"ฮิลเดอการ์ด วอร์ทมานน์" BMWมุ่งสู่ยานยนต์ยุคใหม่

26 ธ.ค. 2561 | 03:53 น.
อัปเดตล่าสุด :26 ธ.ค. 2561 | 10:53 น.
ในยุคที่อุตสาหกรรมยานยนต์กำลังเผชิญความท้าทาย จากการเปลี่ยนผ่านเทคโนโลยี การถาโถมของคลื่นยักษ์ดิจิตอล ระบบขับเคลื่อนด้วยไฟฟ้า และพฤติกรรมการซื้อ การเสพข้อมูล การใช้รถยนต์ของผู้คนที่เปลี่ยนไป บริษัทผู้ผลิตรถยนต์รายใหญ่ไม่สามารถเชื่อมั่นในโมเดลธุรกิจแบบเดิมได้ ขณะที่ต้นทุนและทรัพยากรที่ตนเองมีอยู่ ไม่การันตีว่าจะเป็นประโยชน์หรือภาระมากกว่ากัน ในการมุ่งไปสู่อนาคต

การปรับตัวของธุรกิจยานยนต์เป็นสิ่งที่น่าสนใจ “ฐานยานยนต์” ร่วมเปิดมุมมองนี้ผ่าน “ฮิลเดอการ์ด วอร์ทมานน์” รองประธานอาวุโส ประจำภูมิภาคเอเชีย แปซิฟิก บีเอ็มดับเบิลยู กรุ๊ป ผู้บริหารที่ดูแลตลาดภูมิภาคนี้ (ยกเว้นประเทศจีน) ในโอกาสที่เธอมาเยือนเมืองไทย

[caption id="attachment_364267" align="aligncenter" width="335"] bmw ฮิลเดอการ์ด วอร์ทมานน์[/caption]

  • มองอุตสาหกรรมยานยนต์ไทยอย่างไร


ไทยเป็นประเทศที่มีอุตสาหกรรมยานยนต์ที่แข็งแกร่ง ขณะที่บีเอ็มดับเบิลยู กรุ๊ป มีโรงงานผลิตรถยนต์-รถจักร ยานยนต์ที่จังหวัดระยอง ซึ่งเป็นฐานการผลิตที่สำคัญอีกแห่งหนึ่ง ล่าสุดยังลงทุนเพิ่มเติม 400 ล้านบาท เพื่อการประกอบแบตเตอรี่แรงดันสูง สามารถเริ่มต้นสายการประกอบในปี 2562 ณ โรงงานในนิคมอุตสาหกรรมดับบลิวเอชเอ ชลบุรี

“แผนประกอบแบตเตอรี่ในประเทศไทย จะรองรับตลาดรถยนต์พลังงานไฟฟ้าที่จะมีความต้องการมากขึ้นในอาเซียน”

ขณะที่ผลประกอบการของบีเอ็มดับเบิลยู กรุ๊ป ในไทยยังดีต่อเนื่อง ด้วยยอดขาย 10 เดือนที่ผ่านมาโต 18%
(BMW และ MINI)

- แผนการผลิตระหว่างโรงงานไทยกับมาเลเซีย

บีเอ็มดับเบิลยู กรุ๊ป แมนูแฟคเจอริ่ง ประเทศไทย สามารถประกอบรถได้ถึง 15 รุ่น (รวมรถยนต์และรถจักร ยานยนต์) ในจำนวนนี้เป็นรถยนต์ปลั๊ก-อินไฮบริด 4 รุ่น ซึ่งการกำหนดแผนผลิตระหว่างไทยกับมาเลเซีย จำเป็นต้องดูเรื่องความคุ้มค่าในการลงทุน เรื่องผลตอบแทน และข้อกำหนดด้านภาษี

“ทุกโรงงานของบีเอ็ม ดับเบิลยูทั่วโลกต้องมีความยืดหยุ่น และวางแผนผลิตให้สอดคล้องกับนโยบายของแต่ละประเทศ อย่างกรณีเกิดสงครามการค้าระหว่าง สหรัฐ อเมริกากับจีน เราเคยใช้ความได้เปรียบของโรงงานในไทย ส่งออก เอ็กซ์5 ไปจีนแทน”

สำหรับเมืองไทย ยังมีก้าวสำคัญหลังจากบีเอ็มดับเบิลยูได้รับอนุมัติการส่งเสริมการลงทุนจากสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน (บีโอไอ) ในการประกอบรถยนต์ปลั๊ก-อินไฮบริดมูลค่ากว่า 700 ล้านบาทอีกด้วย

โปรโมทแทรกอีบุ๊ก
- อุตฯยานยนต์ในอนาคต

การเปลี่ยนแปลงของเทคโนโลยียานยนต์ในอีก 10 ปีข้างหน้า จะรวดเร็วกว่าช่วง 30 ปีที่ผ่านมาแน่นอน ซึ่งการมาของรถยนต์ไฟฟ้าจะเปลี่ยนวิถีชีวิตและการเดินทางของผู้คน

สำหรับบีเอ็มดับเบิลยู วางวิสัยทัศน์การขับเคลื่อนธุรกิจผ่านอักษร 4 ตัว คือ A, C, E, S โดย A คือ Autonomous driving เทคโนโลยีขับเคลื่อนอัตโนมัติ ที่กำลังอยู่ในขั้นตอนการพัฒนา ส่วนการผลิตในเชิงพาณิชย์อาจจะยังต้องใช้เวลาพอสมควร

C คือ Connectivity เทคโนโลยีในการเชื่อมต่อระหว่างรถกับคน ที่ต้องใช้งานสะดวกและเป็นประโยชน์
มากขึ้น ปัจจุบันเรามี BMW ConnectedDrive ให้บริการอยู่

E คือ Electrification การขับเคลื่อนด้วยไฟฟ้า ประกอบด้วยรถยนต์ไฟฟ้าแบบ อีวีและปลั๊ก-อินไฮบริด ผ่านแบรนด์ “i Performance” โดยบีเอ็มดับเบิลยูเปิดตัวอีวีรุ่น i3 ตั้งแต่ปี 2012 และภายในปี 2025 ตั้งเป้าจะมีรถในกลุ่มนี้ขายรวม 25 รุ่น

S คือ Service เช่นการพัฒนาโครงการคาร์แชริ่ง BMW DriveNOW ซึ่งคนไทยมีโอกาสได้ใช้โมเดลธุรกิจนี้เช่นกัน ปัจจุบันอยู่ระหว่างการศึกษา และต้องคุยกับหลายภาคส่วนทั้งรัฐบาล หน่วยงานราชการ รวมถึงการจัดหาที่จอดรถ

สำหรับคาร์แชริ่ง BMW DriveNOW ที่ได้รับความนิยมในยุโรปมากขึ้นเรื่อยๆ เพราะลูกค้าจะได้ความสะดวกสบายจากการเดินทาง และไม่มีภาระผูกพันจากการเป็นเจ้าของรถในอีกมุมหนึ่งของบีเอ็มดับเบิลยู ถือเป็นโอกาสในการสร้างแบรนด์ ได้โชว์เทคโนโลยี ให้คนสัมผัสกับบีเอ็มดับเบิลยูในรูปแบบการเช่าขับได้

\"ฮิลเดอการ์ด วอร์ทมานน์\" BMWมุ่งสู่ยานยนต์ยุคใหม่ - อีวีของBMWจะมาเมื่อไหร่

เราขยับไปหาอีวีแน่ แต่ไม่สามารถบอกได้ว่าจะมาเมื่อไหร่ เพราะไม่ได้ขึ้นอยู่กับเราเพียงรายเดียว ขณะเดียวกันยังต้องมองถึงจุดชาร์จไฟฟ้า ว่ามีเพียงพอหรือไม่ เพราะเป็นสิ่งที่จะสร้างความมั่นใจและอำนวยความสะดวกให้ผู้บริโภค

“ในกรุงเทพมหานครการใช้อีวีดีแน่นอนแต่ในปัจจุบันรถยนต์แบบปลั๊ก-อินไฮบริด ถือเป็นทางเลือกที่เหมาะสมที่สุด”

หน้า 32-33 หนังสือพิมพ์ฐานเศรษฐกิจ ฉบับที่ 3,429 วันที่  23 - 26 ธันวาคม พ.ศ. 2561

595959859