัยพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ 3) และพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ 4) มาเป็นแม่แบบ

ส่วนพระราชพิธี “ขบวนพยุหยาตราทางชลมารค” ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 10 ครั้งแรกเกิดขึ้นเมื่อวันที่ 12 ธันวาคม 2562 เนื่องในพระราชพิธีบรมราชาภิเษก และพระราชพิธีในครั้งนี้ เป็นครั้งแรกในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 10 สำหรับพระราชพิธีทรงบำเพ็ญพระราชกุศลถวายผ้าพระกฐิน โดยขบวนพยุหยาตราทางชลมารค