จากกรณีที่เมื่อวันที่ 10 ก.พ. 2565 มีการประกาศบังคับใช้ “ป้ายทะเบียนรถยนต์แบบใหม่” ที่สามารถใช่ชื่อตัวเอง ลงในป้ายฯได้ด้วย
ซึ่งระบุอยู่ใน ราชกิจจา “ประกาศกรมการขนส่งทางบก เรื่อง หลักเกณฑ์การกำาหนดตัวอักษรประจำาหมวด และกำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ ระยะเวลา และเงื่อนไขการประมูลหมายเลขทะเบียนรถของแผ่นป้ายทะเบียนรถ ที่มีลักษณะพิเศษสำหรับรถยนต์นั่งส่วนบุคคลไม่เกินเจ็ดคน พ.ศ. ๒๕๖๕
โดยนิยามคำว่า “แผ่นป้ายทะเบียนรถที่มีลักษณะพิเศษ ” ระบุหมายความว่า แผ่นป้ายทะเบียนรถยนต์นั่งส่วนบุคคล ไม่เกินเจ็ดคนที่ตัวอักษรประจำาหมวดมากกว่าสองตัว หรือมีตัวอักษรผสมสระหรือวรรณยุกต์
ผู้สื่อข่าวรายงานว่าในท้ายประกาศได้ระบุถึง “เลขมงคล” หรือ เลขทะเบียนที่เป็นที่นิยม ซึ่งจะเปิดประมูลให้กับผู้ที่ต้องการ โดยระบุว่า
กลุ่มหมายเลขทะเบียนซึ่งเป็นที่ต้องการหรือเป็นนิยมของประชาชนที่ใช้กับแผ่นป้ายทะเบียนรถ ที่มีลักษณะพิเศษ แนบท้ายประกาศกรมการขนส่งทางบก เรื่อง หลักเกณฑ์การกำหนดตัวอักษร ประจำหมวด และกำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ ระยะเวลา และเงื่อนไขการประมูลหมายเลข ทะเบียนรถของแผ่นป้ายทะเบียนรถที่มีลักษณะพิเศษสำหรับรถยนต์นั่งส่วนบุคคลไม่เกินเจ็ดคน พ.ศ. ๒๕๖๕ ดังนี้
พร้อมกับอัตราหลักประกัน ราคาเริ่มต้น และการเพิ่มราคาการประมูลหมายเลขทะเบียนซึ่งเป็นที่ต้องการ หรือเป็นนิยมของประชาชนที่ใช้กับแผ่นป้ายทะเบียนรถที่มีลักษณะพิเศษ แนบท้ายประกาศ กรมการขนส่งทางบก เรื่อง หลักเกณฑ์การกำหนดตัวอักษรประจำหมวด และกำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ ระยะเวลา และเงื่อนไขการประมูลหมายเลขทะเบียนรถของแผ่นป้ายทะเบียนรถ ที่มีลักษณะพิเศษสำหรับรถยนต์นั่งส่วนบุคคลไม่เกินเจ็ดคน พ.ศ. ๒๕๖๕
และระบุอัตราค่าบริการการประมูลหมายเลขทะเบียนแนบท้ายประกาศกรมการขนส่งทางบก เรื่อง หลักเกณฑ์การกำหนดตัวอักษรประจำหมวด และกำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ ระยะเวลา และเงื่อนไขการประมูลหมายเลขทะเบียนรถของแผ่นป้ายทะเบียนรถที่มีลักษณะพิเศษส าหรับรถยนต์นั่งส่วนบุคคลไม่เกินเจ็ดคนพ.ศ. ๒๕๖๕
ที่มา : ราชกิจจานุเบกษา